Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤษภาคม 2545
สินค้าเฮาส์แบรนด์ : ทะลักสู่ตลาด "อีกย่างก้าวยักษ์ค้าปลีก"             
 


   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Retail




สินค้ายี่ห้อผู้ค้าปลีกแต่ละราย ที่รู้จักกันในนามสินค้าเฮาส์แบรนด์ (House Brand) หรือสินค้าไพรเวตเลเบล (Private label Product) ที่ผู้ประกอบการค้าปลีกจ้าง ซัปพลายเออร์ผลิต

แล้วใช้ตราเฉพาะผู้ค้าปลีกนั้น ปัจจุบันกำลังมีบทบาทธุรกิจค้าปลีก มากขึ้นตามลำดับ ด้วยรูปลักษณ์ที่ดี มีคุณภาพ และมีความหลากหลายมากกว่าอดีตเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

นับตั้งแต่เมื่อครั้งห้างสรรพสินค้าต้อง การสร้างความแตกต่างให้ห้างตนจากห้างอื่นๆด้วยการผลิตเครื่องแต่งกายส่วนใหญ่ เหตุผลเบื้องต้นเพื่อสร้างแรงดึงดูดลูกค้า

เพราะหากลูกค้าติดใจสินค้าเฮาส์แบรนด์ ย่อมต้องกลับมาซื้อที่ห้างนั้นเพียงแห่งเดียว เนื่องจากสินค้าเฮาส์แบรนด์มักวางจำหน่ายเฉพาะในร้าน หรือเครือข่ายกิจการเท่านั้น

ไม่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป

ปัจจุบันสินค้าเฮาส์แบรนด์ที่ผลิตส่วนใหญ่ อาศัยช่องว่างที่สินค้ายี่ห้อดังปรับราคา สินค้าสูงขึ้น ด้วยการเสนอสินค้าราคาถูกกว่า สินค้ายี่ห้อชั้นนำทั่วไป เฉลี่ยประมาณร้อยละ 10-20 สู่ผู้บริโภค

เนื่องจากสินค้าเฮาส์แบรนด์ ไม่มีงบการตลาด ทั้งการโฆษณาประชา- สัมพันธ์ หรือสร้างแบรนด์อิมเมจ แต่อาศัยช่องทางจำหน่ายที่มีอยู่เป็นหลัก ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเริ่มสนใจซื้อสินค้าเฮาส์แบรนด์

เพราะสินค้าดังกล่าวมักราคาถูกว่าสินค้ามียี่ห้อ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ยิ่งส่งผลสินค้าเฮาส์แบรนด์ราคาไม่แพงเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นตามลำดับ

สินค้าเฮาส์แบรนด์ที่กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก ใช้เป็นยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มยอดขายส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาหาร แห้ง เครื่องเขียน

เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องดื่ม เป็นต้น แนวโน้มสินค้าเฮาส์แบรนด์ผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละรายจะเพิ่มประเภทสินค้ามากขึ้นตามลำดับ

ตลาดสินค้าเฮาส์แบรนด์เมืองไทยยังอยู่ระยะเริ่มต้น ยังจำกัดอยู่วงแคบ ผู้ประกอบการคือ 4 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกรูปแบบดิสเคานต์สโตร์ เป็นผู้มีบทบาทค่อน ข้างสูงขณะนี้ คือเทสโก้ โลตัส

ซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ คาร์ฟูร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และแม็คโคร

เมื่อพิจารณารายได้สินค้าเฮาส์แบรนด์แต่ละราย เทสโก้ โลตัสทำยอดขายจากสินค้า เฮาส์แบรนด์ประมาณร้อยละ 3 ของยอดขาย รวม หรือประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี ด้วย ยี่ห้อซูเปอร์เซฟ

เทสโก้โลตัส และคุ้มค่า คาร์ฟูร์สร้างรายได้จากสินค้าเฮาส์แบรนด์ภาย ใต้ยี่ห้อคาร์ฟูร์ ฮาร์โมนี เฟิร์สไลน์ และบลูสกาย ประมาณร้อยละ 5 จากยอดขายทั้งปี หรือประมาณ 700-1,000 ล้านบาท

แม็คโครเป็นผู้ประกอบการอีกรายที่มีบทบาทตลาดสินค้าเฮาส์แบรนด์ แม็คโครพยายามวางตำแหน่งเป็นผู้ค้าส่งด้วยเงินสด เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบการทั้ง 2 รายข้างต้น

สร้างรายได้จากสินค้าเฮาส์ แบรนด์เฉลี่ยร้อยละ 5 จากยอดขายแต่ละปี ภายใต้ยี่ห้ออาโร เซฟแพ็ค และคิวบิซ เป็นต้น ขณะที่บิ๊กซี ซึ่งเปิดร้านจำหน่ายสินค้า

เฮาส์แบรนด์โดยเฉพาะในนามร้านลีดเดอร์ไพรซ์แล้ว 2 สาขา ทำยอดขายสาขาละประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อวัน

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดเห็นว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์ที่ผู้ประกอบการค้าปลีก ค้าส่งแต่ละรายพยายามเสนอสู่ตลาดขณะนี้ ทั้งโดยการวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกตนเอง และเครือข่ายกิจการ

