Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531
ซอ สิวายุ นักไต่เขาสูง ทิ้งอะไรไว้ข้างหลังบ้าง             
 


   
www resources

โฮมเพจ อุตสาหกรรมนมไทย

   
search resources

Dairy Product
ซอ สิวายุ
อุตสาหกรรมนมไทย, บจก




วันนั้นแม้ว่าเพิ่งย่ำค่ำท้องฟ้าแจ่มใส แต่บริเวณศาลาแพอนุสรณ์ วัดธาตุทอง ทุกคนที่นั่นหน้าตาหม่นหมองเศร้าสลดพวกเขามาร่วมพิธีสวดฯ ศพ "ซอ สิวายุ" กรรมการผู้จัดการบริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์นมข้นหวานตรา "มะลิ" ที่มีชื่อเสียงมานานกว่า 25 ปี ผู้ซึ่งด่วนลาโลกอย่างปัจจุบันทันด่วน

ซอ สิวายุ ชื่อเดิม ซอ ฮก ซิว (SAW HOCK SIEW) หรือ ฮกซิว แซ่ซอ เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2468 บิดาชื่อซอกิมซัน มารดาชื่อ ซูกอนยิง บ้านเดิมอยู่ที่ยาลัน ออธมัน ปีตาลิงชายา เมืองเล็ก ๆ ใกล้ กัวลาลัมเปอร์ สหพันธ์รัฐมาลายาในขณะนั้นหรือประเทศมาเลเซียในขณะนี้

ถึงแม้ซอจะมีพี่น้องรวมกันถึง 10 คน แต่เนื่องจากครอบครัวของเขามีฐานะค่อนข้างดีชีวิตใน วัยเด็กจึงไม่ลำบากเท่าไรนัก ซึ่งซออาศัยปัจจัยนี้ตักตวงประโยชน์ที่เขาควรได้รับ นั่นคือโอกาสทางการศึกษาที่หลายคนอาจจะไม่ได้รับอย่างเต็มที่

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น มาเลเซียประสบภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ซึ่งครอบครัวของซอก็เป็นเช่นครอบครัวอื่นที่อยู่ในสภาพอดอยากมีผลทำให้สุขภาพของเขาไม่ดีนักครั้นเมื่อสงครามสงบ แทนที่ซอจะได้ศึกษาต่อ กลับต้องมาบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน

และเมื่อสุขภาพแข็งแรงขึ้นแทนที่จะหวนเข้าชั้นเรียนเขากลับกระโจนเข้าสู่มหาวิทยาลัยชีวิตด้วยการเข้าฝึกงานใน SAWDISPENSARY กิจการค้าไม้ของครอบครัว โดยมีพ่อของเขาเป็น "ครู"

ซอทำงานร่วมกับครอบครัวได้ระยะหนึ่ง เมื่อเขาเห็นว่ากิจการประสบความสำเร็จพอสมควร ซอก็เริ่มที่จะสำรวจลู่ทางทำธุรกิจนอกมาเลเซีย

ขณะนั้นซออายุประมาณสามสิบเศษ เป็นคนหนุ่มที่ชอบความท้าทาย มีพื้นฐานทางธุรกิจและการศึกษาที่ดี ที่สำคัญคือซอเป็นคนมองการณ์ไกล มีความทะเยอทะยานที่จะก้าวไปให้เหนือกว่าคนอื่นอยู่เสมอ

ซอเคยเล่าให้หลายคนฟังว่า เขาออกจากมาเลเซียในช่วงปี 2500 เศษ ๆ เดินทางไปสำรวจลู่ทางธุรกิจในหลายประเทศ ทั้งที่ซาราวัค บรูไน ฮ่องกง ไซ่ง่อน และตัดสินใจเลือกประเทศไทยที่ซอคิดว่าเหมาะสมในหลาย ๆ ด้าน

ซอศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจหลายอย่างในประเทศไทย และจากประสบการณ์ ซอเน้นไปที่ธุรกิจอาหารเป็นสำคัญ

ซอเลือกผลิตภัณฑ์นมเพราะเห็นว่าผลิตภัณฑ์นมส่วนใหญ่ต้องสั่งมาจากต่างประเทศทั้งสิ้น ซอพบว่าการนำเข้าจากต่างประเทศยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ ไม่มีระบบการตลาดที่แน่นอน ในขณะที่ตลาดมีแนวโน้มขยายไปได้อีกมาก

ในที่สุดซอก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 โดยมีสัญญากับบริษัท เอเซีย เดรี่ อินดัสตรี้ แห่งกัวลาลัมเปอร์ ในการร่วมตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมแห่งออสเตรเลีย (AUSTRALIAN DAIRY PRODUCE BOARD) อีกแห่งหนึ่ง

กว่ายี่สิบห้าปีที่ซอบุกเบิกต่อสู้ ร่วมกับเพื่อนร่วมงานหลายคนของเขาที่นมมะลิจนประสบความสำเร็จทุกวันนี้ เนื่องจากความทุ่มเทอย่างสูงสุดที่มีต่องานของเขาตลอดมา ในอีกด้านหนึ่งซอให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน และครอบครัวไม่แพ้กัน

