Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548
ภาษาอังกฤษ             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





สังคมไทยลงทุนในเรื่องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากเหลือเกินในขณะนี้

"การเรียนรู้" ในความหมายนี้มีสองระดับ

หนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมากมายในทุกระดับของการศึกษาในระบบมานานแล้ว การศึกษานอกระบบ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญมากที่คนไทยต้องจ่ายเพิ่มเติมเสมอ ผมเคยเขียนไว้ครั้งหนึ่งว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากที่สินค้าชนิดนี้ดูเหมือนเป็นเพียงชนิดเดียวที่ไม่รับประกันคุณภาพ เช่น มาตรฐานสินค้าทั่วไป ยิ่งมีการเรียนที่ล้มเหลวมากเท่าใด ยิ่งมีการเรียนมากขึ้น และจ่ายเพิ่มมากขึ้นๆ อยู่ตลอดเวลา

การลงทุนและความเชื่อในพลังของการใช้ภาษาอังกฤษ ในสังคมยกระดับสูงขึ้นอีก ระบบโรงเรียนของไทยปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยความพยายามมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มากขึ้น ในหลักสูตรที่เรียกกันว่า โรงเรียนสองภาษา ที่สำคัญ ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้น่าสนใจที่ควรอรรถาธิบายมากทีเดียว

ทั้งนี้ยังไม่รวมการพัฒนาอย่างมหัศจรรย์ที่สุดในโลก ที่ว่าด้วยโรงเรียนนานาชาติ เมืองไทยเป็นแห่งเดียวที่มีพัฒนาการโรงเรียนนานาชาติมากที่สุดในรอบ 10 ปีมานี้ (ผมได้เขียนเรื่องนี้มาพอสมควรแล้ว)

ความจริงเป็นแนวโน้มระดับโลก ปัจจุบันผู้ใช้ภาษาอังกฤษที่มิใช่ native speaker มีมากกว่า 3 ต่อ 1 แล้ว globalization กระตุ้นให้ผู้คนติดต่อกันมากขึ้น Internet, IT และ electronic consumer product ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากมายกับสังคมโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มีส่วนให้ภาษาอังกฤษสำคัญมากขึ้น

ภาษาอังกฤษในปัจจุบันกลายเป็นภาษาของโลก ที่คนที่กำหนดความเป็นไปของภาษาอังกฤษกลับเป็นคนที่เป็น Non-Native speaker แล้ว (อ่าน NewsWeek, March 7, 2005 เรื่องจากปก "Who Owns English? Non-Native Speakers Are Transforming the Global Language"

สอง เรียนรู้เข้าใจคุณค่าภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง จนถึงวันนี้สังคมไทยยังประเมินคุณค่าภาษาอังกฤษค่อนข้างเกินไปมาก แท้จริงคุณค่าภาษาอังกฤษมีลักษณะสัมพัทธ์ คุณค่ามีมากขึ้นเมื่อคนไทยจำนวนมากใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่สังคมไทยจากนี้ไปคนใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้มีน้อยลงอย่างชัดเจน คุณค่าของมันจึงลดลงด้วย ความพยายามของระบบการศึกษาที่เปิดสอนภาษาอังกฤษอย่างซ้ำซ้อนมาลงทุนมากมาย โดยหวังเพื่อให้เข้าใจภาษาอังกฤษดีขึ้นนั้น เป็นเป้าหมายที่แคบและสายตาสั้นเอามากๆ ทีเดียว

การศึกษาต้องมองไกล ต้องมองผลสัมฤทธิ์ที่มีนามธรรม ที่สูงส่งอยู่ด้วยเสมอ ไม่ใช่รูปธรรมง่ายๆ ที่มุ่งขายในสังคมไทยปัจจุบัน ปัญหาง่ายๆ ที่ประสบในปัจจุบัน ก็คือผู้เรียนหลักสูตรสองภาษาที่เดินทางสายกลางที่กลับมาอยู่กลางทางสองแพร่ง วิชาการก็ไม่เก่ง ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาเดิมของไทยได้อย่างดี ในเมื่อความจริงคุณก็เดินบนเส้นทางนั้นอยู่ จะไปสู่มาตรฐานสากลตามแบบฉบับโรงเรียนในหลักสูตรนานาชาติก็ไปไม่ได้ ทางสองแพร่งกำลังอันตรายต่ออนาคตอย่างมาก

แต่สิ่งที่เกิดอย่างคึกคักในปัจจุบัน โรงเรียนเก็บเงินผู้ปกครองได้มากขึ้น โรงเรียนได้เข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธุรกิจและการตลาดมากขึ้น

บทเรียนนี้ดูเหมือนจะเคยเกิดขึ้นมาแล้วในระดับมหาวิทยาลัยของไทย มหาวิทยาลัยเข้าใจธุรกิจมากขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์กลับตกต่ำลง นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่มหาวิทยาลัยของไทยไม่ติดอันดับ 200 หรือ 500 อันดับมหาวิทยาลัยของโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us