Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548
คนึงจิตร สุริยะธำรงกุล Let's Hutch             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

The Challenging Women

   
www resources

โฮมเพจ ควอลคอมม์

   
search resources

ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรท
Telecommunications
คนึงจิตร สุริยะธำรงกุล




ประสบการณ์ในสายงานโทรคมนาคมกว่า 10 ปี ทำให้คนึงจิตรหมดข้อกังขาในทันที เมื่อผ่านการพิจารณาให้รับตำแหน่ง Country manager ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง "ควอลคอมม์" บริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านมือถือที่เร็วที่สุดในโลก

หลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตว่าด้านหลังโทรศัพท์ มือถือทุกเครื่องที่ขายผ่านหน้าร้านของค่ายผู้ให้บริการ "ฮัทช์" มักจะมีสติกเกอร์ใสขนาดเล็กกว่าปลายเล็บ

ตัวหนังสือสีดำเห็นชัดเจนเขียนไว้ว่า "CDMA by Qualcomm" หากไม่ใช่คนในวงการอาจจะเดาความหมายของคำบนสติกเกอร์นั้นได้ยากนัก

เช่นเดียวกันหากเอ่ยชื่อ "คนึงจิตร สุริยะธำรงกุล" ขึ้นมา หลายคนก็คงจะเดายากว่าเธอผู้นี้คือใคร หากไม่ใช่คนในวงการเดียวกันกับที่พอจะทราบความหมายบนสติกเกอร์ที่แปะอยู่ด้านหลังมือถือของฮัทช์

คนึงจิตร คือผู้หญิงวัย 40 ต้นๆ ที่ผ่านการคัดเลือกให้รับตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ควอลคอมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล อินคอร์ปอเรทเต็ด หรือ ควอลคอมม์ที่การันตีด้วยการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยีการสื่อสารบนมือถือหลากหลายประเภท โดยเฉพาะเทคโนโลยี CDMA

หลังจากที่ปลายปี 2544 ควอลคอมม์ตัดสินใจเปิดสำนักงานในเมืองไทยบนพื้นที่ใช้สอยของอาคารออล ซีซันเพลส เพื่อสนับสนุนค่ายฮัทชิสัน ไวร์เลส ที่ตัดสินใจซื้อหุ้นของตะวันเทเลคอม ซึ่งขณะนั้นประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการและประกาศจับมือกับ กสท. เพื่อเปิดแบรนด์ฮัทช์ในไทยเพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์CDMA 2000 เทคโนโลยีของควอลคอมม์เป็นรายแรกในประเทศไทย

แม้จะถูกกล่าวหาว่าเป็น monopoly ในตลาดเทคโนโลยี CDMA ที่กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลก แต่งานหนักของควอลคอมม์ก็คือการสนับสนุนให้โอเปอเรเตอร์ที่เลือกใช้เทคโนโลยีของตนประสบความสำเร็จในการให้บริการมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้ปัจจัยสภาพแวดล้อมการแข่งขัน และสภาพการเมืองที่ส่งผลถึงธุรกิจสื่อสารโดยตรง ที่แตกต่างกันออกไป

ดังนั้นการคัดเลือกคนที่พร้อมที่สุดในการที่จะนำทัพควอลคอมม์ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือแบรนด์ใหม่ในการเปิดให้บริการระบบมือถือใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในยามนั้น

คนึงจิตรกลายเป็นหัวเรือใหญ่ของควอลคอมม์ในการเข้าไปช่วยเหลือฮัทช์ในการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี CDMA 20001x ในทันทีเมื่อผ่านการคัดเลือกให้รับตำแหน่งสูงสุดของสาขาประเทศไทย ความสำเร็จของฮัทช์ถือเป็นความสำเร็จในการทำงานของเธออย่างปฏิเสธไม่ได้

พื้นฐานการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา อิเล็กทรอนิกส์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมๆ กับผู้หญิงร่วมรุ่นเพียง 14 คนจากนักศึกษาในคณะทั้งหมด 200 คน ทำให้คนึงจิตรเริ่มต้นงานแรกในชีวิตที่กรมไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. ในขณะนั้น ด้วยหน้าที่ในการรับวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กองโทรเลข มากกว่าการส่งโทรเลขไปมาตามปกติ

ก่อนจะได้รับทุนเรียนฟรีในด้าน Data Communication จากสถาบัน AIT และโอนย้ายมาทำหน้าที่วิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจใหม่ๆ ให้กับกสท. ในหน่วยงานใหม่อย่างสำนักพัฒนาธุรกิจ

