Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531
เส้นทางการค้าที่จะนำไปสู่ความจำเริญทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน             
โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
 


   
search resources

Printing & Publishing
International
อำนวย วีรวรรณ




ใครว่าโลกธุรกิจไม่มีพรมแดนโลกธุรกิจจริง ๆ แล้วมีพรมแดนเพียงแต่ว่าพรมแดนนั้นไม่ได้กำหนดกันไว้ด้วยเส้นกั้นเขตตามธรรมชาติหรือความแตกต่างของประชาชาติเขตแดนของโลกธุรกิจ ขีดคั่นกันขึ้นด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเมื่อใดที่มีการได้-เสียกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นั่นหมายถึงการล้ำแดนได้เกิดขึ้นแล้ว และมาตรการทางเศรษฐกิจก็จะถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในการปกป้อง ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายควบคู่ไปกับการเจรจาเพื่อคลี่คลายข้อขัดแย้งกติกากลางในทางการค้าระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและเป็นหลักประกันของความเสมอภาค และความเติบโตของเศรษฐกิจโลก

แม้กระนั้นการละเมิดต่อกติกากลางนี้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอโดยเฉพาะในยุคที่ปริมาณการค้าระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วการพิจารณาทบทวนประสิทธิภาพและความศักดิ์สิทธิ์ของกติกานี้ จึงต้องอุบัติขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้มีผลบังคับใช้ที่เป็นจริง

ซึ่งนี่คือที่มาของหนังสือที่มีความหนาสองร้อยกว่าหน้าในชื่อว่า TRADE ROUTES TO SUSTAINED ECONOMIC GROWTH หรือ "เส้นทางการค้าที่จะนำไปสู่ความจำเริญทางเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืน" ที่พิมพ์ออกเผยแพร่ทั่วโลกเมื่อต้นปีนี้

เนื้อหาในเล่มเป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการค้าระหว่างประเทศและ ข้อเสนอแนะนำเพื่อการแก้ไข โดยเน้นไปที่การทบทวนบรรทัดฐาน ( NORMS ) กฎ (RULES) และ ขั้นตอนการปฏิบัติ (PROCEDURES) ในข้อตกลงพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GENERAL AGREEMENT ON TARIFFS AND TRADE ) หรือ GATT

รายงานนี้เป็นผลงานการศึกษาของกลุ่มศึกษาที่ประกอบขึ้นด้วยนักวิชาการ นักการธนาคาร นักธุรกิจ และเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงในภาครัฐบาลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเรื่องการค้าระหว่างประเทศจากทั่วโลกจำนวน 12 คน โดยมี ดร.อำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพ เป็นหัวหน้ากลุ่มศึกษา

ในเดือนมีนาคม 2528 องค์การสหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมชื่อว่า ASIAN- PACIFIC SYMPOSIUM ON TRADE AND ECONOMIC RECOVERY ขึ้นที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบปีที่ 40 ขององค์การ TRADE POLICY RESEARCH CENTRE ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและค้นคว้าในเรื่องนโยบายทางเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เตรียมการประชุมครั้งนี้

ทาง TRADE POLICY RESEARCH CENTRE ได้ตั้งกลุ่มศึกษาดังกล่าวขึ้น ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการอภิปรายในที่ประชุม เนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้คือรายงานการศึกษาดังกล่าว ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยเพิ่มข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อสรุปของการประชุมเข้าไป

ASIAN-PASIFIC SYMPOSIUM ON TRADE AND ECONOMIC RECOVERY มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหาข้อสรุปเกี่ยวกับ GATT เวลาสี่ทศวรรษภายหลังจากที่ GATT ได้เกิดขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขันที่เคยตกอยู่กับสหรัฐอเมริกาและยุโรปในยุคที่ GATT เพิ่งจะก่อกำเนิดขึ้นได้ขยายออกไปอยู่ที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองอย่างญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนหลาย ๆ ประเทศได้ละเลยต่อกฎข้อบังคับของ GATT โดยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของ GATT การค้าเสรีที่เป็นหัวใจของระบบทุนนิยมต้องพบกับอุปสรรคจากลัทธิกีดกันทางการค้า (PROTEC-TIONISM) ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อระบบการค้าระหว่างประเทศในวิถีทางที่เป็นอยู่และเกิดความหวั่นเกรงว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะต้องหยุดชะงักลง การประชุมในระดับนานาชาติเกิดขึ้นหลายครั้งเพื่อทบทวนหลักการข้อบังคับของ GATT รวมทั้ง ASIAN-PACIFIC SYMPOSIUM ON TRADE AND ECONOMIC RECOVERY นี้ด้วยทั้งนี้ผู้เข้าร่วมในการประชุมคือรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่บริหารชั้นสูง นักธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญจาก 14 ประเทศในภูมิภาคเชีย-แปซิฟิก ซึ่งข้อสรุปจากการประชุมครั้งนี้จะได้ นำเสนอต่อที่ประชุมของ GATT ครั้งต่อไป

