Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
เจ้าหนี้ทำ Hair cut 45% ไทยออยล์ต้องจ่ายไปด้วยราคาสูง             
 


   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
จุลจิตต์ บุณยเกตุ




ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงกิจการของไทยออยล์ดำเนินมาเป็นลำดับ และสถานการณ์ของบริษัทก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จน คาดว่าจะก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วย การมุ่งหน้าควบรวมกับกิจการด้านการตลาดของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)ได้ แต่ความคืบหน้าดัง กล่าวก็ต้องมาสะดุดลงชั่วคราวเมื่อบริษัทเกิดอุบัติเหตุถังน้ำมันระเบิดในวันที่ 2 ธันวาคม 2542

เหตุการณ์ถังน้ำมันระเบิดถือเป็นอุบัติเหตุครั้งรุนแรงที่สุดของบริษัท ที่ ได้พยายามสะสมชั่วโมงความปลอดภัยในการทำงานมาได้หลายแสนชั่วโมง นับแต่ก่อตั้งบริษัท และบริษัทก็เพิ่งเข้ารับใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมไปหมาดๆ

อย่างไรก็ดี อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ได้ทำให้แผนงานต่างๆ ต้องชะลอออกไป โดยเฉพาะในเรื่องการปรับโครงสร้าง หนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมาได้ มีการโหวตรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วโดยเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ แต่มีเจ้าหนี้จำนวน 2-3 รายที่ครองหนี้ด้อยสิทธิกลุ่มหนึ่งประมาณ 6% โหวตไม่รับแผน เพราะหนี้กลุ่มนี้ถูก hair cut มาก

ดังนั้น ขั้นตอนของไทยออยล์ก็คือ นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลาย ซึ่งได้มีการยื่นเอกสารเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการซื้อหนี้คืนจากเจ้าหนี้ ให้ศาลพิจารณาไปแล้วเมื่อ 16 ธ.ค. 2542 และศาลได้ประทับรับฟ้องไว้แล้ว ศาลจะไต่สวนคดี และไทยออยล์ ต้องยื่นแผนฟื้นฟูกิจการให้ศาลพิจารณาเป็นลำดับถัดไป กระบวนการใน ศาลใช้เวลาประมาณ 3 เดือน

พร้อมกันนี้ในวันที่ 15 ธ.ค. 2542 บริษัทยังได้ดำเนิน การซื้อลดหนี้ จากเจ้าหนี้ ที่สนใจจะขายหนี้คืนให้บริษัท (debt buy back) ไม่ต้องการรอการชำระหนี้ ที่ยาวนานถึง 14 ปี ซึ่งปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ขายหนี้คืนให้ไทยออยล์มากกว่า ที่คาดหมายไว้ถึง 9.5%

ทั้งนี้ฝ่ายเจ้าหนี้ได้ขายคืนหนี้จำนวน 312 ล้านเหรียญให้แก่ไทยออยล์ ในอัตราซื้อคืนเหรียญละ 55 เซ็นต์ หรือคิดเป็นมูลค่า 171.6 ล้าน เหรียญ ซึ่งเท่ากับว่าไทยออยล์ได้ส่วนลดถึง 45% (หรือมี hair cut 45%) แต่เดิมไทยออยล์คาดหมายว่าเจ้าหนี้จะขายคืนหนี้เพียง 285 ล้านเหรียญ เท่านั้ น แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาจริงกลับได้มากกว่า ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเจ้าหนี้พร้อม ที่จะดำเนินตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เจรจากัน ไว้ หรือบางข่าวก็กล่าวว่าเจ้าหนี้กลัวหนี้สูญอันเนื่องมาจากความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุ ที่ได้เกิดขึ้น

บริษัทคาดหมายว่าจะมีการลงนามในข้อตกลงสุดท้ายของแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ได้ในราวปลายเดือนก.พ.หรือต้นเดือนมี.ค. 2543 ซึ่งเมื่อ ถึงเวลานั้น มูลหนี้ของไทยออยล์จะลดลงเหลือประมาณ 1,000 กว่าล้าน เหรียญ และไทยออยล์ จะทยอยชำระคืนในเวลา 14 ปีพร้อมดอกเบี้ยใน อัตรา Libor flat สำหรับหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ (อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในตลาดลอนดอน คิด ณ วันที่ ครบดีล) และอัตราดอกเบี้ย MLR สำหรับ หนี้เงินบาท ส่วนหนี้เงินเยนนั้น ใช้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดโตเกียว (Tibor) โดยในช่วง 3 ปีแรกเป็นระยะปลอดดอกเบี้ย

