Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531
เสถียรภาพล้มได้ แต่ "จุลไพบูลย์" จะไม่มีวันล้มได้?             
 


   
search resources

Ceramics
อนุชน, บจก.
อุบล จุลไพบูลย์




เมื่อปี 2497 อุบล จุลไพบูลย์กับพงษ์เทพ-สามี ได้ร่วมหุ้นกับญาติและเพื่อน ๆ หลายคนสร้าง โรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นในนามบริษัทพอสเลนไทย จำกัด ลงเงินและลงมือสร้างโรงงานไปแล้ว แต่ ยังไม่ทันได้ลงมือผลิตก็มีอันให้ต้องล้มละลายไปเสียก่อนว่ากันว่าญาติและเพื่อน ๆ ที่เป็นหุ้นส่วนหมดเงินหมดทองไปพอสมควร แต่กระนั้นอุบลกับสามีกลับยังมีกำลังเหลือพอที่จะประมูลซื้อกิจการนี้ได้จากกองล้มละลายกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นจังหวะก้าวสำคัญ ครั้งแรกที่ทำให้สองสามีภรรยา "จุลไพบูลย์" สามารถหันเหวิถีชีวิตจากเอเย่นต์บุหรี่มาเป็นเจ้าของโรงงานเครื่องปั้นดินเผาเล็ก ๆ ได้สำเร็จเมื่อราว ๆ ปี 2501 และเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อ ๆ มาจนกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเสถียรภาพยักษ์ใหญ่ในวงการ เซรามิก มีโรงงานถึง 7 โรง มีบริษัทในเครือถึง 4 บริษัทมียอดสินทรัพย์รวมกันเกือบ 800 ล้านบาท

เวลาผ่านไปเกือบ 30 ปี แม้จะดูเนิ่นนานจนใครต่อใครลืม ๆ ไปแล้ว

แต่ถ้าระลึกขึ้นมาได้ เหตุการณ์ในวันนี้ของกลุ่ม "จุลไพบูลย์" เจ้าของเสถียรภาพก็ช่างไม่ต่างไปจากเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้วเลยแม้แต่น้อย !?!

หนี้สินมหึมากว่า 1,600 ล้านบาทอาจจะทำให้เสถียรภาพมีอันต้องล้มละลายไปซึ่งก็ยังคงต้องถือว่าเป็นการล้มละลายครั้งที่สองของกิจการที่ "จุลไพบูลย์" ทำอยู่ก็จริง แต่นั่นก็คงจะเป็นคนละเรื่องกับเจ้าของอย่าง "จุลไพบูลย์"

อุบล จุลไพบูลย์กับลูก ๆ ทุกวันนี้ยังผงาดอยู่อย่างคงเส้นคงวาในวงการเซรามิคและไม่แน่นัก บางทีโรงงานที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเสถียรภาพก็จะกลับเข้ามาอยู่ในอุ้งมืออีกครั้งด้วยซ้ำไป

"คอยดูเถอะ ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย..." เจ้าหนี้ประเภทไม่มีหลักประกันที่ปล่อยเงินให้กลุ่มเสถียรภาพไปหลายสิบล้านบาทพยากรณ์ให้ฟัง

เรื่องของเสถียรภาพนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะ "เหลือเชื่อ" มาตั้งแต่ต้นเมื่อประสบวิกฤติการณ์การเงินในช่วงปี 2529 และก็ "เหลือเชื่อ" มาเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้

เหลือเชื่อที่โรงงานมีทรัพย์สินราว ๆ 800 ล้านบาท (ซึ่งอาจจะน้อยกว่านี้ก็เป็นได้) แต่สามารถสร้างหนี้สินได้สูงถึงกว่า 1,600 ล้านบาท ทั้งนี้ด้วยฝีมือของคน 2 คนที่เป็นแม่ลูกกันคืออุบลกับสุรีย์พรเท่านั้นจริง ๆ ?

