Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548
Showroom Bus             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ไทยฟูจิซีร็อกซ์

   
search resources

ไทยฟูจิซีร็อกซ์, บจก.
ทีทีแอนด์ที, บมจ.
Telecommunications
Electronic Components




"โชว์รูมเคลื่อนที่" กลยุทธ์เก่าภายใต้สถานการณ์ใหม่

หลายครั้งที่เราพบเห็นการนำรถยนต์ ในรูปแบบต่างๆ มาเป็นสื่อกลางในการขายสินค้าในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เข้าถึงยาก การที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายลดช่องว่างของการเข้าถึงสินค้าด้วยการเดินทางไปหาลูกค้าด้วยตนเอง ถือเป็นทางออกที่เรียกว่า ได้ผลเสมอไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน

ตั้งแต่ยุคของรถเร่ขายยาพร้อมฉายหนังกลางแปลงตามชนบท จนกลายมาเป็นรถเร่ฉายหนังกลางแปลงพร้อมขายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือตามท้องที่ที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง แต่มีมือถือใช้กันทั่ว ซึ่งประสบความสำเร็จและใช้เป็นกรณีศึกษากันมาแล้วก่อนหน้านี้

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ของไทยก็เพิ่งจะผ่านพ้นการเปิดตัว "โมบายคาร์" รถบริการเคลื่อนที่คันแรก ของตัวเองออกสู่สายตาสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ

โมบายคาร์ของทีทีแอนด์ทีทำหน้าที่ เป็นทั้งศูนย์บริการขนาดย่อมที่เดินทางไปตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัด และเป็นโชว์รูมเคลื่อนที่ โดยด้านในตกแต่งเป็นตู้กระจกแสดงสินค้าของทีทีแอนด์ดี พร้อมแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์ของทีทีแอนด์ที

ด้านข้างตัวรถยังสามารถเปิดออกมา วางเครื่องเสียงขนาดย่อมไว้ด้านบน กลาย เป็นลานแสดงกิจกรรมของบริษัทไปโดยปริยาย นอกจากนี้ยังเป็นจุดรับชำระค่าสินค้าและบริการของทีทีแอนด์ทีผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสในตัวรถ ที่สำคัญไม่ว่ารถคันนี้จะไปที่ไหน ประชาชนก็สามารถขอเปิดบริการใช้โทรศัพท์ของทีทีแอนด์ทีได้ทันที

แม้จะลงทุนเป็นมูลค่านับล้านแต่ทีทีแอนด์ทีหวังว่าการตระเวนไปยังสถานที่ ต่างๆ ทั่วประเทศ จะเป็นการประชา สัมพันธ์การให้บริการของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้บริโภคมาก่อน

ไทยฟูจิซีร็อกซ์ก็เช่นเดียวกัน หลัง สำรวจพบว่าปัญหาการเข้าถึงสินค้าของบริษัทก็คือ ความยากลำบากในการเดินทาง มาทดสอบสินค้าถึงในกรุงเทพฯ หรือแม้ แต่ต้องเสียเวลาในการจัดส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ พร้อมพนักงานไปติดตั้งถึงบริษัท ลูกค้าเพื่อให้มีโอกาสได้ทดสอบสินค้านั้นๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง

"โชว์รูมเคลื่อนที่" จึงกลายเป็นสิ่งใหม่ที่บริษัทใช้เป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้าที่อยู่ห่างไกลออกไปในต่างจังหวัด หรือต้องลำบากในการเดินทางมาดูตัวสินค้าถึงกรุงเทพฯ ในทันที

"Intelligent Cyber Space Showroom Bus" คือชื่อเต็มอย่างเป็นทาง การของโชว์รูมเคลื่อนที่ซึ่งไทยฟูจิซีร็อกซ์ใช้เวลาสร้างนานกว่า 6 เดือน ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 10 ล้านบาท

รถทัวร์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยพลาสติกโลโกของไทยฟูจิซีร็อกซ์เอาไว้ทั้งคัน ด้านในเย็นฉ่ำด้วยเครื่องปรับอากาศที่จัดทำขึ้น มาเป็นพิเศษสำหรับรักษาสภาพของสินค้าดิจิตอลมัลติฟังก์ชันรุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัท ที่ติดตั้งไว้ตามมุมต่างๆ ของตัวรถ

สินค้าทั้งหมดถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหลายเครื่องที่วางไว้บนโต๊ะที่ออกแบบให้เปรียบเสมือนกับห้องทำงานขนาดย่อมของบริษัท พร้อมพนักงานผู้เชี่ยวชาญของบริษัทไทยฟูจิ ซีร็อกซ์ที่คอยให้คำแนะนำในการใช้งานสินค้า ถือเป็นจุดเด่นที่สุดของรถคันนี้

พนักงานของบริษัทที่ประจำโชว์รูมเคลื่อนที่จะทำหน้าที่ในการอธิบายการใช้งานอุปกรณ์ทั้งหมดของบริษัทแก่พนักงานของบริษัทเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดทางเทคนิค ความสามารถของตัวเครื่อง ตลอดจนสาธิตการใช้งานของเครื่อง มัลติฟังก์ชันของบริษัทตามลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในองค์กรที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสถานที่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าของบริษัทสามารถทำงานได้แม้บริษัทจะมีลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่าย ใดก็ตาม

พิชัย ธัญญวัชรกุล ผู้จัดการส่วนการ ขายลูกค้าทั่วไป 1 บริษัท ไทยฟูจิซีร็อกซ์ จำกัด ให้เหตุผลว่าบริษัทสำรวจพบร้อยละ 80 ของลูกค้าที่มีโอกาสได้ทดสอบสินค้าก่อน มักจะตัดสินใจเลือกสินค้าของบริษัทในที่สุด ดังนั้นจึงไม่แปลกหากการนำสินค้า ไปถึงที่ให้ลูกค้าตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงฝ่ายปฏิบัติงานมีโอกาสได้ยลโฉมและทดลองประสิทธิภาพก่อน ก็น่าจะเพิ่มโอกาส ในการเลือกสินค้านั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหลายๆ จังหวัด ซึ่งในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้ให้กับไทยฟูจิซีร็อกซ์ได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดของบริษัท และแนวโน้มกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายนี้ก็ยิ่งสูงขึ้น ไปทุกที ดังนั้นไม่ว่าหนทางใดที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้สะดวกในการได้เห็นตัวสินค้าของไทยฟูจิซีร็อกซ์ก็ย่อมจะขวน ขวายมาใช้อย่างแน่นอน

ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ ไม่ว่ารถคันนี้จะขับผ่านไปที่ไหน ก็กลายเป็นป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ให้กับไทยฟูจิซีร็อกซ์ไปในตัว นอกจากนี้ไม่ว่าจะมีงานหรือกิจกรรมที่ไหน รถคันนี้ก็เป็นตัวชูโรงในการแสดงเทคโนโลยีและสินค้ารุ่นใหม่ให้กับบริษัทได้ตลอด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us