Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 พฤษภาคม 2545
เจ้าหนี้โหวตแก้ไขแผน TPI ฉลุย ประชัยเดินเกมยื่นค้านต่อศาลฯ             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)




ที่ประชุมเจ้าหนี้เทคะแนนเสียงสนับสนุนคำขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอทั้งสองฉบับท่วมท้น 96-97%ของมูลหนี้ เปิดทางอีพีแอลเลื่อนขายทรัพย์สินรองออกไปจนถึง 31 มี.ค. 46

ด้านจพท.เมินคำคัดค้านของผู้บริหารลูกหนี้ อ้างไม่อยู่ในวาระโหวตคะแนนเสียง แต่ให้ใช้ประกอบการพิจารณาของเจ้าหนี้เท่านั้น "ประชัย" โวยจพท.สมรู้ร่วมคิดเจ้าหนี้ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ

ลั่นยื่นคำคัดค้านมติที่ประชุม เจ้าหนี้ต่อศาลฯแน่นอน

วานนี้ (7 พ.ค.) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ เป็นประธานในที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI และเจ้าหนี้ของบริษัท ทีพีไอออยล์

จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทใน เครือทีพีไอ เพื่อโหวตลงคะแนนแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ 2 ฉบับ ตามที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฯเป็นผู้เสนอ

โดยคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับแรกเป็นคำขอแก้ไขวิธีการและเกณฑ์การลงมติยอมรับการแก้ไขแผน ส่วนคำร้องเพื่อขอแก้ไข แผนฉบับที่สองคือ

การขอเลื่อนกำหนดระยะเวลาการจำหน่ายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546

โดยเจ้าหนี้ทีพีไอลงมติคะแนนเสียงสนับสนุนการแก้ไขตามคำร้องฉบับแรก 96.98% จากมูลหนี้ของเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมประชุมและ มีสิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 87,900 ล้านบาท

โดยมีเจ้าหนี้ไม่รับให้แก้ไขแผนฯ 3.02% และงดออกเสียงคิดเป็นมูลหนี้รวม 2,551.61 ล้านบาท ซึ่งการงดออกเสียงนั้นจะไม่ถูกนับอยู่ในฐานการคำนวณ

นอกจากนี้ เจ้าหนี้ได้โหวตเสียงสนับสนุนเพื่อแก้ไขแผนฉบับที่สองด้วยคะแนน 97.22% ของมูลหนี้รวม 88,056 ล้านบาท และไม่สนับสนุนให้แก้ไขแผนฯ 2.78% งดออกเสียงคิดเป็นมูลหนี้ 2,478.13

ล้านบาท ขณะเดียวกัน เจ้าหนี้ของบริษัท น้ำมันทีพีไอ จำกัด ร้อยละ 85.75 ของมูลหนี้ ได้ลงมติเห็นด้วยกับการแก้ไขแผนทั้งสองฉบับดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 85.75% ของมูลหนี้

สำหรับเจ้าหนี้ของบริษัทอื่นๆ ในเครือของทีพีไอ ได้แก่ บริษัท ทีพีไออะโรเมติกส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า ทีพีไอ จำกัด บริษัท ไทยเอบีเอส จำกัด บริษัท ทีพีไอ โพลีออล จำกัด และบริษัท

อุตสาหกรรมโพลียูรีเทนไทย จำกัด (มหาชน) นั้นจะลงคะแนนเสียงในเรื่องทั้งสองในวันที่ 8 พฤษภาคม 2545

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อไปว่า ตนจะยื่นคัดค้านการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไออย่างแน่นอน

เนื่องจากการประชุมเจ้าหนี้ครั้งนี้ ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ จึงถือว่าทำผิด ขั้นตอนของกฎหมาย

"เราจะยื่นคัดค้านการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลฯอย่างแน่นอน เพราะการประชุมเจ้าหนี้ครั้งนี้ทำผิดขั้นตอนของกฎหมาย โดยไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการฯ

ขณะเดียวกันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหนี้"

นายชวลิต อัตถศาสตร์ ทนายความ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด ซึ่งเป็นทนายความให้กับทีพีไอ กล่าวว่า

ทีพีไอในฐานะลูกหนี้มีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางก่อนวันที่ศาลจะนัดฟังคำชี้ขาดการแก้ไขแผนฯล่วงหน้า 10 วัน

ซึ่งรายละเอียดของการยื่นคัดค้านนั้นใกล้เคียงกับคำคัดค้านที่ลูกหนี้ได้ยื่นเสนอต่อจพท.เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่จพท.อ้างว่าเป็นคำคัดค้าน ไม่ได้ยื่นขอแก้ไขแผนฯ

เนื่องจากจะต้องให้อีพีแอลเซ็นยินยอมเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งนี้ จพท.น่าจะใช้ดุลยพินิจปฏิบัติตามกฎหมายและตามแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอที่ระบุไว้ แต่จพท.กล่าวว่าการยื่นคำร้องคัดค้านของลูกหนี้ ทีพีไอครั้งนี้

ไม่อยู่ในวาระที่จะโหวตลงคะแนน แต่ให้เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ตัดสินใจเอง โดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟูฯ

ซึ่งจพท.ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐควรที่ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในแผนฟื้นฟูกิจการ มิฉะนั้นเจ้าหนี้เสียงข้างน้อยจะเสียเปรียบ

