Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548
Golden Years ของ MAJOR             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

โฮมเพจ เมเจอร์ซินีเพล็กซ์

   
search resources

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป, บมจ.
วิชา พูลวรลักษณ์
Theatre
แปซิฟิก มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กรุ๊ป
เมเจอร์ ซีนิพิคเจอร์, บจก.




หลังจากใช้เวลา 2 ปีที่ผ่านมา ขยายการลงทุนไปในกิจการอื่นๆ หลายแห่ง ในปีนี้ MAJOR ตั้งความหวังไว้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนเหล่านั้นจะเริ่มกลับเข้ามา ทำให้ปีนี้และปีหน้าเป็นปีทองของ MAJOR

การเข้าลงทุนในกิจการต่างๆ ของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR ในช่วง 2 ปีที่ผ่าน มาในลักษณะของการขยายตัวในแนวราบ (Horizontal Integration) ด้วยการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่มีธุรกิจเกื้อหนุนกันและกลุ่มลูกค้าเกี่ยวโยงกับธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่เป็น รายได้หลักของ MAJOR เป็นไปตามแนว ทาง Lifestyle Entertainment Company ที่วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร MAJOR วางเอาไว้ (อ่านรายละเอียดได้จากผู้จัดการ ฉบับเดือนมกราคม 2548)

ทั้งการเข้าถือหุ้นสัดส่วน 25% ในบริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแบบไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์และการถือหุ้น 49% ในแคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ผู้ให้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์แบบครบวงจร ซึ่ง ทั้ง 2 ธุรกิจนี้นอกจากจะมีกลุ่มลูกค้าเป็น กลุ่มเดียวกันกับโรงภาพยนตร์ของ MAJOR แล้ว ยังเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจกันเองอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม MAJOR ก็ยังคงให้ความสำคัญกับธุรกิจภาพยนตร์ (movie business) มากที่สุด ในปีที่ผ่านมาดีลที่สร้างสีสันให้กับวงการธุรกิจไทยมากที่สุดดีลหนึ่งก็คือ การควบรวมกิจการระหว่าง MAJOR และคู่แข่งสำคัญอย่าง EGV ทำให้ MAJOR ครองส่วนแบ่งตลาดโรงภาพยนตร์ ของไทยไว้เกินกว่า 70%

ปีที่ผ่านมายังมีการขยายการลงทุนของ MAJOR อีก 2 แห่งคือ เมเจอร์ พิคเจอร์ และแปซิฟิค มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กรุ้ป ที่ดูเหมือนไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่จากการแถลงทิศทางการดำเนินงานในปีนี้กลับแสดงให้เห็นว่า MAJOR ให้ความสำคัญไปที่ 2 ธุรกิจ นี้ไม่น้อย

เมเจอร์ พิคเจอร์ก็คือ นนทนันท์ ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ให้กับโรงภาพยนตร์ที่เคยรุ่งเรืองในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ส่วนแปซิฟิค มาร์เก็ตติ้งฯ ทำธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบของวีซีดีและดีวีดี การเข้าถือหุ้นใน สัดส่วน 80% ใน 2 บริษัทนี้จึงเป็นการขยาย ธุรกิจในส่วนของ movie business ให้ครอบคลุมมากขึ้น

เหตุผลหลักของการขยายเข้าสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย (film distribution) ของ MAJOR ก็เพื่อปกป้องธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่เป็นรายได้หลักของบริษัทในปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะปัจจุบันมีการนำเข้าภาพยนตร์ในแต่ละปีจำนวนมากและผู้นำเข้าแต่ละรายหวังรายได้หลักจากการนำภาพยนตร์ผลิตออกเป็นวีซีดีและดีวีดีออกจำหน่าย ทำให้เกิดปัญหาภาพยนตร์บางเรื่องที่เข้าฉายในโรงมีคุณภาพไม่ถึงตามความคาดหวังของผู้ชม

"ผู้นำเข้าบางรายเอาหนังเข้ามาปีละ 50 เรื่อง จำนวนมากขนาดนี้ก็ไม่มีเวลามาคัดคุณภาพหนังที่จะเข้าฉายในโรง แล้วก็ทำการตลาดไม่ได้ เพราะจำนวนมันเยอะ ทำให้คนมาดูแล้วผิดหวัง แล้วหนังบางเรื่องออกจากโรงได้ไม่นานก็ทำเป็นหนังแผ่นออกมาวางขายกันแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ คนจะไม่เข้าโรงหนัง เปลี่ยนไปรอซื้อหนังแผ่นกันแทน" วิชาเล่า

แต่มาถึงวันนี้เมื่อ MAJOR คุมตลาดโรงภาพยนตร์ในประเทศถึงกว่า 70% ทำให้มีบทบาทในการคัดเลือกภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในโรงได้มากขึ้น

"ต่อไปหนังจะต้องถูกคัดคุณภาพ หนังที่คุณภาพไม่ถึงก็ไปทำเป็นหนังแผ่น ทำอย่างนี้คนดูในโรงก็จะได้ดูหนังดี หนังสนุก ทำให้คุณภาพของอุตสาหกรรมดีขึ้น"

