|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2531
|
|
ถ้าจะว่าไปแล้ว เบนซ์แวนกับสเตชั่นแวกอน ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่นอย่างนี้ไปได้
เรื่องของเบนซ์แวนเริ่มจากบริษัท DAIMLER-BENZ ในเยอรมันผลิตรถเบนซ์แวนรุ่น 300 TD ออกมา 500 คัน และจะขายในราคาถูกเป็นพิเศษเป็นชุดสุดท้ายก่อนทิ้งโมเดลชุดนี้ไป
ธนบุรีพาณิชย์ ผู้แทนจำหน่ายเบนซ์ในไทยรู้เข้าก็ส่งคนเข้าไปเจรจา และซื้อเหมาทั้งหมดในราคาเพียงคันละสองแสนกว่า ขณะที่กำลังคิดว่าจะเสียภาษีและขายออกไปอย่างไร? โค้วยู่ฮะและวสันต์เบนซ์อโศก ก็เข้ามาติดต่อขอซื้อและประกอบเป็นแวนด้านหลัง ซึ่งการขายครั้งนี้ธนบุรีพาณิชย์กำไรไปเฉยเหนาะ ๆ 50 ล้านบาท
มีการวิ่งเต้น ให้ตีความเรื่องรถนั่ง หรือ รถแวน ในกรมตำรวจโดยผ่านกองทะเบียนขึ้นไปสู่กรมตำรวจ ส่วนทางด้านกระทรวงการคลังให้ผู้ใหญ่ตีความเรื่องภาษี เพราะรถจอดอยู่ที่ท่าเรือเฉย ๆ ดอกเบี้ยวันหนึ่ง ๆ มหาศาล!
เมื่อเรื่องภาษีเรียบร้อยคิดสะระตะแล้ว ค่ารถสามแสนกว่า บวกค่าทำแวนคันละ เก้าหมื่น บวกค่าภาษีเข้าไป ต้นทุนราคารถจะตกอยู่ไม่เกินหกแสนต่อคัน ส่วนราคาในตลาดอยู่ระหว่าง 780,000 ไปถึงประมาณ 960,000 ซึ่งโค้วยู่ฮะกับเบนซ์อโศกขายไปได้เกือบทั้งหมด
คนซื้อเพิ่งชื่นชมรถได้ไม่นานเท่าไร พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ อธิบดีกรมตำรวจก็ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการจดทะเบียนรถยนต์ "เบนซ์ 300 TD" ซึ่งก่อนหน้านี้กรมตำรวจจดทะเบียนให้ โดยไม่เสียภาษีการค้ากรมสรรพากร เนื่องจากกฎหมายระบุว่ารถที่สามารถบรรทุกได้เกิน 11 คนจัดอยู่ ในแบบรถตู้ เป็นรถเอนกประสงค์รัฐบาลส่งเสริมเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ ไม่ให้รั่วไหลออกไปข้างนอก
ผลการสอบสวนสรุปว่าไม่สามารถบรรทุกได้ถึง 11 คน ผู้ซื้อต้องไปเสียภาษี 40%ของราคาขาย และเสียภาษีการใช้รถประจำปีกับกรมสรรพากร ให้ถูกต้องก่อน จึงจะไปจดทะเบียนได้
แต่ขั้นตอนการปฏิบัติของกรมตำรวจ และกรมสรรพากรกลับไม่สอดคล้องกันนัก เพราะกองทะเบียนกรมตำรวจประกาศงดจดทะเบียนรถแวนทุกชนิดทันทีที่เรื่องนี้ยังไม่ประกาศเป็นกฎหมายชัดเจน โดยอ้างว่ากรมสรรพากรกำลังตีความการเก็บภาษีรถประเภทนี้อยู่ ยังไม่แน่ใจว่าจะให้เสียภาษีการค้า 44% เท่ารถยนต์นั่งหรือไม่ และสามารถเก็บภาษีย้อนหลังได้ในขณะที่กรมสรรพากรเห็นว่าไม่มีการเก็บภาษีย้อนหลัง
ไทยรุ่งฯเป็นหนึ่งในสามบริษัทที่ดัดแปลงรถปิคอัพให้มีที่นั่งเกิน 10 ที่นั่งซึ่งคือสเตชั่นแวกอน ที่เมื่อประมาณปี 2527 ได้ส่งหนังสือสอบถามเรื่องการเสียภาษี ทางกรมสรรพากรยืนยันว่าไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่ม โดยเดิมเสียภาษี 9.9% แบบรถปิกอัพ รถบรรทุก แต่ครั้งนี้จะต้องเสียเป็น 44% แบบ รถเก๋ง หรือเสีย 30-40% เต็มมูลค่ารถยนต์ก่อนดัดแปลงบวกมูลค่าส่วนที่ดัดแปลงแล้ว
