Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
ไอแลปโรงรถของธุรกิจดอทคอม             
 

   
related stories

Khuned Sachev

   
search resources

ไอแลป
Khuned Sachev
Incubator




หากมองผิวเผินแล้ว บ้านหลังสีขาวในหมู่บ้านบุปผา ก็เหมือนกับบ้าน ที่อยู่อาศัยธรรมดาๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่า บ้านหลังนี้คือ แหล่งเพาะเลี้ยงธุรกิจ หรือ garage ในโลกของดอทคอม

เจ้าของไอเดียวัย 28 ปีคนนี้ ไม่ได้ตั้งบริษัทไอแลปเบอราเทอรี่ขึ้นมาด้วย เงินทุนก้อนใหญ่ สร้างสถานที่ หรือจัดหา อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ให้เจ้าของไอเดียมาใช้เหมือนกับอินคิวเบเตอร์ หรือแหล่งเพาะเลี้ยงธุรกิจอื่นๆ

แต่ Khuned Sachev หนุ่มไทย เชื้อสายอินเดียผู้นี้ สร้างธุรกิจอินคิวเบเตอร์ขึ้นมาจากประสบการณ์ทางธุรกิจ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเขาเชื่อว่าสำคัญ ไม่แพ้กับเงิน

อินคิวเบเตอร์ในความหมายของ Khuned จึงไม่ใช่เรื่องของเงินทุนสร้าง สถานที่ มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เพราะสิ่งเหล่านี้หาซื้อได้ และไม่สำคัญเท่ากับความรู้ในเรื่องของ business model ข้อมูล ทางด้านพันธมิตรทางธุรกิจ ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเข้าใจวิวัฒนาการใหม่ๆ Innovation ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และ ไม่หลงทาง ซึ่งเป็นประสบการณ์ ที่หาซื้อไม่ได้

"ธุรกิจดอทคอมของไทยไม่เหมือนกับอเมริกา ส่วนใหญ่เขามีทั้ง ไอเดีย และรู้เรื่องธุรกิจ ขาดแต่เพียงเงินทุน และสถานที่ในช่วงแรกเท่านั้น พอได้เงินมาเขาก็สร้างธุรกิจได้ แต่ของไทยเราเริ่มต้นกันจริงๆ ทำกันแบบไม่มีประสบการณ์ ความรู้เหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเขา"

นี่คือ ช่องว่าง ที่เกิดขึ้น และเป็นโอกาสของไอแลปเข้าไปตอบสนองความต้องการเหล่านี้

Khuned จบด้านรัฐศาสตร์ พื้นฐานครอบครัวเป็นชาวอินเดีย ที่มาตั้งรกรากในไทย มีธุรกิจเคมีสิ่งทอ Khuned เริ่มทำงานในบริษัทครอบ ครัวเป็นหุ้นส่วน ลงทุนร่วมกับบริษัทเยอรมัน เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย

Khuned จึงได้ชื่อว่า เป็นเจ้าของ อินคิวเบเตอร์ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องของด้านการเงิน ไฟแนนซ์ ไม่เคยเป็น Investment bank หรือแม้แต่ประสบการณ์ธุรกิจไอที แต่เขาทำมันขึ้นมาจากการศึกษาด้วยตัวเองแบบล้วนๆ และนี่เองเป็นอีกจุดหนึ่ง ที่ทำให้มุมมองของการเป็น incubator ของ Khuned แตกต่างไปจากอินคิวเบเตอร์อื่นๆ

"เราตื่นเต้นในการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ออกไปคุยกับดีลเลอร์รถว่า จะทำตลาดได้มั้ย แต่ไม่ตื่นเต้นกับดีล ทางการเงินเหมือนกับอินคิวเบเตอร์ ที่ มาจาก investment bank"

ไอเดียแลป อินคิวเบเตอร์ของสหรัฐอเมริกา คือ แม่แบบของ Khuned ในการเริ่มต้นธุรกิจอินคิวเบเตอร์ ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็เริ่มต้นมาจาก garage ที่จอดรถในบ้าน สร้างธุรกิจดอทคอมขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ

