Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2529
พ.ต.ท.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช มือปราบที่ใช้สมองจับอาชญากรแทนปืน             
 


   
search resources

Economics
ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช, พ.ต.ท.




“ขอให้มีคนที่มีคาลิเบอร์อย่างผมสัก 10 คนเท่านั้นแหละ ผมอยากจะรู้ว่ามันจะทำอะไรได้ทุกภูมิภาคในโลกนี้เราข้ามไปได้ เพราะทุกปีนี่เราได้เห็นกัน เรารู้จักกัน เรายกหูพูดกันได้ อย่างผู้บัญชาการสอบสวนกลางโมร็อกโคกับผมอยู่ด้วยกันที่ญี่ปุ่นถึง 45 วัน หรืออธิบดีกรมตำรวจมาเลเซีย ก็เคยนอนห้องเดียวกันตอนได้ทุนโคลัมโบ…ความร่วมมือระหว่างประเทศจึงสำคัญมาก”

พ.ต.ท.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มือปราบอาชญากรธุรกิจมือดีที่สุดคนหนึ่งของกรมตำรวจบอกกับ “ผู้จัดการ” ด้วยความมั่นใจ

พ.ต.ท.ประจักษ์ศิลป์ เกิดเมื่อ 1 ก.ย.2488 จึงอยู่วัยย่าง 41 ปีในวันนี้

เป็นนายตำรวจเพียงไม่กี่คนที่ได้รับรางวัลการศึกษายอดเยี่ยมทั้งจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และโรงเรียนสารวัตรและผู้บังคับกอง ผ่านการศึกษาและการอบรมดูงานในต่างประเทศนับครั้งไม่ถ้วน และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่าง “ภาคภูมิ”

ปี 2517 ได้ทุนโคลอมโบไปศึกษา ณ สถาบันสหประชาชาติเพื่อการป้องกันอาชญากรรม และการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดคดีอาญาที่กรุงโตเกียว นอกจากนี้ยังผ่านการอบรมจากซีไอเอของสหรัฐอเมริกาด้วย จนได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การต่อรองและการแย่งตัวประกัน!

ด้านหน้าที่การงานนั้น ผ่านงานพื้นฐานของตำรวจมาตลอด ตั้งแต่รองสารวัตรตำรวจนครบาล ผู้บังคับหมวดตรวจภูธร สารวัตรตำรวจสันติบาล ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธร อำเภอเชียงใหม่ หัวหน้าสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

มาจับงานอาชญากรรมทางธุรกิจเข้าจริงๆ ก็เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนคดีราชาเงินทุน และตั้งแต่นั้นก็วนเวียนอยู่กับคดีความผิดทางธุรกิจมาโดยตลอดจนขณะนี้เป็นผู้ตรวจสำนวนคดีประเภทนี้ทั้งหมด เฉพาะปีที่แล้วปีเดียวก็ต้องตาแฉะกับสำนวนถึง 763 คดี ไม่ว่าคดีนั้นหน่วยงานไหนจะรับผิดชอบ ต้องส่งให้ตรวจสำนวนทั้งสิ้น

จึงไม่น่าแปลกใจถ้าหากได้ทราบว่าเป็นผู้ที่รับเชิญให้ไปบรรยายในที่ต่างๆ อยู่เป็นประจำ รวมทั้งการเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระบรมฯ เมื่อครั้งอยู่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกด้วย

นอกจากนี้ยังเป็นผู้วางหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานสอบสวนในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดด้านอาชญากรรมทางธุรกิจเมื่อ 2 ปีก่อนจนเป็นที่ฮือฮา เพราะเป็นผู้เอาพฤติการณ์แยบยลของอาชญากรเสื้อนอกทั้งหลายมาเปิดเผยแก่ตำรวจทั่วไปและสื่อมวลชนเป็นครั้งแรก จนทำให้คำว่า “อาชญากรทางธุรกิจ” ติดปากคนทั่วไปในเวลานี้

