Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
"จากไนท์สปอตสู่ออนป้า"             
 

   
related stories

โลกดิจิตอลของ อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ

   
search resources

บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บมจ.
ดิจิตอล ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ
Entertainment and Leisure




จากอดีตดีเจ ที่คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจวิทยุมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวสร้างไนท์สปอตขึ้นมา ด้วยสไตล์การจัดรายการเพลงสากล ที่ไม่เหมือนใคร

หลังจากสร้างไนท์สปอตจนเป็นที่รู้จัก มีดีเจในสังกัด ที่สร้างชื่อมากมาย ปี 2529 อิทธิวัฒน์แยกตัวออกมาสร้างอาณาจักรของตัวเอง ในนามมีเดียพลัส ที่สร้างขึ้นด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่ เน้นความเป็น "สถานีเพลง" กิจกรรมการตลาดมาใช้กับธุรกิจวิทยุ สร้างเครือข่ายด้วยดาวเทียม จนได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในบิ๊กโฟร์ของยุคนั้น ประกอบไปด้วย มีเดียพลัส เนชั่น แปซิฟิก และเอไทม์

แต่ในช่วงหลังเมื่อการแข่งขันมากขึ้น อิทธิวัฒน์เองก็มีโอกาสเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพื่อหาทางสร้างความเป็นต่อในการแข่งขัน ยุทธวิธีของอิทธิวัฒน์ ก็คือ การสร้างพันธมิตรธุรกิจ ที่สร้างความแข็งแกร่งในด้านเงินทุน และเทคโนโลยี

จุดพลิกผัน ที่สำคัญของอิทธิวัฒน์ ก็คือ การร่วมมือกับคีรี กาญจนพาสน์ แห่งธนายง และ นิกร พรสาธิต เจ้าของวัฏจักร กรุ๊ป ทำให้อิทธิวัฒน์มองเห็นโลกอีกด้าน ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากประสบการณ์ใหม่ๆ ในการก้าวล่วงเข้าสู่ธุรกิจเคเบิลทีวี การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อสาร เพื่อสร้างความเป็นต่อในการแข่งขัน และความรู้ในเรื่องของกลไกการเงิน

การสวอปหุ้นระหว่างพันธมิตร เป็นประสบการณ์ใหม่ ที่ทำให้อิทธิวัฒน์มองเห็นโลกอีกด้าน ที่เป็นเรื่องราวของกลไกด้านการเงิน การแลกหุ้น เครื่องมือใหม่ๆ ในการระดมทุน ที่ลึกซึ้งกว่าเดิม และมันยังถูกนำมาใช้ประโยชน์กับการทำธุรกิจในยุคต่อๆ มา รวมถึงดีลการซื้อหุ้นของออนป้าก็มาจากประสบการณ์ในครั้งนั้น ถึงแม้ว่าจะต่างกรรมต่างวาระก็ตาม

อิทธิวัฒน์ ได้เงินเข้ากระเป๋าไป 300 กว่าล้านบาท ที่ได้จากการสวอปหุ้นไปมาระหว่างพันธมิตรทั้งสาม และการขายหุ้นมีเดียพลัสให้กับกลุ่มวัฏจักร รวมถึงบริษัท ไทยสกายคอม เจ้าของสัมปทานวีแสท ที่อิทธิวัฒน์ซื้อมาจากธนายง

อิทธิวัฒน์ หอบหิ้วไทยสกายคอมเข้าร่วมกับ กลุ่มสยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น ที่กำลังต้องการขยายอาณาจักรธุรกิจไปในทุกๆ ด้าน ตั้งโทรคมนาคม มีเดีย คอมพิวเตอร์ แต่ยังไม่ทัน ที่ธุรกิจจะเดินหน้า สยามทีวีเกิดปัญหาขึ้นภายในขยายธุรกิจเกินขนาด อิทธิวัฒน์ต้องแยกตัวออกมาพร้อมกับคลื่นวิทยุ 94.5 และหุ้นในไอทีวี

