|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2548
|
|
ว่ากันว่าการเป็นที่หนึ่งยากกว่าคนที่ตามหลังก็ตรงที่ต้องทำงานหนักเพื่อรักษาตำแหน่งเอาไว้ให้คงที่ เพราะหากพลาดพลั้งไม่เพียงอันดับจะหลุดไปเป็นรองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่ต้องทำงานหนักอีกหลายเท่าเพื่อทวงแชมป์กลับคืน
คงไม่ต่างอะไรกับ "โนเกีย" ค่ายมือถืออันดับหนึ่งของโลกในตอนนี้ แม้จะยังถือส่วนแบ่งในตลาดถึง 32 เปอร์ เซ็นต์ ซึ่งเอาคู่ต่อสู้ 3 ราย รวมกันยังไม่เท่ากับส่วนแบ่งที่โนเกียมีอยู่ แต่ก็ยังคงเส้นคงวาในการค้นหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งเอาไว้ในมือตลอดไป ยิ่งคู่ต่อสู้ฝั่งเกาหลีที่นับวันจะขึ้นมามีบทบาทในตลาดมากขึ้น ยิ่งทำให้โนเกียเร่งฝีเท้าหนีออกไปให้ห่างอย่างเต็มที่
สำหรับโนเกียประเทศไทย ในยุคที่มี บ็อบ แมคดูกอล เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของโนเกีย ประเทศไทยได้ไม่นาน เลือกทิศทางที่ชัดเจนในการหนีคู่แข่งด้วยการให้ความสำคัญกับจุดค้าปลีก หรือ retail shop ของตนเองให้แตกต่าง เพราะเป็นจุดสำคัญในการกระจายสินค้าถึงมือผู้ใช้ให้มากที่สุด
บ็อบเปิดเผยระหว่างงานแถลงข่าวผลการดำเนินการปีที่ผ่านมา และแนวทางการทำธุรกิจของโนเกียในปีนี้ว่า โนเกียตัดสินใจจ้างบริษัท Boston Consulting Group จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบร้านค้าของตนเสียใหม่ และเปิดร้านต้นแบบเป็นโครงการนำร่องไปแล้วถึงสองแห่ง คือ สาขาบางกะปิ และลาดพร้าว
ร้านต้นแบบ หรือ Concept Store ของโนเกียนั้นแตกต่าง จากร้าน Nokia shop ที่มีอยู่เดิมตรงที่เป็นร้านที่จะช่วยสอนให้ คนมีประสบการณ์ที่ดีกับมือถือของโนเกียมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนการขายเหมือนกับ shop ไม่ว่าจะทำการสอนให้คนรู้จักใช้งาน มือถือรุ่นใหม่ๆ ของโนเกียให้เป็นผ่านวิธีการง่ายๆ, การแนะนำ การสั่งพิมพ์ภาพผ่านมือถือรุ่นติดกล้องของโนเกีย และอื่นๆ
เพื่อให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่ามือถือของโนเกียนั้นเป็นมากกว่าโทรศัพท์ที่ใช้เพื่อโทรเข้าหรือรับสายเท่านั้น เพราะนับจากนี้นโยบายของโนเกียระดับโลกก็คือ เน้นมือถือที่เป็นมัลติมีเดียมากขึ้น ปี 2548 ถือเป็นปีแห่ง Music Phone กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของมือถือโนเกียที่จะวางตลาดจะถูกผนวกรวมเอาความสามารถใหม่ๆ อย่างการเล่นเพลงได้เข้าไปด้วย ดังนั้นการสอนให้คนรู้จัก มือถือที่ทันสมัยขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โนเกียมองข้ามไปไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
Concept Store ยังเป็นแหล่งพิสูจน์ความต้องการของลูกค้าที่ดี โนเกียสามารถเก็บข้อมูลความต้องการฟีเจอร์ต่างๆ บน มือถือจากลูกค้าที่แวะเวียนมาสอบถามการใช้งานได้ในทันที ก่อน นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อหากลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ ต่อไป
|
|
|
|
|