ยอดขายเฉลี่ยร้อยละ 3-5 จากยอดขายแต่ละปี แต่ละรายเท่านั้น เป็นยอดขายค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยอดขายรวม

สินค้าเฮาส์แบรนด์มักจำหน่ายได้ดีช่วง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือค่าเงินบาทอ่อนตัวเท่านั้น แต่หากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศกระเตื้อง ผู้บริโภคจะซื้อสินค้ามียี่ห้อ เหมือนเดิมในที่สุด

ปัญหาหลักการทำตลาดสินค้าเฮาส์ แบรนด์เมืองไทย คือพฤติกรรมผู้บริโภคไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ยังคงให้ความสำคัญยี่ห้อดัง โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้เป็นประจำชีวิตประจำวัน

มักนิยม สินค้ายี่ห้อที่ใช้ประจำ หรือรู้จักนานแล้วอย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การผลิตสินค้าภายใต้ ยี่ห้อผู้ประกอบการค้าปลีกที่คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นตามลำดับ

จะส่งผลกระทบผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายศูนย์ วิจัยกสิกรไทยสรุปได้ดังนี้

-กลุ่มผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ที่ต้องต้องทุ่มเงินมากขึ้น ทั้งด้านการตลาดและโฆษณา เพื่อตอกย้ำยี่ห้อสินค้าให้ผู้บริโภคภักดีต่อยี่ห้อ โดยเฉพาะด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และสีสัน

ที่สินค้าเฮาส์แบรนด์มักผลิตลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงสินค้ายี่ห้อดัง ควบ คู่กับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งเร่งด่วน

ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังต้องให้ความสำคัญ การพยายามหาแนวทางลดต้นทุนผลิต เพื่อแข่งขันกับสินค้าเฮาส์แบรนด์ เพื่อรองรับการ แข่งขันด้านราคา

-กลุ่มผู้ผลิตรายย่อย ที่มักรับผลิตสินค้าให้ผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีสินค้าเฮาส์ แบรนด์ตนเอง ผู้ประกอบการค้าปลีกบางราย ผลิตสินค้าหลายยี่ห้อ บางกลุ่มได้รับผลดีจาก รับจ้างผลิต

โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มที่แข่งขันรุนแรง เนื่องจากไม่ต้องทำการตลาดเอง แต่ สามารถสร้างรายได้จากการผลิตสินค้าขาย วิธีนี้ดูเหมือนสร้างงานให้รายย่อยได้ดีระดับหนึ่ง

แต่ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตสินค้าบางกลุ่ม ที่มีสินค้าของตนเองอยู่แล้ว เมื่อรับจ้างผลิต สินค้าเฮาส์แบรนด์ให้กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก เท่ากับผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับสินค้าตนเอง

ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กราย อื่นๆ ย่อมต้องลำบากยิ่งขึ้น เพราะปกติ สินค้ากลุ่มรายย่อยดังกล่าว อาจไม่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว โอกาสจะขายสินค้าเมื่อมีสินค้าเฮาส์แบรนด์จำหน่าย

ย่อมจำหน่ายสินค้ายากขึ้น และมาร์จินต่ำลงในที่สุด

-กลุ่มผู้บริโภค เป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ เนื่องจากมีตัวเลือกเพื่อบริโภคเพิ่ม ขึ้นราคาประหยัดกว่าเดิม และมีให้เลือกหลายระดับราคา นอกจากนี้ช่องทางจำหน่าย

สินค้าเฮาส์แบรนด์ปัจจุบันขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องซื้อในดิสเคานต์สโตร์ที่ผลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์เท่านั้น แต่ซื้อหาตาม ร้านค้าปลีกที่ผู้ประกอบการดิสเคานต์สโตร์ตั้งรูปแบบใหม่

ซึ่งพยายามกระจายสู่ชุมชนมากขึ้นได้ด้วย เช่น เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ที่ตั้งในสถานีบริการน้ำมัน หรือลีดเดอรไพรซ์ ของบิ๊กซี

อย่างไรก็ตาม ระยะยาวผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์หรือไม่ ขึ้นกับพฤติกรรมทำตลาดผู้ค้าปลีกเป็นหลัก เพราะหากไม่มีคู่แข่ง หรือเหลือคู่แข่งน้อยราย อาจก่อให้เกิดอำนาจ ผูกขาด

ที่ผู้ประกอบการปรับราคาสินค้าสูงขึ้นได้

กลยุทธ์การผลิตสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ผู้ประกอบการค้าปลีกปัจจุบัน เป็นกลยุทธ์ที่มี ข้อได้เปรียบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนต่ำ หรือมีพื้นที่จำหน่าย ช่องทางจำหน่าย ที่เข้าถึงผู้บริโภคง่าย

โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตไทย โดยเฉพาะรายย่อย จึงนับเป็นคู่แข่งคน ละชั้น แต่เสมือนกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน คือ กลุ่มผู้มีรายได้ไม่สูงมากนัก และนิยมสินค้า

ราคาถูก

ปี 2545 จึงเป็นปีที่สมรภูมิการแข่งขันธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยจะดุเดือดมากกว่าปี ก่อนๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากผู้ประกอบการ ค้าปลีกแต่ละรายต่างพยายามงัดกลยุทธ์เด็ดๆ แข่งขันกัน

เพื่อรักษาฐานลูกค้า พร้อม กับขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us