อิทธิวัฒน์หันมาเริ่มธุรกิจวิทยุ และผลิตรายการป้อนให้ไอบีซี ในชื่อของบีเอ็นที คราวนี้ อิทธิวัฒน์ได้ยูบีซีเป็นพันธมิตร เขาสร้างความใกล้ชิดกับกลุ่มนี้ ผ่านทางสุภกิต เจียรวนนท์ ลูกชายของธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการบริษัทยูบีซี การผูกสัมพันธ์กับเจ้าของเครือข่ายสื่อสารอย่างทีเอบริษัทแม่ของยูบีซี ที่มีทั้งเครือข่ายสื่อสาร ไฟเบอร์ออพติก รวมถึงเครือข่ายร้านค้าปลีก ที่จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อธุรกิจวิทยุ และบรอดคาสติ้ง

รายการชาแนลวี ไทยแลนด์ ที่บีเอ็นทีผลิตป้อนให้กับยูบีซี แทน ที่จะเก็บอยู่ในรูปของเบต้าเทปธรรมดาๆ แต่ให้เก็บอยู่ในรูปของฮาร์ดดิสก์ นั่นหมายความว่า รายการชาแนลวีได้ถูกแปลงจาก อนาล็อกให้เป็นระบบดิจิตอล อิทธิวัฒน์ ลงทุนวางเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยเช่าจากทีเอ เพื่อส่งสัญญาณรายการชาแนลวี ผ่านสายไฟเบอร์ออพติก เชื่อมโยงจากสำนักงานของบีเอ็นทีไปยังสำนักงานของยูทีวี บนถนนรัชดาภิเษก ที่จะสามารถออกอากาศ และ รู้ข้อมูลการออกอากาศได้ทันที

เป้าหมายของอิทธิวัฒน์ ไม่ใช่แค่การเป็นผู้ผลิตรายการเพลงชาแนลวี และแฟชั่นทีวี ให้กับยูบีซี แต่ยังรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในบริการในโลกดิจิตอลของ ยูบีซี ครั้งหนึ่งอิทธิวัฒน์เคยคิด ที่จะผลิตทีมข่าวร่วมกับยูบีซี และเคยแถลงข่าวใหญ่โตถึงการจะร่วมกับ yes televition ของฝรั่งเศส ในการเป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวี แบบอินเตอร์แอคทีฟ แต่โครงการเหล่านี้ก็ต้องเงียบหายไป ซึ่งอาจเป็นเพราะยูบีซีต้องการทำเอง

ความรู้ในเรื่องการเงิน ที่ได้มาสมัยมีเดียพลัส เขาก็ใช้มันได้อย่างเห็นผล มีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางแห่ง ที่ยอมอัดฉีดเงิน เพื่อซื้ออนาคตร่วมกับ อิทธิวัฒน์ในบีเอ็นทีหลายร้อยล้านบาท

ปี 2540-2541 เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ อิทธิวัฒน์ ได้คลื่นวิทยุอีก 3 คลื่นจากชเยนทร์ คำนวณ มารับช่วงบริหาร ทำให้ดูเหมือนว่า เขาจะกลับมาสร้างอาณาจักรวิทยุอีกครั้ง แต่ต่อจากนั้น ไม่นาน ก็ถูกดึงกลับคืนไป เหลือไว้เพียงแค่คลื่น 94.5 คู่บุญ และรายการชาแนลวี และแฟชั่นทีวี ที่ผลิตป้อนยูบีซีเท่านั้น

แต่แล้วอิทธิวัฒน์ก็มาปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งกับการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของออนป้า แลกกับหุ้นของไอทีวี และกลายเป็นแกนนำในการบริหารงาน เพื่อปลุกชีพออนป้าอย่างเต็มตัว โดยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการปรับโครงสร้างหนี้ และระดมทุนดึงผู้ถือหุ้นต่างชาติมาร่วมลงขัน

สิ่งที่อิทธิวัฒน์ต้องการก็คือ การใช้ฐานของการเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายเทป วิดีโอ และซีดี และลิขสิทธิ์เพลง และหนังของออนป้า มาใช้ประโยชน์ร่วมกับฐานธุรกิจมีเดีย และบรอดคาสติ้งของบีเอ็นที โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือในการประยุกต์ สิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ และช่องทางจำหน่ายแบบใหม่ ที่ไร้พรมแดน

ฝันของอิทธิวัฒน์จะไปถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ เวลาเท่านั้น จะเป็นเครื่องพิสูจน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us