Khuned มองว่า การหา venture capital มาให้เงินทุนในธุรกิจไม่ใช่ เรื่องยาก เพราะ vc เหล่านี้ก็มักจะลงทุน ในช่วง ที่ธุรกิจไปได้เติบโตพอ ที่จะมองเห็นอนาคตแล้ว (take off) แต่จุดที่สำคัญ ก็คือ ช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ คือ การนำไอเดียมาทำให้เกิดธุรกิจขึ้นจริงๆ หรือเรียกว่า ช่วง seed เป็นช่วงจำเป็นที่สุด และการหาเงินทุนทำได้ยากเพราะส่วนใหญ่จะรอให้ธุรกิจเป็นรูปเป็นร่าง พร้อม ที่จะเติบโตได้แล้ว และนี่คือ ความ ท้าทาย ที่เขาอยากเริ่มต้นกับธุรกิจนี้

Khuned เริ่มต้นธุรกิจอินคิว เบเตอร์ ที่ถือว่าเป็นเรื่อง ที่ใหม่มากๆ สำหรับเมืองไทยเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ช่วง 1-2 ปีแรกของเขาจึงหมดไปกับการศึกษา และวิจัยตลาด และมาเริ่มธุรกิจ อย่างจริงจังในช่วง 2 ปีหลัง

"ปีแรกผมไม่ได้ทำอะไรเลย นั่งศึกษา และติดตามข้อมูลอย่างเดียวเลย ดูว่าดีลในเมืองนอกเขาทำกันอย่างไร ซึ่ง venture capital ในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องใหม่ เลยกลายเป็นว่า ผมเริ่มจากจุดที่มันเริ่มใหม่ และจากการได้ศึกษาทั้งของเก่า และใหม่ ทำให้ผมรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการระดมทุนแบบเก่า และแบบใหม่ ที่ความรู้แบบเก่าใช้ไม่ได้กับธุรกิจนี้"

ทุกวันนี้ ไอแลปของเขายังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของชมรมไอแอนด์ไอ ชมรม ที่จัดตั้งขึ้นจากการ รวมกลุ่มระหว่าง venture capital และผู้ประกอบธุรกิจดอทคอมในการจัดงานพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยที่มีเทค แปซิฟิก อิน คิวเบเตอร์จากฮ่องกงเป็นแกนนำในการก่อตั้งชมรมไอแอนด์ไอ

โมเดล ที่แตกต่างอีกอย่างหนึ่ง ของอินคิวเบเตอร์แห่งนี้ ก็คือ Khuned ไม่ได้แสวงหาไอเดียจากผู้ประกอบการภายนอกแต่เป็นไอเดีย ที่เกิดขึ้นภายใน เกิดมาจากตัวเขา และผู้ร่วมก่อตั้งอีกคนหนึ่งเป็นคนคิดขึ้นเอง จากนั้น ก็จ้างทีมงานมาทำให้ไอเดียของเขาเป็นจริง

"นี่คือ จุดที่แตกต่างจากอินคิวเบเตอร์ ที่มาจากนักการเงิน อินคิวเบเตอร์ต้องเป็นทีมงาน ที่อยู่ในธุรกิจจริงๆ เคยมีประสบการณ์พัฒนาธุรกิจ สร้างธุรกิจมาก่อน ประสานงานกับทีมงาน ทักษะพวกนี้ ต่างจากนักการเงินมาก เพราะพวกนี้เขาดูอย่างเดียว ใช้เงินเท่าไร ลงทุน ไปเท่าไร"

โมเดลธุรกิจของไอแลปนั้น หลังจาก ที่ Khuned คิดไอเดียธุรกิจ แล้ว จะจ้างทีมงานมาทำให้ไอเดียเกิดเป็นธุรกิจขึ้นจริง

"ผมกับคุณธนิต จันตะโกเป็นคนเริ่มไอเดีย จากนั้น เราก็หา CTO (chief technology officer) มา 1 คน หาทีมงานมาทำให้ไอเดียเกิดเป็นรูปเป็นร่าง"

ทีมงานเหล่านี้ เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งจะได้ผลตอบแทนในรูปของหุ้น (stock option) ในโครง การที่เขาทำงานอยู่ ซึ่งจะสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นการสร้างแรงจูงใจ ที่มักใช้ในธุรกิจดอทคอม

"เราจะให้เวลาเขาทำงานก่อน 3 เดือนแรก พิสูจน์ให้ดูก่อนว่า เข้ากันกับวัฒนธรรมของเราได้ รวมถึงเข้ากับความคาดหวังของ venture capital ด้วย สำหรับการสร้างธุรกิจ"