น่าแปลกที่เขาทำคดีจนจับบรรดานักธุรกิจที่ฉ้อฉล หรืออาชญากรเสื้อนอก เข้าคุกมาแล้วไม่รู้เท่าไร จนเป็นที่เข็ดขยาดกันไปทั่วในหมู่แก๊งโจรผู้ดีทั้งหลาย แต่ก็ยังไม่เคยถูกขู่ ถูกติดตามหรือกลัวใครหมายชีวิต เพราะไปขัดผลประโยชน์ของเขาเข้า

“เชื่อไหม ผมไม่เคยถูกขู่ ไม่เคยถูกติดตาม หรือกลัวใครเอาชีวิตเลย มีแต่ผมขู่เขา ตามเขา หรือไม่เขาก็กลัวผม เพราะผมเป็นคนไม่มีศัตรู คือเราทำอะไรแล้วเราไม่แกล้งเขาเท่านั้น คือผมเอาเรื่องจริงๆ เรื่องไปยัดของเขานี่ไม่มี ก็มันผิดจริงๆ มันก็ไม่มีสิทธิ์มาโกรธผม”

พ.ต.ท.ประจักษ์ศิลป์ ยังรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำในการทำคดีของตำรวจอยู่ไม่น้อย “ในขณะที่สามล้อถูกคนร้าย 3 คนตีหัวเอาเงินไปได้ 50 บาท นายตำรวจระดับพลตำรวจโทต้องไปดูสถานที่ เพราะถือเป็นคดีอุกฉกรรจ์ ระเบียบกำหนดไว้อย่างนั้น แต่คดีเงินแบงก์หาย 100 ล้านบาท กลับมีร้อยตำรวจเอกไปดูเพียงคนเดียว มันผิดกันนะ คดีแบบนี้ความจริงต้องใช้นายตำรวจเป็นสิบคน คนเดียวจะไปทำได้ยังไง”

นี่เองที่เป็นแรงผลักดันให้กรมตำรวจจำเป็นต้องมีกองกำกับการงานพิเศษขึ้นมาอีก 1 กอง ซึ่งอาจจะใช้ชื่อว่า “กองธุรกิจอาชญากรรม” เพื่อรับมือกับอาชญากรรมทางธุรกิจที่แม้แต่ตำรวจเองก็ยังให้คำจำกัดความที่ลงตัวของคดีประเภทนี้ยังไม่ได้

รู้แต่เพียงว่า มันร้ายแรงกว่าคดีธรรมดาสามัญหลายร้อยหลายพันเท่านัก

“กองฯ ใหม่นี้มีนายตำรวจ 20 คนก็พอแล้ว เพราะคุณจะไปสร้างคน 200 คนให้มีความรู้ใกล้เคียงกับผมนี่มันไม่ใช่ของง่ายนะ เพราะทำมา 10 ปีเต็มเชียวนะ เห็นทุกเรื่องทุกคดีที่เกิดขึ้นในประเทศนี้แล้ว ที่จริงแล้วตัวคดีมันจะมีไม่มากเท่าไร เราต้องการพนักงานสอบสวนที่มีความสามารถจริงๆ ที่เป็นศูนย์กลางติดต่อกับผู้รักษากฎหมายหน่วยอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งสิ่งที่เขาจะต้องมีก็คือต้องพูด 2 ภาษาได้อย่างดีและต้องชำนาญเฉพาะส่วนด้วย

อีกไม่นานเราคงได้เห็นการสร้างนายตำรวจรุ่นใหม่ที่จะขึ้นมารับงานด้านอาชญากรรมธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อทดแทนรุ่นเก่าๆ ที่มีเพียงไม่กี่คนอย่างพันตำรวจเอกสมพงษ์ บุญธรรม พันตำรวจเอกสุรสีห์ สุธีสร พันตำรวจเอกบุญฤทธิ์ รัตนพร พันตำรวจโทประเสริฐ จันทราพิพัฒน์ และพันตำรวจโทประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช ฯลฯ เป็นต้น.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us