Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2529
อะไรคือความสำเร็จที่แท้จริงของปูนซีเมนต์นครหลวง?             
 

   
related stories

ปูนซีเมนต์นครหลวงยุคอินทรีผยองเดช

   
search resources

ปูนซีเมนต์นครหลวง, บมจ.
Cement




1. ผู้นำองค์กร

ถ้าจะเฟ้นตัวระดับผู้บริหารระดับสูงของปูนซีเมนต์นครหลวง ที่มีบทบาทต่อความสำเร็จของกิจการในทุกวันนี้ คงไม่พ้น ชวน รัตนรักษ์ ศุลี มหาสันทนะ และสมเกียรติ ลิมทรง โดยที่ต่างคนต่างก็มีความเด่นไปคนละแบบ

ชวน รัตนรักษ์ ผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทเป็นคนที่กว้างขวางทั้งในแวดวงพ่อค้าและผู้มีอำนาจ การขออนุมัติคณะรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ จึงค่อนข้างสะดวกสบาย และทันทีที่ได้ใบอนุญาตก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแทบจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ทำให้ประหยัดต้นทุนด้านการนำเข้าเครื่องจักรหรือภาษีในช่วงต้นของการดำเนินงานได้อย่างมหาศาล

ชาติกำเนิดและการไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการธนาคารและธุรกิจอื่นของชวน รัตนรักษ์ จัดอยู่ในกลุ่มของ “จีนใหม่” ที่ยิ่งยงขึ้นมาได้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาศัยความสามารถด้านการค้าควบคู่ไปกับการเกาะติดกับผู้มีอำนาจมีอิทธิพล อันได้แก่ กลุ่มทหารในยุคสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส

ดูรายชื่อคณะกรรมการของปูนซีเมนต์นครหลวงปัจจุบันนี้ดูก็ได้ว่า ทำไม “ผู้จัดการ” จึงจำแนกว่าชวน รัตนรักษ์จัดอยู่ในกลุ่มของมหาเศรษฐี “จีนใหม่”

คณะกรรมการของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงเมื่อสิ้นปี 2528 ประกอบไปด้วย ชวน รัตนรักษ์ ชิน โสภณพนิช อุเทน เตชะไพบูลย์ มงคล กาญจนาพาสน์ ดิเรก มหาดำรงค์กุล ศศิธร รัตนรักษ์ ชมพู อรรถจินดา บรรหาร ศิลปอาชา สมชาย พิพิธวิจิตรกร รุจา เพ็ญตระกูล และสมเกียรติ ลิมทรง

ด้วยโครงสร้างที่ประกอบด้วยเจ้าของทุนที่เป็น “จีนใหม่” ปูนซีเมนต์นครหลวงจึงค่อนข้างได้เปรียบคู่แข่งที่ยังมีลักษณะ “เจ้าขุนมูลนาย” แอบแฝงอยู่อย่างลึกๆ เพราะสามารถดำเนินการเพื่อมุ่งกำไรสูงสุดเป็นประการสำคัญ

บุคคลที่สองที่เป็นหัวหอกในการวางรากฐานให้กับปูนซีเมนต์นครหลวงก็คือศุลี มหาสันทนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่เพิ่งกลายเป็นรัฐมนตรีรักษาการไปหมาดๆ

ศุลี มหาสันทนะ เป็นนักบริหารมืออาชีพที่ได้รับการบ่มเพาะขั้นต้นจากบริษัทเอสโซ่(ประเทศไทย)จึงไว้วางใจได้ในเรื่องฝีไม้ลายมือ ประกอบกับอุปนิสัยประจำตัวเป็นคนที่เข้ากับคนได้ง่าย ใช้คนเป็น ลูกน้องเก่าอย่างชัยยะ อุดมประเสริฐ ให้ความเห็นว่า เป็นทั้งนักการตลาดและนักวิเคราะห์โครงการรวมอยู่ในตัวคนเดียว

ความที่เป็นนักบริหารมืออาชีพ ทำให้ศุลีกล้าทำในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่าถูกต้อง โดยไม่แคร์บรรดาเจ้าของทุนเท่าไรนัก ทีมงานชุดแรกที่ก่อตั้งจึงคำนึงถึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่ศุลี มหาสันทนะไปดึงตัวมาจากกรมทรัพยากรธรณี อย่างยุทธ ยุคแผน ผู้จัดการโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงคนปัจจุบัน

ศุลีเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เต็มที่ เมื่อเห็นว่าผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ตราเพชรของตน แม้จะมีคุณภาพสูงไม่แพ้ปูนเกรดเดียวกันของบริษัทอื่น แต่ได้รับการยอมรับน้อยกว่าเพราะเป็นยี่ห้อใหม่ ก็รีบไปขอเครื่องหมายคุณภาพแห่งชาติและเป็นปูนตราแรกที่ได้รับอนุมัติในขณะที่ปูนของบริษัทคู่แข่งผลิตมาก่อนนับเป็นสิบๆ ปีไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้

ความเยี่ยมยุทธอีกประการหนึ่งของศุลี มหาสันทนะ ก็คือเป็น “ตัวประสาน” ที่ดีเลิศ ทั้งที่โรงงานของปูนซีเมนต์นครหลวงตั้งอยู่ไม่ไกลจากโรงงานทุ่งหลวงของปูนซิเมนต์ไทยมากนัก ศุลีก็ยังยืนกรานที่จะใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาของบริษัทตน แม้จะรู้ว่าโครงการก๊าซธรรมชาติในช่วงปี 2522-2523 เป็นโครงการที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เพื่อนเก่าภูมิใจและตั้งความหวังไว้มาก ถ้าได้ปูนนครหลวงมาร่วมใช้ด้วยอีกบริษัทหนึ่งก็ยิ่งเน้นความสำคัญของโครงการนี้