คำถามแรก ที่ Khuned ถาม พนักงานใหม่ของไอแลป "เงินเดือนต่ำสุด ที่คุณจะอยู่ได้คือ เท่าไร" เพราะนี่คือ ตัวเลขเงินเดือนที่พวกเขาจะได้รับความท้าทายของการมาทำงานกับไอแลป ทีมงานเหล่านี้จะได้รับก็คือ ผลตอบแทนจากหุ้น ไม่ใช่ค่าจ้างรายเดือน

ทีมงาน ที่นี่ จึงต้องถูกเตรียมพร้อมสำหรับการที่จะออกไปเริ่มต้นธุรกิจโดยลำพัง ไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ใหม่ ที่เป็นเรื่องของธุรกิจจริง และนั่นหมายถึงโอกาสของผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ไอแลปได้รับจะเป็นจริง

ไอเดียแรกของเขา คือ โครงการ thaiindustry.net เป็นเว็บไซต์โฆษณา ที่รวมรายชื่อ และสินค้าผู้ประกอบธุรกิจ ส่งออกของไทย แต่โครงการนี้ต้องพับเก็บลงไปชั่วคราว หลังจาก ที่ไม่ได้รับความสนใจเท่า ที่ควร เพราะเวลานั้น อินเทอร์เน็ตยังใหม่มากสำหรับเมืองไทย

โครงการที่สอง คือ aotos4asia. com เว็บไซต์ ให้บริการขายรถยนต์ ทั้งรถใหม่ และเก่า จุดเริ่มของโครงการมาจากการไปร่วมมือกับกลุ่มวัฏจักร แต่ หลังจากกลุ่มวัฏจักรประสบปัญหาวิกฤติ จึงถอนตัวออกไป Khuned นำโครงการ มาทำต่อ และต่อมาก็ได้เทค แปซิฟิก อินคิวเบเตอร์จากฮ่องกง มาลงทุนร่วมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

โมเดลธุรกิจของเว็บไซต์นี้ เป็นลักษณะของบีทูซี เป็นสื่อกลางขายรถยนต์ ทั้งเก่า และใหม่ เป็นฐานข้อมูลให้ ผู้ซื้อในการตัดสินใจให้สมัครเป็นสมาชิก และเมื่อไปซื้อรถ ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ จะได้ส่วนลด และทางไอแลปจะได้ค่า คอมมิชชั่นจากเอเยนต์รถ มีบริการรับประกันภัย ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย

Khuned คาดไว้ว่า โครงการนี้จะอยู่ในขั้นเริ่มต้นธุรกิจ หรือ seed level ไปอีก 6 เดือน ก่อนจะเริ่มเปิดธุรกิจอย่างเป็นทางการ ซึ่งในช่วงนั้น จะต้องมีการระดมเงินทุนอีก 30 ล้านจาก venture capital

โครงการที่ 3 โครงการ trade-hub thailand เป็นโครงการต่อเนื่อง จาก thaiindustry.net ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับ tradehub ประเทศออสเตรเลีย ซึ่ง Khuned บอกว่า นี่คือ ตัวอย่างในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ จากการที่ได้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรมมาร่วมในการนำ tradehub thailand ไปใช้ในโครงการ

โครงการที่ 4 การเปิดเว็บไซต์ totalscuba.com เป็นศูนย์กลางข้อมูลการดำน้ำทั่วเอเชีย สามารถจอง ที่พักโรงแรมในแหล่งดำน้ำต่างๆ ซึ่งจะเป็น บีทูซี และอนาคตจะทำเป็นบีทูบี ระหว่างผู้ผลิตอุปกรณ์ดำน้ำกับผู้ขายปลีก

ผลตอบแทนจากการเป็นอินคิวเบเตอร์ของไอแลป ก็ไม่แตกต่างไปจาก venture capital ทั่วไป นั่นก็คือ ผลตอบแทนจะมาจากการ exit หรือออกจากการลงทุน ซึ่งอาจจะเป็นการเข้าตลาดหุ้น และการขายหุ้นให้กับนักลงทุน หรือนักธุรกิจอื่นๆ

สิ่งที่ไอแลปต้องทำก็คือ การทำความพร้อมให้กับทีมงานในโครงการทั้ง 4 ให้หน่ออ่อนเหล่านี้แข็งแรงพอ ที่ จะแยกตัวไปหาผู้ร่วมทุน มี venture capital และนั่นหมายถึงโอกาสของผลตอบแทน ที่จะกลับคืนมา

และเมื่อถึงเวลานั้น garage ของ Khuned ก็จะเริ่มทำงานอีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us