เนื้อหาในหนังสือพิมพ์เล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความยุ่งยากที่เกิดขึ้นกับระบบการค้าระหว่างประเทศสาเหตุและสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งแนวทางการแก้ไข โดยไม่ได้พูดถึงปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการกล่าวในแง่หลักการและนโยบายกว้าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 7 บทด้วยกันบทแรกพูดถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงทศวรรษ 1980 ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่จะทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งเสริมการค้าแบบเสรีและกำจัดการกีดกันทางการค้า แต่ดูเหมือนว่าผลประโยชน์เฉพาะประเทศจะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ความพยายาม นี้บรรลุผลได้ บทที่สองเป็นเรื่องของการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของโลกโดยการก่อตั้งสถาบัน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก โดยเฉพาะการกำเนิดของ GATT ในปี 1948 หลักการพื้นฐานและหน้าที่สำคัญของ GATT รวมทั้งความเชื่อมั่นของมหาชนที่มีต่อ GATT ซึ่งถูกกัดกร่อนด้วยความไร้สมรรถภาพของกฎข้อบังคับของ GATT เองสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อระเบียบทางเศรษฐกิจของโลกเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นระลอกในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และการพังทลายของระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบคงที่ของ IMF ในปี 1971 วิกฤติการณ์เหล่านี้และความพยายามของมหาอำนาจทางการค้าคือสหรัฐฯ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และญี่ปุ่น ในการแก้ไขคือเนื้อหาของบทที่ 3 การเพิ่มขึ้นของการเข้าแทรกแซงกระบวนการทางการตลาดของรัฐบาลในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลักการและกฎข้อบังคับของ GATT ไม่เป็นจริง รายงานบทที่ 4 อธิบายว่าการแทรกแซงดังกล่าวนำไปสู่การใช้นโยบายแบบเฉพาะส่วน (SECTORAL POLICIES) และการเจรจาทางการค้าแบบสองฝ่าย ( BILATERAL TRADE AGREEMENTS) มากขึ้น ทั้งสองสิ่งนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการและข้อบังคับของ GATT นอกจากการเพิ่มขึ้นของการแทรกแซงจากรัฐบาลแล้ว ระบบการค้าระหว่างประเทศยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกและดุลอำนาจทางเศรษฐกิจ ในบทที่ 5 กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของระบบเศรษฐกิจโลกการขยายตัวของลัทธิอุตสาหกรรมการที่ภาคบริการทวีความสำคัญขึ้นในการค้าระดับชาติและระดับระหว่างชาติ การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจยุโรปและกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา การที่ญี่ปุ่นและประเทศอุตสาหกรรมใหม่หลายประเทศมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในขณะที่สหรัฐฯ ลดความสำคัญลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการที่จะ "ปรับเปลี่ยน" พร้อม ๆ กับการต่อต้านการ "ปรับเปลี่ยน" นั้น บทที่ 6 พูดถึงรูปแบบของการกีดกันทางการค้าแบบใหม่ที่มีลักษณะของมาตรการยกเว้นภาษีแบบแอบแฝง ( 'HIDDEN' NON-TARIFF MEASURES) และข้อตกลงเพื่อจำกัดการส่งออกแบบไม่เป็นทางการ ( 'INFORMAL' EXPORT- RESTRAINT AGREEMENTS ) มาตรการเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า GREY AREA MEASURES

บทสุดท้ายของรายงานนี้เป็นการเสนอประเด็นที่ควรจะต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมของสมาชิก GATT ได้แก่ หน้าที่ของระเบียบของเศรษฐกิจเสรีระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับบรรทัดฐานของ GATT หลักการในการแลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกัน บทเฉพาะกาล ระบบการค้าและการเงินระหว่างประเทศและการทำให้กฎ ข้อบังคับของระบบการค้าระหว่างประเทศเกิดผลบังคับใช้

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดก็ลองหาซื้ออ่านได้ ซึ่งแหล่งที่พอจะหาได้แน่นอนก็ลองสอบถามแบงก์กรุงเทพดูก็แล้วกัน


ชื่อหนังสือ TRADE ROUTES TO SUSTAINED ECONOMIC GROWTH

ผู้เขียน ดร.อำนวย วีรวรรณและคณะ

จำนวนหน้า 230 หน้า

ผู้จัดพิมพ์ MACMILLIAN PRESS สหรัฐอเมริกา

ปีที่พิมพ์ 1987   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us