Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 พฤษภาคม 2545
เผยสำรวจ SME ทั่วประเทศปรับตัวช้า ละเลยสืบทอดกิจการ             
 


   
search resources

SMEs




ผลสำรวจความเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศพบส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาหลายประการที่รอวันแก้ไข ประเด็นหลักแข่งขันต่างชาติ ยอดขายตก ขาดแหล่งเงินทุน ขณะที่ภาพรวม SMEs

ไทยยังปรับตัวได้ช้าเหตุไม่ เห็นปัญหาที่แท้จริง ทั้งยังไม่เห็นความสำคัญสืบทอดกิจการ

จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ 12 กลุ่มธุรกิจทั่วประเทศจำนวน 1,080 ราย

โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และสถาบันนโยบายสังคม และเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ"สภาพปัจจุบัน

ปัญหาและการปรับตัวของ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหงังวิกฤตเศรษฐกิจ" พบว่า SMEs ของไทยยังประสบปัญหาอีกมาก

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ หัวหน้าคณะผู้วิจัยกล่าว ว่าผู้ประกอบการของไทยประสบปัญหาด้านการดำเนินกิจการอันเนื่องจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการตลาด

การผลิต การเงิน โดยผู้ประกอบการคิดว่าตนเองมีเครื่องมือการทางการตลาดดีอยู่แล้วทั้งที่ลูกค้าก็ยังหันไม่ซื้อสินค้าของผู้อื่นหรือของคู่แข่งขันอยู่ดี โดยไม่คิดว่าสินค้าของตัวเองมีปัญหาเรื่องคุณ

ภาพการผลิต แต่โทษว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอก ทำให้ไม่สามารถแข่ง ขันด้านราคาได้และในที่สุดก็ส่งผล ถึงการปรับตัวของ SMEs ไทยที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า

โดยส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการมีความเห็นว่าอุปสรรคสำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือการทำงานของภาครัฐ ไม่เอื้ออำนวยกับการดำเนินกิจการของตน ไม่ว่าจะเป็นโครงสรู้างภาษี ขั้นตอนการประสาน

งานของภาครัฐ อีกทั้งการสนับ สนุนอย่างแท้จริงจากหน่วยงาน รัฐที่บอกว่าจะให้ความช่วยเหลือแต่ไม่เป็นผลโดยตรงกับ SMEs

ในส่วนของการแนวทางการสืบทอดกิจการ ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของไทย เห็นความสำคัญเพื่อให้กิจการ SMEs คงอยู่และอยู่ในมือของทายาทธุรกิจโดยแท้

แต่จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการจำนวนน้อยที่เห็นความสำคัญและมีการเตรียมพรู้อม ถ่ายทอดกิจการอย่างเป็นระบบ โดย พบว่ามีเพียง 30% เท่านั้นที่ส่งเสริม

ทายาทของตนให้มีความรู้ความเข้า ใจในธุรกิจที่ทำอยู่ โดยในจำนวนนี้ เป็นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอัญมณีเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อีก 70% ซึ่งเป็นส่วนมากยังไม่เห็นความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาพรวมธุรกิจพบว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยยังประสบปัญหานานัปการ เช่นการแข่งขันทั้งจากต่างชาติที่ทวีจำ-นวนเพิ่มมากขึ้น

และการแข่งขันกันเองในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในต่างจังหวัด นอกจากต้องเผชิญกับคู่แข่งในภูมิ

ภาคเดียวกันแล้วพบว่าผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯเริ่มหันไปแข่งขันกับผู้ประกอบการที่ต่างจังหวัดด้วย ทั้งที่เป็นโครงการไม่ใหญ่โตกันและ

มีมูลค่าไม่มากเท่าไรซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน

โดยกิจการที่ได้รับผลกระทบ จากการแข่งขันจากต่างประเทศมาก ที่สุดคือธุรกิจอัญมณี ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก หัตถกรรม เครื่องหนัง ใน ส่วนของธุรกิจบริการธุรกิจที่มีปัญหายอดขายลดลงมากที่สุด

คืออัญมณี เซรามิก เครื่องปั้นดินเผา ส่วนกิจการที่มีปัญหาจากหนี้สูญมากที่สุดคือกิจการวัสดุก่อสรู้าง หัตถกรรมและเครื่องหนัง

อย่างไรก็ตาม จากการที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาในหลาย รูปแบบทำให้มีการปรับตัวโดยนำกลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาใช้ โดยเฉพาะการปรับตัวด้านการตลาด ด้านเทค โนโลยี

ด้านกระบวนการผลิตและการสรู้างพันธมิตรทางการผลิต การ ปรับตัวด้านการตลาดเป็นลักษณะการปรับการให้บริการเสริม การปรับ ราคา เพิ่มช่องทางการจำหน่ายรวม

ทั้งปรับส่วนผสมทางการตลาด

"โดยพบว่า 70% ของผู้ประ- กอบการมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็น ส่วนหนึ่งของการปรับตัว ขณะที่ 60% มีเว็บไซต์และใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการทำธุรกิจ"

ในส่วนท้ายของข้อสรุป ผู้วิจัยนำเสนอว่าที่ผ่านมาแต่ละภาค ธุรกิจได้รับผลกระทบของปัญหาที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงต้องการการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ในส่วนของภาครัฐ

จึงควรมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรมด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us