เอาเข้าจริงๆ ศุลี มหาสันทนะ นอกจากไม่ยอมใช้ก๊าซธรรมชาติแล้ว ในพิธีเปิดเตาเผาที่สองเมื่อปี 2524 ที่ใช้พลังงานจากลิกไนต์ ยังอุตส่าห์เชิญพลเอกเปรมไปเป็นประธานในพิธีเสียด้วยซ้ำ

หลังจากนั้นอีกไม่นานก็ได้รับพระบรมราชโองการเข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเปรม 2 อย่างหน้าตาเฉย ฝีมือฝีปากในฐานะนักเจรจาและตัวประสานนี้ ลองไปถามผู้บริหารเทกซัสแปซิฟิกหรือเชลล์แห่งประเทศไทยดูเอาเองก็แล้วกัน ว่าแสบสันต์เพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องราคาน้ำมันปากหลุมที่ขุดได้ที่จังหวัดกำแพงเพชร

บุคคลสุดท้ายก็คือสมเกียรติ ลิมทรง ผู้เป็นนายใหญ่ของปูนนครหลวงคนปัจจุบัน คนคนนี้คงไม่ต้องพูดถึงเขามาก เพราะมีล้อมกรอบเรื่องราวของเขาเป็นพิเศษอยู่แล้ว

2. ต้นทุนการผลิต

แม้ปูนซีเมนต์นครหลวงจะเป็นบริษัทล่าสุดในวงการปูนซีเมนต์ในเมืองไทย แต่การที่เป็น “บริษัทล่าสุด” นี้กลับทำให้มีข้อได้เปรียบหลายประการ อย่างเช่น ความก้าวหน้าในด้านการสำรวจธรณีวิทยา ทำให้ทราบแหล่งวัตถุดิบขนาดใหญ่ที่เพียงพอกับการใช้นับเป็นศตวรรษ ทำให้สามารถสร้างโรงงานในจุดที่มีวัตถุดิบอันอุดม เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าขนส่งวัตถุดิบ ปัญหานี้ปูนซิเมนต์ไทยเคยเผชิญมาแล้วในกรณีโรงงานบางซื่อ ซึ่งท้ายที่สุดจำต้องปิดโรงงานที่มีประวัติยาวนานที่สุดไปเมื่อปี 2525 นี้เอง

อีกประการหนึ่งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่ตั้งในภายหลังย่อมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุด รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยีก็มีบทบาทอย่างสำคัญในการประหยัดกำลังคน ให้ผลผลิตในจำนวนที่มากและแน่นอน ซึ่งท้ายสุดก็นำไปสู่การประหยัดต้นทุน และการที่ประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงกว่าโรงงานที่ตั้งมาก่อนที่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตก็ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ข้อได้เปรียบทั้งสองประการนี้มีอยู่พร้อมในตัวโรงงานของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ยิ่งหากมาคิดรวมถึงต้นทุนด้านพลังงานแล้ว ปูนซีเมนต์นครหลวงอยู่ในสภาพที่ได้เปรียบคู่แข่งอยู่มาก

อาจจะมีอีกบางเรื่องที่ “ผู้จัดการ” มองข้ามไปสำหรับปัจจัยที่ทำให้ปูนซีเมนต์นครหลวงก้าวข้ามขั้นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เช่น ปัจจัยภายนอกที่เกิดจากคู่แข่งเอง ยกตัวอย่าง ก็อย่างชลประทานซีเมนต์ แม้จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้ขยายกำลังผลิตในปี 2520 พร้อมๆ กับปูนนครหลวง ก็ประสบปัญหาไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของทางการได้ นอกจากกำลังผลิตไม่เพิ่ม ยังอาจจะถูกปรับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเงินถึง 20 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นอุทธรณ์

หรืออย่างปูนซิเมนต์ไทย ถึงจะมีนโยบายออกมาว่าต้องการลดต้นทุนในการดำเนินงาน แต่ในบางกรณี เช่น การปิดโรงงานบางซื่อ ที่มีพนักงานอย่างน้อย 300 คน ที่ตกค้างอยู่ ปูนซีเมนต์ไทยก็ไม่ยอมปลดพนักงานเหล่านั้น พยายามเทรนงานในลักษณะหน้าที่ใหม่ให้ปฎิบัติต่อไป

และในส่วนของปูนซีเมนต์นครหลวงเองก็มีเรื่องแปลกอยู่อย่าง ก็คือพนักงานระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการฝ่าย แม้จะร่วมงานก่อร่างสร้างตัวมาพร้อมกับบริษัท แต่หาคนที่จะอยู่จนอายุเกิน 50 ปีได้น้อยคนมาก อย่างชัยยะ อุดมประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายขาย ก็ลาออกไปเมื่ออายุแค่ 45 ปี ปัจจุบันไปนั่งกินตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด ของบริษัทเทพนคร (ชาร์ป)

สมชาย สาโรวาท ผู้บริหารฝ่ายขายอีกคนหนึ่ง ก็ลาออกไปด้วยวัย 40 กว่าปีเช่นกัน ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทั่วไปของอิมพีเรียล ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ จำลอง นิมบุญจาช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด อีกคนหนึ่ง ก็เพิ่งลาออกไปเมื่อต้นปี 2529 เพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยวัยที่ไม่ถึง 50 ปี รายล่าสุดคือยุทธ ยุคแผน ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน ที่มีอายุงานในตำแหน่งนี้นานที่สุด ก็เตรียมลาออกในปี 2530 เมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์

ทุกคนอาจจะมีสาเหตุในการลาออกต่างกันไป แต่มันก็น่าแปลกใจ จริงไหมครับ คุณสมเกียรติ?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us