"เราไม่ได้ตีรวน แต่อยากให้เป็นไปตามกฎหมาย เห็นว่าการประชุมเจ้าหนี้ครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบด้วยแผนฯ เช่น เดิมบริษัทฯหนึ่งกำหนดการแก้ไขแผนฟื้นฟู จะต้องได้รับมติพิเศษ

โดยต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจากเจ้าหนี้ 90% โดยไม่มีเจ้าหนี้คัดค้าน แต่มาวันนี้อยากแก้ไขแผนฯ ก็เปลี่ยนหลักเกณฑ์ เป็นเสียงสนับสนุน 75% และเจ้าหนี้คัดค้านได้ ซึ่งทำอย่างนี้

เจ้าหนี้เสียงข้างน้อยที่เคยโหวตรับแผนฯไปแล้วก็เสียเปรียบ"

ศาลนัดชี้ขาดแก้ไขแผนฯ 25 มิ.ย.นี้

นายปีเตอร์ กอทธาร์ด ผู้บริหารอาวุโส บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด กล่าวว่า ตามมาตรา 90/63 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ได้ให้อำนาจแก่ผู้บริหารแผนในการเสนอให้มีการ

แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นฟูกิจการบรรลุผลสำเร็จลุล่วงตาม เป้าหมาย โดยอีพีแอลเชื่อว่า

ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุนจากเจ้าหนี้ที่ได้รับจะช่วยให้การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูดำเนินต่อไปอย่าง ราบรื่น

"การแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เพื่อให้การแก้ไขแผนที่มีขึ้นในปัจจุบันและอนาคตเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น

อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมาย เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ที่ระบุให้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง มีสิทธิคัดค้านการลงมติของเจ้าหนี้ส่วนใหญ่อีกด้วย" นายปีเตอร์ กล่าวสรุป

ซึ่งคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับแรก เป็น การขอความเห็นชอบให้มีการยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดว่า ในการประชุมของเจ้าหนี้ตามแผนการ ปรับโครงสร้างทางการเงินเพื่อลงมติให้มีการปรับแผนนั้น

หากมีการคัดค้านจากเจ้าหนี้รายใด รายหนึ่ง เสียงที่ลงคะแนนจะต้องตกไป และให้ยึดหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลายแทน

โดยยังคงให้คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ มีสิทธิเรียกประชุมเจ้าหนี้ประเมินเสียงสนับสนุนในการแก้ไขแผน ที่มีสาระสำคัญก่อนที่จะมีการประชุมเจ้าหนี้ตามกฎหมายล้มละลายต่อไป

อย่างไรก็ตามผลของการประชุมเจ้าหนี้เพื่อประเมินเสียงนี้จะไม่ผูกพันเจ้าหนี้ เมื่อจะลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย

คำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับที่สอง คือ การขอเลื่อนกำหนดระยะเวลาการจำหน่ายทรัพย์สินหลักมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ จากวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546

หรือวันอื่นที่อาจมีการขยายออกไปตามที่เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินเห็นชอบ

ซึ่งการเลื่อนกำหนดเวลาไปจนถึงวันดังกล่าวได้ดำเนินถึงเวลาที่ใช้ไปในการแก้ไขแผน และเวลาที่ผู้บริหารแผนประเมินว่าจะต้องใช้ในการสรุปการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักทั้งหมด

นอกจากนี้ มติดังกล่าวยังระบุไว้อีกว่า หากต้องการขยายกำหนดเวลาใหม่สำหรับการขายทรัพย์สินที่มิใช่สินทรัพย์หลักนี้ออกไปอีก

จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ของทีพีไอและบริษัทในเครืออีก 6 แห่งในสัดส่วนหนี้มากกว่า 50%

ทั้งนี้ ศาลล้มละลายกลางได้กำหนดให้มีการพิจารณาว่าจะมีคำสั่งเห็นชอบการแก้ไข แผนตามที่ได้มีการลงมติไปหรือไม่ในวันที่ 25 มิถุนายน 2545 ศกนี้

นายเจษฎ์ เจษฎ์ปิยะวงศ์ ที่ปรึกษาผู้บริหาร บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด กล่าวว่า เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สจะสามารถขายสินทรัพย์รองที่มีอยู่ได้ตามกำหนด

โดยมูลค่าสินทรัพย์รองที่จะขายมีจำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้ขายได้แล้ว 30ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการขายหนี้ของบริษัท ทีพีไอโพลีนในราคาส่วนลดและขายหุ้นบริษัท ไทยคาโปเล็คตัม

ที่บริษัทถืออยู่ ส่วนสินทรัพย์ที่เหลืออีก 170 ล้านเหรียญสหรัฐจะมาจากการขายโรงไฟฟ้า คลังน้ำมัน และอสังหาริมทรัพย์

ซึ่งการขายธุรกิจโรงไฟฟ้ามูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะลงนามสัญญากับบมจ. บ้านปูได้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้ ในส่วนของท่าเรือคงจะเลื่อนการขายออกไปก่อน

เนื่องจากยังไม่มีความพร้อม หากเร่งดำเนินการขายจะทำให้ได้ราคาต่ำ แต่เชื่อว่าสินทรัพย์รอง ที่มีอยู่ถ้าไม่นับรวมท่าเรือก็มีมูลค่าถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us