การเข้าสู่กระบวนการศาล เพื่อขอฟื้นฟูกิจการนั้น ถือเป็นทางออกสำหรับกลุ่มเจ้าหนี้ส่วนน้อย ที่ไม่พอใจเงื่อนไขการชำระหนี้ของไทยออยล์ ซึ่ง เดิมจะมีการขอลดหนี้แค่ 20% และเจ้าหนี้ส่วนน้อยก็ไม่พอใจอยู่แล้ว แต่ครั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ถังน้ำมัน บริษัทกลับได้ส่วนลดมากขึ้นเป็น 45% ในการซื้อหนี้คืนทันที แถมเจ้าหนี้ยังนำหนี้มาขายคืนในจำนวนมากกว่า ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ถือว่าเป็นการปรับตัวได้อย่างดีของไทยออยล์

หรืออาจจะกล่าวในอีกทางหนึ่งว่า หากไม่มีอุบัติเหตุครั้งนี้ แผนการขอลดหนี้หรือการซื้อหนี้คืนอาจไม่ได้ผล

แต่ในอีกทางหนึ่ง การได้ส่วนลด 45% ครั้งนี้ก็เป็น "ราคา" ที่ไทยออยล์มีต้นทุนอยู่ไม่น ้อย ต้องถือว่าเป็นราคา ที่สูงอยู่พอสมควรเมื่อแลกกับชื่อเสียงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ที่บริษัทเคยมีสูงสุดในระดับโลก

จุลจิตต์ บุณยเกตุ กรรมการอำนวยการ ไทยออยล์ ดูเหมือนเป็นคน "โชคร้าย" ในปีสุดท้ายของศตวรรษ เขาเป็นลูกหม้อบริษัท ที่เห็นความเจริญเติบโตของกิจการจากบริษัทน้ำมันเล็กๆ จนแตกหน่อออกเป็นผู้ผลิตน้ำมัน รายใหญ่รายหนึ่งในภูมิภาค เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ ที่มีความมั่นคงแข็งแกร่ง มีกิจการในเครือแผ่ขยายออกไปมากมาย มีผลการดำเนินงานดีเยี่ยมมาตลอด

แต่แล้วเมื่อประเทศประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุด ไทยออยล์ก็ลำบากตามไปด้วย จุลจิตต์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารเบอร์หนึ่ง และเป็นผู้ประกาศการพักชำระหนี้ของบริษัทเป็นเวลา 9 เดือน นั่นเป็นการสูญเสีย ความน่าเชื่อถือในสถานะทางการเงิน ที่บริษัท ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 20 ล้านบาทแต่สามารถขยายกิจการไปได้จนมีสินทรัพย์ถึง 93,798 ล้านบาท ด้วยการใช้เงินกู้ทั้งสิ้น และเป็นเงินกู้ประเภท clean loan จากฝีมือของเกษม จาติกวณิช กรรมการอำนวยการคนก่อนหน้า

นอกจากนี้จุลจิตต์ยังต้องเจรจากับเจ้าหนี้ 124 รายเรื่องแผนการปรับโครงสร้างหนี้ จนนำไปสู่การเข้ากระบวนการของศาลล้มละลาย เขาต้อง เจรจาให้ปตท.เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อความอยู่รอดของไทยออยล์ ซึ่งปตท.ก็จะ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วน 49% ในไทยออยล์

ท้ายที่สุดจุลจิตต ์ยังได้เห็นเปลวเพลิงลุกไหม้ถังเก็บน้ำมันไทยออยล์-เหตุการณ์ ที่กระหน่ำซ้ำเติมวิกฤติของบริษัท มากขึ้นไปอีก

แต่ชายคนนี้เป็นคนที่มีฝีมือคนหนึ่งทีเดียว การพลิกวิกฤติเป็นโอกาส คือ สิ่งที่เกิดขึ้น และเราได้มองเห็น ที่ไทยออยล์ ภายใต้ผลงานของจุลจิตต์

การที่เขาสามารถลดภาระหนี้ของบริษัทลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่งในครั้งนี้ แม้เป็นราคา ที่จ่ายมาแพง หากคิดคำนวณให้ดี แต่ก็เป็นทางรอดที่ดีของบริษัท

ในภาวะ ที่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มผงกหัวขึ้นแล้ว เราจะได้เฝ้ามองไทยออยล์ผงาดขึ้นด้วยชีวิตใหม่ในศักราชใหม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us