นั่นคือรถดัดแปลงจะต้องเสียภาษีการค้าถึง 3 ต่อ คือเสียภาษีในส่วนของอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ใช้ ในการประกอบรถ เสียอีกครั้งในด้านภาษีทะเบียน และต้องมาเสียภาษีที่ตีความจากตัวรถซึ่งทำให้ต้นทุนของรถสูงขึ้นจนราคาซื้อขายของรถดังแปลง จะสูงเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล
เฉพาะในส่วนนี้ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าแสนบาทต่อคัน
ทางด้านกรมตำรวจ กับสรรพากรก็ยุ่ง ๆ กันไป ไทยรุ่งฯเดินเรื่องโดยส่งหนังสือขอความช่วยเหลือในกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมต่อประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีฯ กระทรวงอุตสาหกรรม
และยังมีการให้ข่าวเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ร่วมกับบริษัทผลิตรถดัดแปลงอื่น ๆ โดยเน้นไปที่นโยบายของรัฐในการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ แถมพกด้วยการออกข่าวว่าอาจต้องมีการปลดคนงานออกจำนวนมาก
หลังจากรอคอยไปสองสามเดือน กรมสรรพากรได้รับหนังสือตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยว่า ผู้ประกอบรถกระบะต่อเติมจากรถกระบะธรรมดา มาเป็นรถแวนเกิน 10 ที่นั่ง จะต้องเสียภาษีการค้าในส่วนที่ต่อเติมเพิ่มขึ้นมา
รถที่ใช้เบนซิน เครื่องเบนซินเก็บภาษีการค้า 30% สำหรับส่วนที่ต่อเติมเพิ่มขึ้น ส่วนรถที่ใช้เครื่องดีเซลให้เสียภาษีการค้า 40% โดยคิดจากส่วนที่ต่อเติมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และเสียภาษีการค้า 9% เฉพาะมูลค่าตัวรถก่อนดัดแปลงด้วย
แม้ในทางปฏิบัติ กองทะเบียนกรมตำรวจจะมีปัญหาอีกมากมายแต่ผู้ผลิตทั้งหลายค่อนข้างจะพอใจกันถ้วนหน้า
"ความจริงในช่วงนั้นยอดขายของไทยรุ่งฯ อาจตกลงก็จริง แต่ไม่มีการไล่คนงานออกเพราะคนงานส่วนใหญ่ทำล่วงเวลาอยู่แล้วแต่ก็ว่าไม่ได้นะ เขาพยายามรักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้าด้วย" คนในวงการวิเคราะห์ท่าทีของไทยรุ่งฯในช่วงนั้นกับ "ผู้จัดการ"
ไทยรุ่งฯ เองก็คงไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น จะว่าเป็นยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว คือเงินที่เป็นยอดขายจะเพิ่มขึ้นตามเดิม กับกล่องคือ IMAGE ในสายตาคนทั่วไปก็คงไม่ใช่
เพราะถ้าสะสางผิดพลาดยืดเยื้อไปนานกว่านี้ ไม่แน่ว่ากล่องจะได้ แถมต้องเสียเงินอาจเป็นโปรยข้าวสารไปกำใหญ่ไม่ได้ไก่แล้วยังต้องเสียข้าวสารไปเสียอีก
ก็ยังนับว่าโชคยังเข้าข้างไทยรุ่งฯ
|
|
|
|
|