Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 พฤษภาคม 2545
แผ่กลยุทธ์ลิดขวากหนามการตลาด สร้างความสะดวกคือหัวใจฝ่าวิกฤติ             
 


   
search resources

ศุภชัย เจียรวนนท์
เสรี วงศ์มณฑา




"ศุภชัย-เสรี" กะเทาะแนวคิดนำธุรกิจฝ่าขวาก หนาม บิ๊กบอสทีเอกระตุ้นแผนการตลาดด้วยกลยุทธ์ตัว "ซี" ขณะที่อาจารย์ ชื่อดัง มุ่งให้ทุกฝ่ายเน้นความสำคัญกับการสื่อสาร

พร้อมแนะกลเม็ดมัดใจลูกค้า วิเคราะห์ลูกค้า 3 ประเภทที่อยาก และไม่อยากได้

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ที เอ ออเร้นจ์ กล่าวถึงแนวทางการตลาด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเลาะหนามสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ในงานเสวนาฝ่าขวากหนาม

การตลาด ที่จัดขึ้นโดยสมาคมการ ตลาดแห่งประเทศไทย ว่าการตลาด เป็นกระบวนการทางการตลาดที่เริ่มต้นจากความเข้าใจของลูกค้า

เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดทางการตลาดที่เรียกว่าความสำเร็จทาง การตลาด (Successful Marketing)

แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นจากความเข้าใจในตลาดและผู้บริโภคด้วยการสร้างฐาน ความรู้ทางสังคม (Knowledge -Base- Society)

ขณะที่เดียวกันต้องย้อนกลับมามองที่บริษัทหรือองค์กรว่าจุดยืนของแต่ละบริษัทคืออะไร มีจุดแข็ง-จุดอ่อนตรงไหน

ขณะเดียวกันผู้บริหารต้องมองออกไปยังสภาวะแวดล้อมภายนอกของบริษัทด้วยว่าเป็นอย่างไร

ส่วน C ตัวที่สามที่พึงให้ความสนใจคือลูกค้า (Customer) หากบริษัทต้องการได้ในความนิยม และความจงรักภักดีเพราะในระยะยาวจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดชุมชน ทั้งนี้แต่ละบริษัทต้องเริ่มต้น

ให้พนักงานใช้สินค้าหรือบริการที่บริษัทนั้นเป็นเจ้าของก่อน

จากนั้นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการอธิบายหรือชี้แจง (Construction) โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาในตลาดที่หลังในฐานะผู้ตามต้องสร้างความแตกต่างให้ได้

แต่ข้อดีของผู้ตามก็คือได้เรียนรู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไรจากผู้ที่เข้ามา ในตลาดก่อนจึงไม่เสียเวลา และเงินทุนในการลองผิดลองถูก

ขณะที่ความคิดสร้าง Creativity และการสร้างนวัตกรรมคืออีกสิ่งสำคัญในการตลาดยุคปัจจุบัน เพราะความต้องการของผู้บริโภคซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น ส่วนต้นทุน (Coun-tability)

ต้องพิจารณาเพื่อเข้าใจถึง ต้นทุนโดยต้องทำความเข้าใจว่าจะได้ต้นทุนที่ลงไปแล้วกลับคืนมา ได้อย่างไรรวมถึงต้องดูว่าจะเน้นราคาได้นานสักแค่ไหน และเป็นราคาที่ตลาดจะรับได้นานเพียงใด

นอกจากนี้ยังต้องเสริมด้วย การสื่อสาร (Communication) เป็นการสร้างความเชื่อโดยรวมว่าสิ่งต่างๆ คือมูลค่าที่บริษัทได้นำเสนอให้กับลูกค้า ต่อมาคือการสร้าง ความมั่นใจ ความเชื่อถือ

(Creditability) ข้อดีของสินค้าที่เป็นตราระดับโลกคือการสร้างความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารความคาด หวังของลูกค้าที่มีต่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

เพราะหากสินค้าไม่สามารถส่งมอบสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้จะทำให้ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นในตัวสินค้า

กรรมการผู้จัดการใหญ่ยังกล่าวต่ออีกว่าประการต่อมาคือความใส่ใจ(Care) เป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญมากเพราะจะเป็นตัวที่สร้างประสบการณ์ที่ดีๆให้กับผู้บริโภค

โดยดูว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไรเมื่อลูกค้าได้สัมผัสลูกค้าหรือได้รับบริการแล้วมีความรู้สึกเช่นไรและ C ตัวสุดท้ายคือความสะดวกสบาย (Convenience)

ด้าน ดร.เสรี วงศ์มณฑา ประธานกรรมการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กู๊ด คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่า เนื่องจากลูกค้าต้องการได้ผลประโยชน์จากตัวสินค้า เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่เจ้าของสินค้าต้องคำนึง ถึง คือ

ประการแรก ความสะดวก สบาย คำนี้ถูกแปลมาจากคำว่า สถานที่ (Place) ที่ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว จากเดิมที่เคยให้ความสำคัญในเรื่องของโลเกชั่นว่าควรจะตั้งอยู่ ณ จุดไหน แต่ปัจจุบันคำ

ว่าความสะดวกสบายเข้ามาแทนที่ จะเห็นได้ว่าสินค้าหลายชนิดที่สามารถเติบโตขึ้นมาได้เพราะสามารถอำนวยความสะดวกสบาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ประการที่สอง ความรวดเร็ว เนื่องจากเวลาของคนในปัจจุบันเริ่มไม่พอใช้ ดังจะเห็นได้จากการเข้ามาของ คอมพิวเตอร์ แฟกซ์ โทรศัพท์มือถือ หรือเอทีเอ็ม ที่ตอบ สนองเรื่องของความรวดเร็ว

ประการที่สาม มูลค่า เพราะลูกค้า ต้องการให้เงินทุกบาทมีค่า ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ในมูลค่าของราคา (Price Value Relationship) เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดความสึกกร่อนของตราสินค้า

ประการที่สาม การสับเปลี่ยน หรือการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุคที่เศรษฐกิจถด ถอย เพราะลูกค้ารู้สึกว่าตนเป็นผู้สูญเสียจึงต้องการสิ่งชดเชย และทดแทน สิ่งที่จะมาชดเชยคือทำให้

ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญ

ในเรื่องของลูกค้ามีอยู่ 3 ประเภท ประเภทแรก คือ ลูกค้าราคา ลูกค้าประเภทนี้เจ้าของสินค้าไม่ต้องการได้ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตต้องเลิกกิจการก่อนเวลาอันควร ประเภทที่สอง ลูกค้าคุณภาพ

ต้องการความเลิศเลอ แม้สินค้าจะมีราคาแพงก็ตาม เช่น หลุยส์ วิตตอง เป็นต้น และประเภทที่สาม ลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ สามารถสร้างได้ไม่ยากนัก หากได้บุคคลที่เป็นนักขาย

และนักการตลาดที่สามารถทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญ

ประการที่สี่ การสื่อสาร เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปมาก ต้องเปลี่ยนจากการทำโปรโมชั่นมาเป็นการทำคอมมูนิเคชั่น และต้องให้ความสำคัญให้มากขึ้นด้วย

เพราะการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด การรู้จักในตราสินค้า อันนำไปสู่การยอมรับ ไปจนถึงความสัมพันธ์ เป็นการสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดหรือได้ในสิ่งที่ต้องการ

"ทั้งหมดจะสามารถข้ามขวาก หนามได้ด้วยคอมมูนิเคชั่น" ดร.เสรี กล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us