เหลือเชื่อที่หนี้ทั้งหมดมาจากจำนวนเจ้าหนี้ถึง 27 แห่งทั้งที่เป็นสถาบันการเงินในประเทศและนอกประเทศ

และสุดจะเหลือเชื่อที่มีหนี้ในวงเงินเพียง 660 กว่าล้านบาทของ 3 สถาบันการเงินเท่านั้นที่มีหลัก-ทรัพย์ค้ำประกัน ส่วนที่เหลือมีบางแห่งที่อุบลกับสุรีย์พรค้ำประกันส่วนตัวบางแห่งเอาเงินมาใช้เฉย ๆ โดยไม่ต้องค้ำและจำนวนเป็นร้อยล้านบาทค้ำประกันโดยศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ สามีของสุรีย์พรที่ตอนนี้กลายเป็นอดีตสามีไปแล้วคนนั้น

ก็เพราะมีแต่เรื่องเหลือเชื่อซึ่งยังมีข้อปลีกย่อยที่เป็นปริศนาอีกมากมาย (อย่างเช่นแม่ลูกอุบล-สุรีย์พร ทะเลาะกันจริงหรือไม่ ทำไมศิรินทร์ค้ำประกันให้ภรรยาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงของกิจการ ฯลฯ) ก็เลยทำให้เรื่องของเสถียรภาพเป็นเรื่องที่สะสางยากลำบากและยืดเยื้อมาก ๆ (โปรดย้อนกลับ ไปอ่านผู้จัดการรายเดือนฉบับที่ 34 เดือนกรกฎาคม 2529 และผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับที่ 96(63) และฉบับ 97 (64)...)

"ปมสำคัญก็คือหนี้สินมันมากกว่าทรัพย์สินเป็นเท่าตัวจำนวนเจ้าหนี้ก็มากและรวมกันไม่ติด พยายามเท่าไรก็รวมกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างเอาแต่พยายามปกป้องตัวเอง เรื่องก็เลยยืดเยื้อและเปิดช่องโหว่..." ผู้ที่ติดตามเรื่องราวของเสถียรภาพให้ความเห็น

เวลาที่ยืดเยื้อนี้ให้คุณกับ "จุลไพบูลย์" มาก ๆ

โดยเฉพาะการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินและการแก้ไขหนี้สินบางส่วนที่เจ้าหนี้สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาได้ถึงตัวอุบลและสุรีย์พร "ก็มีเช็คหลายใบวงเงินมากพอสมควรที่อุบลกับสุรีย์พรสามารถแก้ปัญหาได้เรียบร้อย เราก็พอ ๆ จะจับทางได้ว่าเธอไม่ต้องการเจอคดีอาญาส่วนแพ่งก็ว่ากันไปไม่กลัวอยู่แล้ว" เจ้าหนี้รายหนึ่งเล่าถึงเหตุการณ์บางด้านในช่วงปลายปี 29 ที่ฝุ่นยังตลบอยู่

สุรีย์พรหรือยุ้ยนั้น ได้แยกตัวออกจากกลุ่มเสถียรภาพและในช่วงที่เสถียรภาพกำลังประสบปัญหาโดยฝ่ายเจ้าหนี้ก็ได้แต่เงื้อง่าไม่กล้าลงมือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงไป สุรีย์พรก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามแห่งใหม่ใกล้ ๆ กับโรงงานเก่า

โรงงานแห่งนี้ดำเนินการในนามบริษัททีเบรน จำกัด ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏชื่อของสุรีย์พรในการ จดทะเบียนบริษัท แต่ก็เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าจริง ๆ แล้วใครเป็นเจ้าของ? บางคนถึงกับระบุที่มาของทุน ก็มี "คือผมคิดว่าคงมีบางส่วนจากกระเป๋าผม..." เจ้าหนี้รายหนึ่งของเสถียรภาพพูดแบบเศร้า ๆ

ซึ่งปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ก็แล้วเสร็จลงมือผลิตไปแล้ว

