Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 พฤษภาคม 2545
"โฆสิต" วิเคราะห์ช่องทางฟืนเศรษฐกิจ             
 


   
search resources

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
SMEs




"โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" นายใหญ่แบงก์กรุงเทพชี้ธุรกิจจะดีขึ้นได้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันควบคู่บริหารกิจการ

ภายใต้เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่พัฒนาการสู่ยุคการแข่งขันภายใต้กรอบโลกาภิวัตน์ผู้ประกอบการ SMEs ถูกยกระดับให้ความสำคัญเป็นด้านแรกที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายเพื่อเสริมสร้างให้เป็น "เสาเข็ม"

ที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาโครงการ "ทายาทธุรกิจ" ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จะมาสืบสานธุรกิจสามารถนำวิทยา

การจัดการสมัยใหม่ไปใช้เสริมกับประสบการณ์ในธุรกิจเดิมที่มีอยู่ได้โดยกล่าวในมุมมองของการพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย จุดอ่อน จุดแข็ง ความได้เปรียบ ความ เสียเปรียบ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ข่าวสารส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจจะเป็นข่าวธุรกิจเพราะธุรกิจเป็นเรื่องที่เคลื่อนไหวเร็ว เป็นเรื่องระยะสั้นและเข้าใจง่าย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการลงทุนและกำไร ทั้งนี้เพราะหัวใจของธุรกิจ ก็คือกำไร

ธุรกิจกับเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องเดียวกันแต่ถ้ามองให้กว้างขึ้นธุรกิจจะเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ เพราะการลงทุนเป็นแค่หนึ่งในปัจจัยเศรษฐกิจและเป็นปัจจัยที่ไม่มีความชัดเจน ถึงแม้ว่าจะลง

ทุนมากก็อาจจะไม่ได้กำไรมากหรือ ไม่ได้ทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองวิวัฒนาการถาวร

"ในปี 2536 ที่ผ่านมามีการลง ทุนประมาณ 40% ของ GDP แต่ผลที่ออกมาก็ทำให้เกิดภาวะวิกฤต เศรษฐกิจ ชี้ให้เห็นได้ว่าเศรษฐกิจกับธุรกิจไม่ไปในทางเดียวกัน แต่ก็

ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจด้วย"

ผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องของความคิดที่มีรากฐานอยู่บน 1. พื้นฐานปัจจัยต่างๆ จึงต้องผ่านการวิเคราะห์ ต้องดูว่าพื้นฐานดีจริงหรือเปล่า ซึ่งมีความสำคัญมากน้อย แค่ไหน

โดยนักเศรษฐศาสตร์ จะให้เน้นว่าไม่ใช่อยู่ที่ข้อมูลข่าวสาร สถิติ อย่างเดียว 2. ความเสี่ยงทาง เศรษฐกิจอยู่ที่ความไม่พอดี เช่น การเจริญเติบโตเกินขอบเขตของเศรษฐกิจไม่ดี เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่

การไม่พอดีหรือความไม่สมดุล เป็น ตัวการที่ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาเงินฝืด ปัญหาความไม่สมดุลในการกระจายรายได้ ทำให้ไม่มีพื้นฐานเพียงพอ 3. สังคม เช่น

เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะเกิดความไม่เป็นธรรมในเรื่องการกระจายรายได้และผู้มีรายได้ประจำ เศรษฐกิจจะคำนึงถึง พื้นฐาน ความพอดี และผลกรทบต่อสังคม

ดังนั้นถ้านักธุรกิจไม่เข้าใจเศรษฐกิจก็จะทำให้ธุรกิจอยู่ไม่ได้ เรียกว่ามี "ความปลอดภัยยั่งยืน"

นายโฆสิตกล่าวว่าในยุคปัจจุบันสาเหตุที่ประเทศไทยประ สบภาวะเศรษฐกิจเพราะมี นโยบาย เศรษฐกิจที่ไม่เหมาะสม นักธุรกิจจำเป็นต้องสนับสนุนนโยบายเศรษฐ กิจที่เหมาะสม

ต้องสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็ง ต้องมีความพอดี และดูแล ปัญหาของสังคม

ในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ปัจจุบันประเทศชาติ ต้องการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างได้

ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อสร้างพันธมิตรเพื่อประโยชน์ในการขยายธุรกิจ

"ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงปรับโครงสร้าง ปรับความคิด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วขึ้นอยู่กับความถนัด จึงจำเป็นต้องมีแผนธุรกิจ โดยดูความสามารถ และความถนัด ซึ่ง

SMEs ปัจจุบันจะเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดมากกว่าสิ่งที่ตลาดต้องการ"

นายโฆสิตยังได้กล่าวถึง แก่น ธุรกิจซึ่งก็คือความได้เปรียบทางธุรกิจที่มาจากความถนัด ประเทศไทยมีความถนัดด้านการเกษตร บริการ งานที่ต้องใช้แรงงานมาก ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องใช้แรง

งานที่มีความถนัด มีความสามารถ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

"ผู้ประกอบการที่ต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการทำธุรกิจต้องเข้าใจเศรษฐกิจส่วนรวมไว้บ้าง ซึ่งหมายถึงการเปิดตัวแข่งขันกับต่างชาติ

ขณะที่ความเข้มแข็งในประเทศเกิดได้ด้วยการส่งเสริมให้คนในชาติใช้ของที่ผลิตในประเทศ" โฆสิต กล่าวในตอนท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us