Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531
หนึ่งเดียวคนนี้ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปิโตรเคมีแห่งชาติ, บมจ.
ศิริ จิระพงษ์พันธ์
Chemicals and Plastics




คงไม่เพียงแต่คนที่ไม่เคยสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนักมาก่อนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหลาย ๆ คนที่ศึกษาและติดตามข่าวคราวของ "ปิโตรเคมี" ที่คิดเช่นเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่งแก่การเข้าใจเสียเหลือหลาย

การลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่นี้ เกิดขึ้นหลังจากการสำรวจพบก๊าซธรรมชาติแหล่งใหญ่ในอ่าว-ไทยในปี 2516 ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่เกี่ยวเนื่องจากก๊าซธรรมชาติ

การเริ่มต้นโครงการปิโตรเคมีเบื้องต้น ได้ใช้เงินลงทุนในโครงการมากกว่า 20,000 ล้านบาท จนกระทั่งปัจจุบันที่ได้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนา "ปิโตรเคมี"ขั้นที่ 2 คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนและประสานงานของบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด เป็นกลไกสำคัญยิ่งที่อยู่เบื้องหลังความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอด

ศิริจบการศึกษาระดับไฮสคูล จาก SEVENTH DAY ADVENTIST หลังจากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อที่ UEVENTH OF AKRON มลรัฐโอไฮโอ เรียนได้เพียงปีเดียวก็ย้ายไปเรียนที่ CALIFORNIA IN-STITUTE OF TECHNOLOGY (CAL TECH) ในสาขาวิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING) โดยได้รับทุนจากสถาบันอีกเช่นกัน

ศิริจบปริญญาตรีจาก CAL TECH โดยได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่มนักศึกษาที่มีอันดับคะแนนสูงสุดที่จบในปีนั้น และเข้าเรียนต่อปริญญาเอกในสาขาเดียวกันที่ MIT (MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY ) สถาบันการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เยี่ยมที่สุดของสหรัฐอเมริกา

ระหว่างที่ศิริทำปริญญาเอกในงานวิจัยของเขาก็ได้มีการจัดตั้งบริษัทภายในโครงการขึ้นมาเอง ซึ่งความเป็นยอดฝีมือทางด้านนี้ของศิริพิสูจน์ได้จากการที่บริษัทของเขาได้รับเชิญจากบริษัทที่ปรึกษาใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง ARTHUR D.LITTLE ให้เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยของบริษัท

ARTHUR D. LITTLE เป็นหนึ่งในสองบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมเคมี ที่ได้เสนอตัวเข้ามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างโรงงานปิโตรเคมีขั้นที่ 2 กับปตท.ในขณะนี้

ศิริใช้เวลาว่างสร้างประสบการณ์ให้ตัวเองทางคอมพิวเตอร์ และการบริหารองค์กรอยู่เสมอ เขาใช้เวลาเรียนที่ MIT อยู่ 3 ปีครึ่ง และพกเอา EQUIVALENT TO MBA จาก BUSINESS SCHOOL ของ MIT กลับมาเมืองไทยอีกใบ โดยปฏิเสธงานที่น่าสนใจและค่าตอบแทนสูงมากมายที่บริษัทชั้นนำในสหรัฐฯเสนอให้ ด้วยเหตุผลเดียวที่ว่า "ไม่มีที่ไหน... สุขใจเท่าบ้านเรา"

ศิริกลับมาเมืองไทยในปี 2523 เริ่มงานด้ายการวางแผนโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลไทย- - จนเป็นรูปเป็นร่าง ขณะเดียวกันก็เข้าไปสอนในแผนกวิศวเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปลายปีเดียวกันนั่นเอง ศิริก็ถูกชักชวนจากปตท. ให้เข้าร่วมวางแผนศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจนสามารถเสนอโครงสร้างทั้งหมดตั้งเป็น บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด สำเร็จในปี 2527

