Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531
โอโซน VS. CFC             
 


   
search resources

Chemicals and Plastics
Environment




ทำไมเราจะต้องมากังวลกับเรื่องที่โอโซนในบรรยากาศชั้นบนถูกทำลายกันด้วย นั่นเป็นเรื่อง ที่พวกนักวิทยาศาสตร์ต้องสนใจกันเองมิใช่หรือ ?

"ก็ไม่ใช่โดยสิ้นเชิงหรอก" นักวิทยาศาสตร์จะบอกกับคุณอย่างนี้ โอโซนคือสิ่งที่จะปกป้องคุณจากอันตรายของรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (UV ) ซึ่งสามารถทำลายออกซิเจนในอากาศชั้นบนที่ต่ำกว่า เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งที่ผิวหนัง ชะลอวงจรชีวิตของพืช ลดคุณภาพสารผสมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นพลาสติก เป็นต้น

สิ่งที่จะทำลายโอโซน(O3) คือ ก๊าซ CFS (CHLOROFLUROCARBONS ) ซึ่งแพร่กระจายออกมาจากอะไรบางอย่าง ที่ดูไม่น่าจะมีอันตรายใด ๆ เลย เช่น สเปรย์ฉีด น้ำยาทำความสะอาด วัตถุให้ ความเย็นในตู้เย็นและแอร์คอนดิชั่น หรือโฟมที่ใช้เป็นฉนวนและภาชนะต่าง ๆ เมื่อก๊าซ CFS ถูกปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็จะลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบน ซึ่งรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตจะแยกอะตอมของคลอรีนก็จะโจมตีโอโซนออกเป็น 2 (เปลี่ยน O3 เป็น O และ O2 ) เข้ารวมกับอะตอมเดี่ยวของออกซิเจน ปล่อยที่เหลือให้ลอยอยู่รอบ ๆ ไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องอะไรได้อีกและเมื่อโมเลกุลของคลอรีนที่รวมกับออกซิเจนพบกับโมเลกุลของโอโซนใหม่ ก็จะเกิดกระบวนการทำลายโมเลกุลของโอโซนในลักษณะดังกล่าวไปเรื่อย ๆ

ด้วยความกลัวถึงผลที่จะตามมาเนื่องจากการที่โอโซนถูกทำลายจนหมดไป รัฐบาลสหรัฐจึงได้ออกกฎหมายห้ามการใช้ก๊าซ CFS ในกระป๋องสเปรย์ตั้งแต่ปี 1978 และต่อมาในการประชุม UN ENVIRONMENTAL PROGRAMME ปีที่แล้ว ที่ประชุมก็ตกลงที่จะให้มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ของก๊าซ CFS ให้อยู่เพียงระดับปัจจุบันและค่อย ๆ ลดลงในที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะอนุญาตให้เพิ่มการใช้ก๊าซ CFS เพียงในอัตรา 10% ต่อปี ยกเว้นในกรณีที่มีความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจของตนจริง ๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us