ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหยิบยกความไม่แน่นอนของทิศทางดอกเบี้ยเฟดสะท้อนคำถามว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นไม่จริง
เชื่อมโยงนโยบายดอกเบี้ยต่ำในไทยควรดำเนินต่อเพื่อประคองการใช้จ่ายภายในประเทศต่อ
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้วิเคราะห์เรื่อง"ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกา...
เอื้อต่อนโยบายดอกเบี้ยต่ำของธปท."ว่าในวันที่ 7 พฤษภาคม ธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)
จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Market Committee : FOMC)
เพื่อกำหนด ทิศทางนโยบายการเงินและระดับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งผลของการประชุม
FOMC
ในครั้งก่อนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา Fed มีมติอัตราดอกเบี้ย fed
funds ไว้ที่ระดับเดิมคือ 1.75% ขณะในช่วงเดือนมีนาคมนั้น ตลาดมีความ
คาดหวังถึงการฟี้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ
รวมถึงนักวิเคราะห์บางส่วนยังเชื่อว่า fed อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
fed funds วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การคาดหมายของตลาดต่อการฟื้นตัวของสหรัฐฯ
ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากตลาดมองว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้นได้
แต่อาจจะไม่แข็งแกร่งหรือร้อนแรงอย่างที่ได้เคยคาดกันไว้แต่เดิม ดังนั้นสำหรับการประชุม
FOMC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ตลาดจึงคาดว่า fed น่าจะยังให้คงอัตราดอกเบี้ย
fed funds
ไว้ที่ระดับเดิมต่อไป ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประมาณการฟื้นต้วทางเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
fed funds ของสหรัฐฯ พร้อมทั้งผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทยไว้ดังต่อไปนี้
คำถามเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้น?
ในช่วงที่ผ่านมา ความคิดเห็นหรือการคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)
เริ่มที่จะเปลี่ยน แปลงไป โดยจากเดิมที่คาดกันว่า Fed
อาจจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย fed funds ตั้งแต่ไตรมาสที่สอง(หลังจากที่ให้คงอัตราดอกเบี้ย
fed funds ไว้ที่ระดับ 1.75% มาตั้งแต่ปลายปี 2544)
เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงไตรมาสแรกทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสหรัฐฯอาจจะฟื้นตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งในปีนี้
สอดคล้องกับการประกาศตัวเลขผลิต-ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ไตรมาสแรกที่ขยายตัวถึง
5.8% จากการขยายตัวของ การลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม
การคาดการณ์เปลี่ยนไปเป็นว่า Fed อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ย fed funds ไว้ที่ระดับเดิมในการประชุม
FOMC ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ และต่อเนื่องไปถึงการประชุมวันที่
25-26 มิถุนายนด้วย
เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯแสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างจำกัด
ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวลดลงของตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ( Comsumer
Confidence),
ดัชนีกิจกรรมการผลิต( Institute for Supply Management: ISM ) ในเดือนเมษายน
และการร่วงลงของดัชนีหุ้นดาวโจนส์และแนสแดค ในช่วงปลายเดือนเมษายน รวมไปถึงการปรับตัว
ขึ้นมากกว่าที่คาดของอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน โดยขึ้นไปถึงระดับ 6%
จาก 5.7% ในเดือนมีนาคมก่อนหน้า
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed
ผ่านการพิจารณาตัวแปรสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ ดังนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีอัตราเติบโตที่ชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี
2545หลังจากที่ขยายตัวถึง 5.8% ในไตรมาสแรก
เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทสหรัฐที่ยังอ่อนแออยู่โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตังประมาณ
3.0% ในไตรมาส ที่สอง และ 2.5% ในไตรมาสที่สามและสี่
ซึ่งจะทำให้มีการขยายตัวทั้งปีที่ประมาณ 2.0%-2.5% และอาจเพิ่มขึ้นเป็น3.0%-3.5%
ในปี 2546 ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า 3.5% เชื่อว่าจะไม่สามารถทำให้อัตราการว่างงานปรับตัวลดลงได้
อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ : คาดว่ายังคงมีค่าเฉลี่ยในปี 2545 ที่ประมาณ
5.8%-5.9% และคงทรงตัวที่ระดับ 5.8% ในปี2546
โดยเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯคงจะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ระดับอัตราการว่างงานยังแสดง
ถึงภาวะทดทอยทางเศรษฐกิจอยู่
อัตราเงินเฟ้อ : คาดว่าคงจะมีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.2%-1.5% ในปี 2545นี้ ก่อนที่จะได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ
2.0% ในปี 2546
แต่ก็ยังถือว่าเป็นระดับอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับแรงกดดันมากจนกระทั่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ
ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (เชื่อกันว่าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 3.0%
ขึ้นไป เป็นระดับที่จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดังที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี2543)
"การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทก็ถือเป็นปัจจัยลบต่อความสามารถทางการแข่งขันและการ
ส่งออกของไทย ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกไตรมาสแรกของไทยยังคงมีการขยายตัวที่ติดลบอยู่ประมาณ
6.3%
ซึ่งทำให้ในไตรมาสที่เหลือของ ปีนี้ ตัวเลขการส่งออกต้องมีการขยายตัวค่อนข้าง
มาก จึงจะได้ตามเป้าหมาย 5.0% ของทางการไทย"
การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ฟื้นตัวขึ้นอย่างร้อนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม
อาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการส่งออกของไทย
และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศ
โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน ดังเช่นที่ผ่านมาไตรมาสแรก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องของทางการไทย
ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่
ในการที่จะช่วยประคับประคองการใช้จ่ายภายในประเทศให้เป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจไทย
ในยามที่ภาคการส่งออกยังคงมีความไม่แน่นอน รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐบาล
ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องปัญหาหนี้สาธารณะ
สรุป ศูนย์วิจัยกสิรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) น่าจะยังคงให้อัตราดอกเบี้ย
fed funds ไว้ที่ 1.75% ต่อไปในการประชุม FOMC ที่มีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้
เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงมีคำถามอยู่ โดยคาดว่า
Fed อาจตรึงอัตราดอกเบี้ย fed funds ไว้ที่ 1.75% ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
หรือหากมีการพิจารณาปรับขึ้นก็คงจะเป็นการปรับขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี
โดยอัตรา ดอกเบี้ย fed funds คงจะไม่ขึ้นไม่เกิน 2.0% ณ ปลายปี 2545 ดังนั้น
จึงคาดว่าอัตราดอกเบี้ย fed funds "ณ
ปลายปี 2545 คงจะอยู่ที่ประมาณ 1.75%-2.0% และประมาณ 2.75%-3.5% ณ ปลาย
ปี 2546
สำหรับผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า แนวโน้มดังกล่าวของอัตราดอกเบี้ย
fed funds น่าจะเป็นสิ่งที่
เอื้อต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ธปท.คงจะไม่ต้องเผชิญกับแรงกดดันในเรื่องความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย
และกระแสเงินทุนไหลออกมากนัก
ขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องของไทย น่าจะช่วยประคับประคองการใช้จ่ายภายในประเทศ
ที่ถือเป็นปัจจัยสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ในยามที่ภาคการส่งออกยังคงมีความไม่แน่นอน