ช่วงแรกที่ปตท.ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้โดยมีบริษัทจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา ซึ่งให้ความเห็นว่าประเทศไทยควรสร้างโรงงานผลิตเอททิลีนเล็ก ๆ กำลังการผลิตประมาณ 160,000 ตันต่อปี เพื่อทดแทนการนำเข้า ศิริเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการคัดค้านความคิดดังกล่าว

"ตอนนั้นผมพูดได้อย่างมั่นใจจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ในลักษณะเศรษฐกิจอย่างนี้ทำไปวันต่อวันก็ไม่ได้ประโยชน์มูลค่าแก๊ซอาจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ได้เป็นฐานของอุตสาหกรรมจริง ๆ" ศิริอธิบายความคิดของเขาในครั้งนั้น

และนี่คือความแตกต่างที่สำคัญ ของการเรียนในด้าน CHEMICAL ENGINEERING มาโดยตรงของศิริ ที่เขาสามารถมองตั้งแต่ต้นจนจบได้โดยเขารู้ว่า ขบวนการทั้งหมดเกี่ยวข้อง กับอะไรบ้าง มีจุดอ่อน จุดเด่นที่ไหนบ้าง ทำอย่างไรที่จะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดที่เรียกว่ามีเหตุผล REASONABLE RANGE และ REASONABLE CAPACITY

ขณะเดียวกัน ตอนนั้นมีคนที่รู้เรื่องปิโตรเคมีอย่างลึกซึ้งน้อยมาก ศิริจึงถูกเชิญเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้แบงก์กรุงเทพ ในเรื่องการวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อประกอบในการวางแผนโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของแบงก์ที่จะเกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีซึ่งแบงก์กรุงเทพเองก็เห็นชัดว่า แบงก์ไหนที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้ได้ จะเป็นจุดยืนเป็นฐานสำคัญของธุรกิจของแบงก์ในอนาคต

นอกจากงานที่รับผิดชอบที่ปคช. (ปิโตรเคมีแห่งชาติ) ศิริยังเป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนาให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถ มีกำลังที่จะพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ ในสาขาปิโตรเคมีให้มากที่สุด และเป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการจัดตั้งวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ร่วมกับสหสาขา วิชาปิโตรเคมีของจุฬาฯ อีกด้วย

ศิริบอกว่า วิทยาลัย ฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับโครงการของมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่มูลนิธิสนับสนุนอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นการแข่งขันกัน

"เราพยายามกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับปิโตรเคมี พอมีสถาบันนี้ มีมูลนิธิ ฯ จะทำให้นักศึกษาที่จบออกมามีความพร้อม ที่จะก้าวเข้าไปในปิโตรเคมีมากขึ้น" ศิริย้ำถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับปิโตรเคมีในอีกด้านหนึ่ง

ทุกวันนี้ ศิริใช้เวลาว่างหลังจากเลิกงานของเขาพักผ่อนด้วยการว่ายน้ำ กับลูกชายสองคนอายุเพียง 8 และ 6 ขวบครึ่งและลูกสาววัย 3 ขวบของเขา

"ตอนแรกผมอยากเป็นหมอ เพราะชอบเรียนเคมีแต่ก็อยากเป็นวิศวกรด้วย ก็มีวิศวเคมีนี่แหละ ที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับผมที่สุด" ศิริเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้เขาเลือกเรียนวิศวเคมีและคงไม่เคยคิดว่าตัวเขาจะเป็นผู้นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาทำประโยชน์ได้มากขนาดนี้

ศิริเคยบอกว่าเขาไม่ใช่ทั้ง ENGINEER และไม่ใช่ BUSINESS MAN แต่เขาต้องพยายามมองกว้างขึ้นถึงขั้นว่า จะใช้วิศวกรรมในการพัฒนาธุรกิจอย่างไร เพื่อให้ก่อตั้งเป็นธุรกิจที่สำเร็จได้

และทุกวันนี้ศิริยังคงหมกมุ่นและอุทิศแรงกายแรงใจทุกหยาดของเขา ในการพัฒนาศึกษาเรื่องราวของ "ปิโตรเคมี" ที่เขามั่นใจว่าอุตสาหกรรมนี้จะเป็นฐานหลักของประเทศในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us