|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2548
|
|
"ขายหัวเราะ" จากค่ายบันลือสาส์น ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจของไทยที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคมาได้ยาวนานนับสิบปีจนประสบความสำเร็จ และอยู่รอดได้มาจนถึงปัจจุบัน แต่ในยามที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การหาช่องทางในการทำการตลาดให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับขายหัวเราะ
หลังจากบันลือสาส์นตัดสินใจทำธุรกิจแอนิเมชั่น โดยเปิดตัวบริษัทวิธิตา แอนิเมชั่น ขึ้นมาและเลือกใช้ตัวการ์ตูนชื่อดัง "ปังปอนด์" ของค่ายเป็นตัวเอกจนได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ก้าวใหม่ในการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจมือถือที่แต่ละปีมีมูลค่านับหมื่นล้านก็เป็นสิ่งที่เหมือนจะเป็นความตั้งใจตั้งแต่แรก
เสียงเรียกเข้า เสียงเพลงขณะรอสาย โลโก ข้อความ ภาพ หรือวอลเปเปอร์ เป็นธุรกิจเริ่มต้นของบริษัทในการนำข้อมูลการ์ตูน ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่วงการมือถือ ล่าสุดก็สร้างสีสันให้ตลาดคอนเทนต์ บนมือถือในบ้านเราอีกครั้ง ด้วยการนำเสนอบริการดาวน์โหลด การ์ตูน 3 ช่องเหมือนในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นแทน
ขายหัวเราะเลือกค่ายใหญ่อย่างเอไอเอสเป็นเจ้าหลักในการเปิดตัวบริการดาวน์โหลดการ์ตูนของตนออกสู่สาธารณชน นอกจากนี้ยังเปิดทางให้เอไอเอสเป็นเพียงเจ้าเดียวที่สามารถให้บริการจัดส่งแก๊กหรือข้อความขำขันนับแสนให้กับผู้ที่ต้องการวันละสองครั้ง เช้าและเย็นในราคาเหมาจ่ายรายเดือน 30 บาท นอกเหนือจากเจ้าอื่นๆ ที่ผู้ใช้สามารถทำการดาวน์โหลดได้เอง โดยที่ไม่มีการจัดส่งเหมือนกับเอไอเอส
เมื่อยักษ์ใหญ่แห่งวงการมือถืออย่างเอไอเอส ซึ่งมีฐานลูกค้าทั้งระบบเหมาจ่ายรายเดือนและระบบพรีเพดรวมกันกว่า 15 ล้านคน และเจ้าของหนังสือการ์ตูนที่มียอดจำนวนผู้อ่านกว่า 10 ล้านคนต่อเดือนมาพบกัน ทั้งคู่ต่างก็ตั้งความหวังว่าจะส่งเสริม ให้กันและกันได้ประโยชน์จากฐานลูกค้าของตนอย่างแน่นอน
แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านราคาของการ์ตูน 3 ช่องแอนิเมชั่น ที่เปิดให้บริการใหม่ ซึ่งคิดค่าบริการดาวน์โหลดต่อครั้ง 20 บาท เทียบกับการซื้อหนังสือการ์ตูนจริงๆ ที่ราคาเพียงสิบกว่าบาท ย่อมกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้ใช้คิดเปรียบเทียบถึงความคุ้มค่า ในการเลือกใช้บริการใหม่นี้อยู่เป็นแน่
|
|
|
|
|