ซอพูดเสมอว่า "BUSINESS IS MY LIFE" เป็นคนที่มีความตั้งใจสูง ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุดก้าวหน้าที่สุด ซอไม่ยอมที่จะยืนอยู่คู่กับใคร เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองมาก

คนใกล้ชิดของซอบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า สไตล์การทำงานในอุตสาหกรรมนมไทยของซอเป็นแบบ "ONE MAN SHOW" มีคนไม่มากนักที่จะได้รับความไว้วางใจจากซอ เพราะเขาคิดเร็ว ทำเร็ว แต่ถ้าใครได้รับความไว้วางใจจากซอแล้ว เขาจะให้โอกาสสนับสนุน และให้ความสำคัญดั่งเป็นครอบครัวเดียวกัน

ซึ่งเห็นได้จากการเพิ่มทุนอีก 3 ล้านบาท เมื่อประมาณเดือนมีนาคม ปี 2512 ที่ซอให้สิทธิในการซื้อหุ้นทั้งหมดให้กับพนักงานอาวุโส 15 คนที่ทำงานกับบริษัทมาตั้งแต่เริ่มต้น

"ตอนนั้นมีคนคัดค้านว่าทำไมไม่ให้เป็นผลประโยชน์อื่น เช่น โบนัส แต่คุณซอบอกว่าให้เป็นโบนัสไม่ทำให้รู้สึกผูกพันกับบริษัท เหมือนการเป็นผู้ถือหุ้น" คนเก่าแก่ของอุตสาหกรรมนมไทยเล่าความหลังให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

นอกจากงานและ สริยา สิวายุ ภรรยาคนปัจจุบัน แล้ว ซอรัก "บ้าน" ของเขามากที่สุด

"นายซอรักบ้านมาก ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างให้กับบ้านหลังนี้เขาบอกว่าเขาทำงานเหนื่อยมาตลอดชีวิต บั้นปลายชีวิต เขาอยากจะอยู่อย่างราชา" สริยา บอกกับ "ผู้จัดการ"

ถึงแม้ซอจะไม่ใช่สถาปนิกแต่เขาออกแบบตกแต่งทุก ๆ ส่วนในบ้านของเขาด้วยตัวเอง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งทุกชิ้น เกือบทั้งหมดเป็นของต่างประเทศ

"อย่างพรมเปอร์เซียในห้องรับแขกนี่ นายซอฟังมาจากเพื่อนว่าสวยมาก หาได้ยาก ราคาผืนหนึ่ง 6-7 แสนบาท นายซอถึงกับลงทุนนั่งเครื่องบินไปเตหะราน เช้า-เย็นกลับ เพื่อซื้อมาแค่สองผืน" สริยาเล่าถึงความรักและต้องการบ้านที่สมบูรณ์ที่สุดของซอ

แต่ที่ซอรักและหวงแหนที่สุดคือ รูปถ่ายของสริยาที่เขาจ้างคอนสแตนตินช่างถ่ายรูปประจำพระองค์พระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 ถ่ายให้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมนมไทยที่ซอทุ่มเทชีวิตจิตใจให้ตลอดมา วันนี้ที่ไม่มีเขา หุ้นจำนวนประมาณ 7,100 หุ้น คิดเป็น 16.5% ของหุ้นทั้งหมดที่ถือผ่านบริษัทลงทุน "ฮันตา" ที่เขาตั้งขึ้น จะถูก โอนให้สริยา กับปิยนุช และกฤติยา ลูกสาวสองคนที่เกิดจากภรรยาเดิมชาวฮ่องกงของซอ ซึ่งทั้งสามคนต่างไม่มีประสบการณ์ในการบริหารกิจการใหญ่แห่งไหนมาก่อน

ส่วนของการบริหารตอนนี้มี "ณรงค์ ลือสกุล" ผู้จัดการใหญ่ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีที่ซอให้ความไว้วางใจมากที่สุด รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอยู่ แต่ยังไม่มีอะไรแน่นอน เนื่องจากต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นทั้งสามฝ่ายคือ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และไทยก่อน

ซอ สิวายุ เป็นนักธุรกิจในกิจการอีกด้านหนึ่งที่ถึงแม้จะให้ผลการเจริญเติบโตในภาพรวมแก่เศรษฐกิจได้ไม่มากนัก ภาพของชีวิตที่หมกมุ่นอยู่กับการทำงาน ไม่มีสีสันเจิดจรัสเหมือนกับผู้ยิ่งใหญ่หลายคน

แต่ซอก็ได้เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ของผู้ที่ไม่ใช่คนไทยแท้ ๆ ที่นำมาซึ่งคุณูปการแก่ส่วนรวม ทิ้งความยิ่งใหญ่ของธุรกิจที่ทรัพย์สมบัติมหาศาลที่เขาเพียรสร้างมาตลอดชีวิต ให้กับคนรุ่นหลังที่จะต้องพยายามรักษาและสะสางปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้เป็นไปตามแนวทางที่เขาต้องการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us