"น่าติดใจอยู่หน่อยก็ตรงที่ทีเบรนไม่มีเตาเผาระดับที่เสถียรภาพมี แต่ทำไมจึงผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้ บางคนเขาบอกว่าก็ไม่ใช่เรื่องยาก ก็อาศัยเตาเผาของโรงงานเสถียรภาพก็หมดเรื่อง ทีนี้ปัญหาก็มีอยู่ว่า จริง ๆ แล้วแม่ลูกเขาทะเลาะกันจริงหรือเปล่า ในเมื่อสุรีย์พรยังสัมพันธ์กับโรงงานเก่าเช่นนี้" แหล่งข่าววงในคนหนึ่งกล่าว

โรงงานของเสถียรภาพทั้ง 7 โรงนั้นปัจจุบันนี้ก็ยังบริหารและดำเนินการโดยกลุ่ม "จุลไพบูลย์" ตามปกติ เพียงแต่แทนที่จะใช้ชื่อเดิม-เสถียรภาพก็เปลี่ยนใหม่เป็นบริษัทอนุชน เท่านั้น

และแม้ว่าจะไม่มีชื่อของอุบลปรากฎอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นบริษัทอนุชนนอกจากลูก ๆ ของอุบล แต่ในทางเป็นจริงก็เห็นจะต้องบอกว่าอุบลยังทรงอิทธิพลอยู่ไม่เสื่อมคลาย

อุบลในวัย 65 ปีในวันนี้ดูเหมือนยังไม่รู้สึกถึงความเหน็ดเหนื่อยและคิดจะวางมือแต่ประการใด หลายคนลงความเห็นว่าอุบลยังต้องการที่จะบริหารโรงงานเซรามิคต่อไป ทั้ง ๆ ที่เงินทองก็มีเหลือล้นและอายุก็ถึงวัยที่น่าจะพักผ่อนได้แล้วก็ตาม

บริษัท อนุชนเข้าทำสัญญาดำเนินการโรงงานที่ 6 กับธนาคารไทยพาณิชย์และดำเนินการโรงงานที่ 7 กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อันเป็นผลจากการเข้าครอบครองโรงงานที่ 6 กับโรงงานที่ 7 ของ 2 สถาบันการเงินข้างต้นในฐานะเจ้าหนี้ที่กลุ่มเสถียรภาพจดจำนองโรงงานทั้ง 2 โรงเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้

นอกจากนี้ก็ยังสามารถดำเนินการโรงงานที่ 1 ถึง 5 ด้วยข้อตกลงกับบริษัทประธานการค้าที่ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินภายหลังธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฟ้องล้มละลายและมีการขายทอดตลาดโรงงานที่ 1 ถึง 5 เมื่อปี 2530

บริษัทประธานการค้านั้นจริง ๆ แล้วก็คือบริษัทของเจ้าของแบงก์กรุงเทพฯพาณิชย์การซึ่งปัญหาข้อตกลงกับบริษัทอนุชนถึงวันนี้ก็ยังวุ่น ๆ อยู่ เพราะทางฝ่ายประธานการค้าอ้างว่าเป็นข้อตกลงให้เช่า ส่วนอนุชาก็บอกว่าเป็นข้อตกลงที่กำหนดให้ซื้อขายโรงงานกัน

ผู้สันทัดกรณีบอกว่าเรื่องวุ่น ๆ ระหว่างธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การบริษัทประธานการค้ากับบริษัทอนุชนที่เป็นของเจ้าของเก่าโรงงานเสถียรภาพนั้นก็คงจะต้องวุ่นกันไปอีกนานพอสมควรซึ่งระหว่างนั้นทางอนุชนก็คงจะเก็บดอกผลจากการดำเนินการโรงงานไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ก็คงจะเป็นอย่างที่ว่าไว้ตั้งแต่จั่วหัวนั่นแหละ

เสถียรภาพล้มได้ แต่ "จุลไพบูลย์"จะไม่มีวันล้ม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us