ขณะเดียวกัน แปซิฟิค มาร์เก็ตติ้งฯ ก็เข้าจับตลาดธุรกิจหนังแผ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะมีทั้งภาพยนตร์ที่ผ่านการฉายในโรงมาแล้วและภาพยนตร์ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตออกจำหน่าย เป็นหนังแผ่นโดยเฉพาะ

วิชาคาดว่าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ จัดจำหน่ายภาพยนตร์ทั้งเมเจอร์ พิคเจอร์และแปซิฟิค มาร์เก็ตติ้งฯ ในปีนี้จะทำรายได้ให้กับ MAJOR ได้ถึง 16% เป็นรองเพียงรายได้หลักจากโรงภาพยนตร์ที่ลดสัดส่วนลงจาก 70% ในปีที่แล้วเหลือ 60% ในปีนี้ โดยมีรายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณามาเป็นอันดับสาม ด้วยสัดส่วน 10% และโบว์ลิ่ง 8%

สำหรับในปีนี้คาดว่า ตลาดรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์จะมีมูลค่าราว 5,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 30% โดย MAJOR เตรียมงบลงทุน 1,237 ล้านบาทในการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 4 สาขา จำนวน 38 โรง ได้แก่ อ้อมใหญ่ แจ้งวัฒนะ เพชรเกษมและสยามพารากอน นอกจากนี้ยังจะขยายจำนวนโรงภาพยนตร์ เพิ่มในสาขาเดิมที่มีอยู่ ได้แก่ สาขาปิ่นเกล้า จาก 8 โรงเป็น 13 โรง ส่วนในสาขาแฟชั่น ไอส์แลนด์ที่เดิมเป็นแบรนด์ EGV มีโรงภาพยนตร์ 7 โรงจะเปลี่ยนเป็นแบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และเพิ่มจำนวนอีก 4 โรง โบว์ลิ่ง 16 เลน คาราโอเกะ 13 ห้อง

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา MAJOR ยังมีการ ขยายสาขาโบว์ลิ่งเพิ่มขึ้นที่ปิยรมย์ จำนวน 36 เลน ทำให้สิ้นปีนี้ MAJOR และ EGV จะมีสาขารวมทั้งสิ้น 31 สาขา 272 โรง คิดเป็น 65,500 ที่นั่งและโบว์ลิ่งอีก 442 เลน ซึ่งมีผลให้ MAJOR เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด จากเดิม 72% ขึ้นเป็นกว่า 80%

ไม่เพียงแต่การเพิ่มจำนวนสาขาเท่านั้น อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ MAJOR เริ่มนำมาใช้ในปีนี้เพื่อกระตุ้นตลาดและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นก็คือ M-Club ซึ่งเป็นบัตรสมาชิก ที่ใช้เป็นส่วนลดและสะสมแต้มเพื่อแลกของ รางวัล รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมที่ MAJOR จะจัดขึ้น โดยได้ตั้งเป้าหมายยอดสมาชิกเอาไว้ที่ 1 ล้านใบ

ผลจากการรุกเข้าสู่ธุรกิจจัดจำหน่าย การขยายสาขาและกลยุทธ์ M-Club ทำให้ MAJOR คาดว่ายอดรายได้จากธุรกิจหลักในปีนี้จะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับผลตอบแทนจากการลงทุนในสยามฟิวเจอร์ฯ ที่มีรายได้และกำไรสูงขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาได้เปิดโครงการเพิ่มขึ้น 5 แห่ง รวมพื้นที่ 62,841 ตารางเมตร มีกำไร 210 ล้านบาท หากคิดเฉพาะ capital gain จากราคาหุ้นในปัจจุบัน MAJOR จะ มีกำไรแล้วประมาณ 500 ล้านบาท

ส่วนแคลิฟอร์เนีย ว้าวฯ ก็เริ่มมีการ ดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น คาดว่าในปีนี้จะมีสาขารวมทั้งสิ้น 6 สาขา เพิ่มยอดสมาชิกขึ้นเป็นกว่า 100,000 คน รวมถึงแผนงานที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในปีนี้ก็จะช่วยสร้าง capital gain ให้กับ MAJOR ด้วยเช่นกัน

หากเปรียบ MAJOR เป็นภาพยนตร์ สักเรื่องหนึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงของการจัดหาตัวแสดง ทั้งตัวเอกและตัวรองเพื่อมารับบทตามเรื่องที่เขียนไว้ รวมทั้งผ่านการถ่ายทำและตัดต่อจนเสร็จเรียบร้อย ภายใต้การกำกับดูแลของวิชา มาถึงปีนี้ MAJOR พร้อมแล้วที่จะเข้าฉายให้ได้ชมกัน ส่วนจะทำเงินมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ชมหรือนักลงทุนว่าจะถูกใจกับเรื่องนี้เพียงใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us