Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 พฤษภาคม 2545
ก.ล.ต.ชนค่าคอมฯคงที่ พุ่งเป้านโยบายตลท.โบรกมุ่งกำไรไม่พัฒนา             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย




ก.ล.ต.ชี้ค่าธรรมเนียมใหม่ งานวิจัยของโบรกเกอร์แต่ละแห่งไม่มีความแตกต่าง การกำหนดให้มีการคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นเพียงการเพิ่มโอกาสในการสร้างกำไรของโบรกเกอร์เท่านั้น

ขณะที่คนวงการยอมรับจริง แต่ประเมินเร็วไป เพราะต้องรอประเมินทิศทางก่อนลงทุนเพิ่ม ชี้งานนี้น่าจะพุ่งเป้าชนตลาดหลักทรัพย์ฯ

นายพิชิต อัคราทิตย์ ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและพัฒนาตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า การที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์กลับมาใช้ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์(ค่าคอมมิชชั่น) แบบกำหนดเพดานขั้นต่ำอีกครั้ง อาจไม่ช่วยให้คุณภาพบทวิจัยเพิ่มขึ้น

แต่เป็นแค่การช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์มีกำไรเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการพัฒนาคุณภาพบทวิจัยและการ บริหาร เนื่องจากไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าบริษัทหลักทรัพย์จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปพัฒนาฝ่ายวิจัย

ทั้งนี้ จากการศึกษาของโครงการเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพบทวิจัยในช่วงก่อนและหลังการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น

ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์ 27 แห่ง และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) 7 แห่ง รวมถึงนักลงทุนทั่วไปพบว่าปริมาณและคุณภาพบทวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งใน 2

ช่วงเวลาดังกล่าวเทียบกันไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัย

โดยจากข้อมูลที่สำรวจ ระบุว่าก่อนหน้าที่จะมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นในปี 2543 เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยแต่ละราย จะต้องรับผิดชอบ การทำบทวิจัยของบริษัทประมาณ 13 แห่ง

แต่หลังจากการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ความ รับผิดชอบดังกล่าวเพิ่มเป็นคนละ 14 แห่ง ส่วนจำนวนบทวิจัยต่อวันของบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่ง อยู่ที่ 4 ฉบับเท่าเดิม

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายหลังจากการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นแล้วคุณภาพของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น

เพราะมีแนวโน้มที่บริษัทหลักทรัพย์จะรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยที่สามารถวิจัยตลาดหุ้นในระดับภูมิภาคได้มากขึ้น และจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัย ในระดับที่ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานนักวิจัย

ก็เพิ่มจากร้อยละ 14.94 ของเจ้าหน้าที่วิจัยทั้งระบบในช่วงก่อนเปิดเสรีมาเป็นร้อยละ 15.6 หลังเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น

รับบทวิจัยเหมือนเดิม

ก่อนหน้านี้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า

ตลาดหลักทรัพย์ได้ออกข้อบังคับในเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2545 เป็นต้นไป

โดยให้บริษัทสมาชิกเรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขายสำหรับลูกค้าทุกประเภท และอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.20 สำหรับการ ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต

รวมทั้งกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ปรับปรุงการให้บริการด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์แก่ลูกค้า

โดยกำหนดให้ต้องมีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่มีความรู้ความสามารถจบการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีอย่างน้อย 2 คน และนำเสนอบทวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่ก.ล.ต.กล่าวนั้นก็ตรงกับความเป็นจริง เพราะว่านับตั้งแต่ใช้ค่าธรรมเนียมซื้อขายขั้นต่ำ 0.25% เมื่อ 14 มกราคมที่ผ่านมา

บริษัทหลักทรัพย์เกือบทุกแห่งยังไม่ได้ปรับปรุงในเรื่องคุณภาพของบทวิจัยมากนัก นักวิเคราะห์ทุกคนยังทำหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากเดิม

และถ้าจะพิจารณาจากเงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์ที่กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ ต้องมีนักวิเคราะห์จบการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีอย่างน้อย 2 คน และเสนอบทวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ

ถือได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์แทบทุกแห่งก็มีนักวิเคราะห์ประมาณนี้อยู่แล้ว

นักวิเคราะห์ 1 คนจะต้องดูและในหลายอุตสาหกรรม เพื่อให้ครอบคลุมหุ้นกลุ่มที่สำคัญ แตกต่างจากเมื่อครั้งก่อนที่จะใช้ค่าธรรมเนียมซื้อขายเสรีที่นักวิเคราะห์ 1

คนจะดูแลกลุ่มอุตสาหกรรมคนละประมาณ 2-3 กลุ่มเท่านั้น ส่วนการจะเพิ่มจำนวนนักวิเคราะห์ในทีมงานนั้น คงจะเป็นเรื่องการตัดสินใจของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์Ž

ด่าเร็วไป

ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์รายหนึ่งกล่าวว่า การเพิ่มจำนวนนักวิเคราะห์นั้นคงจะต้องพิจารณา ถึงแนวโน้ม และทิศทางของตลาดหุ้นก่อน เพราะค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 0.25% เพิ่มเริ่มใช้เมื่อ

กลางเดือนมกราคม ซึ่งระยะเวลาแค่ 2 เดือนครึ่งนั้นก็สร้างรายได้ให้กับโบรกเกอร์ไม่น้อย

ในทางธุรกิจแล้วเราต้องรอผลและความเป็นได้ก่อน จากตัวเลขผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2545 เชื่อว่าทุกบริษัทคงอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะเพิ่มมากน้อยเพียงใด

เพราะเมื่อค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นเท่ากันแล้ว จุดขายจะอยู่ที่บทวิเคราะห์ เชื่อว่าทุกค่ายก็ต้องเร่งสร้างคุณภาพให้กับทีมวิเคราะห์ของตนเอง

บทศึกษาของก.ล.ต.นำมาใช้นั้นเป็น การสำรวจที่เร็วเกินไป เพราะภายหลังจากการใช้ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 0.25% นั้น คงจะมีบางค่ายเท่านั้นที่เพิ่มนักวิเคราะห์ เนื่องจากเดิมเหลือนักวิเคราะห์แค่คนเดียว

เราไม่แน่ใจว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของการเผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวว่าต้องการอะไร ส่วนหนึ่งถือเป็นการประจานโบรกเกอร์ว่าเห็นแก่ตัว มุ่งหวังแต่รายได้ โดยไม่ยอมเพิ่มคุณภาพ งานวิจัย

หรืออาจจะก้าวไปถึงการตัดสินใจของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นผู้ริเริ่มให้ใช้ค่าธรรมเนียมซื้อขายขั้นต่ำ 0.25% ซึ่งถือเป็นการหักหน้า ก.ล.ต.Ž

เพราะก.ล.ต.เป็นต้นคิดการใช้ค่าธรรมเนียม ซื้อขายเสรี จนทำให้โบรกเกอร์ทุกแห่งต้องเน้นแข่งขันกันลดค่าธรรมเนียม โบรกเกอร์จึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้นักลงทุนเพิ่มรอบซื้อขายหุ้นมากขึ้น

จึงกลายการเล่นหุ้นเพื่อการเก็งกำไรมากกว่าการลงทุนในระยะยาว

การที่ใช้ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 0.25% นั้น สร้างความไม่พอใจให้กับ ก.ล.ต.เป็นอย่างมาก เพราะถือว่าไม่เป็นไปตามนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินและโดยสถานะของก.ล.ต.จะทำหน้าที่

เป็นผู้ควบคุมตลาดหลักทรัพย์อีกต่อหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us