การกลับมาครั้งนี้ของคนึงจิตร เป็นช่วงของการล้มหายตายจากของระบบโทรเลขที่มีความสำคัญน้อยลง และระบบโทรศัพท์มือถือเพิ่งเริ่มเข้ามาในเมืองไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยตัดสินใจตั้งหน่วยงานใหม่ที่เรียกว่าสำนักพัฒนาธุรกิจ เธอได้รับการโอนย้ายให้เข้าไปทำงานในหน่วยงานใหม่ นี้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ให้บริการในต่างประเทศหลายๆ รายที่เข้ามาติดต่อกับการสื่อสารเพื่อแนะนำให้เปิดบริการในรูปแบบใหม่หลายอย่าง หน้าที่ของคนึงจิตรคือการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือไม่สำหรับการเปิดตัวบริการใหม่เหล่านี้

ด้วยความที่เป็นคนคิดนอกกรอบ และไม่ชอบเดินทางตามเส้นทางที่มีการขีดไว้เป็นขั้นเป็นตอน กระบวนการมากมาย ทำให้เธอค่อนข้างอึดอัดกับระบบราชการที่ยังไม่ได้รับการปฏิรูปใน กสท. สมัยนั้น เพราะ ไม่สามารถทำงานบางอย่างที่ต้องการได้ และตัดสินใจเลือกเส้นทางการทำงานของตนเองเสียใหม่ ด้วยการเข้ารับมุมมองเชิงธุรกิจมากขึ้นจากการเรียนหลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นี่เองสร้างแนวคิด ทางด้านธุรกิจ การเงิน และการบัญชีให้กับคนึงจิตรมากมาย และตัดสินใจลาออกจากการสื่อสารฯ สถานที่ทำงานมานานกว่า 7 ปี

โปรเจ็กต์อีรีเดียมที่ควบคุมด้วยบริษัทลูกที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่อย่างยูคอม เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการทำงานของเธอ คนึงจิตรเป็นหนึ่งในห้าคนแรก ที่เข้าไปคลุกคลีในโครงการยักษ์ใหญ่นี้ ในฐานะ Business Development Manager เพื่อออกแบบหรือวางแผนการให้บริการดาวเทียมอีรีเดียม แต่ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ค่อนข้างรวดเร็ว ความล่าช้าบางอย่างทำให้อีรีเดียมไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้

Business Development และ Sale เป็นภาระผูกพันที่คนึงจิตรยังคงได้ทำหน้าที่ต่อไปในอีกหลายๆ บริษัทต่อมา ทั้งสยามทีวี และสยามแซท บริษัทลูกของสยามทีวี ซึ่งให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมให้กับลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มห้องค้าหลักทรัพย์ในต่างจังหวัด จนถึงการเข้าไปร่วมงานกับบริษัทลูเซ่น เทคโนโลยี บริษัท โทรคมนาคมข้ามชาติ ที่ในขณะนั้นเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยี CDMA รายใหญ่รายหนึ่งของโลก ในฐานะของ Account Director ดูลูกค้าการสื่อสารเป็นหลัก

หลังลูเซ่นมีการประกาศว่าจะ down size องค์กร ผลักดันให้คนึงจิตรผ่านการคัดเลือกจาก Job Hunter ให้เข้าทำงานในควอลคอมม์ในเวลาต่อมา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเธอผู้นี้เป็นคนหนึ่งที่เห็นวิวัฒนา การการสื่อสารและโทรคมนาคมของไทยมาตลอดช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือรุ่นกระติกน้ำราคาเรือนแสน จนถึงมือถือหน้าจอสี ติดกล้อง ดิจิตอลในตัว ราคาไม่กี่พันบาทในปัจจุบัน ประกอบกับประสบการณ์การผ่านงานโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องเครือข่ายที่สร้างไว้กับหน่วยงานโทรคมนาคมมากมาย ในฐานะเป็นฝ่ายขายที่ดูแลลูกค้าสายโทรคมนาคมมาตลอด ระยะหลายปี กลายเป็นข้อได้เปรียบของคนึงจิตรชนิดที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง

คนึงจิตรทำหน้าที่หลักในการเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดให้กับฮัทช์ ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวชิปเซตที่ใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่จะรองรับระบบการสื่อสารที่จะใช้ เพื่อที่ฮัทช์จะได้นำเอาข้อมูลที่ได้ไปเจรจากับค่ายโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการออกแบบหรือผลิตโทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบใหม่ของตนออกมาจำหน่ายในภายหลัง พร้อมๆ กันนั้นยังทำงานคู่กับฮัทช์ในการทำ Product planning และพาฮัทช์เข้าไปสัมผัสกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการในประเทศต่างๆ

การพบปะกับสื่อมวลชนและพาทัพสื่อมวลชนไปดูเทคโนโลยีที่ควอลคอมม์ผลักดันจนประสบความสำเร็จมาแล้วในแถบเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นงานส่วนหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้เสมอในตารางนัดหมายของเธอ

ทุกวันนี้ คนึงจิตรยังทำงานแบบเดียวกันนี้ควบคู่ไปกับ กสท. ซึ่งเป็นผู้ที่จะให้บริการระบบโทรศัพท์ CDMA แบบเดียวกันกับฮัทช์ ในส่วนที่เหลือ 51 จังหวัด ที่เพิ่งผ่านพ้นการประมูลผู้วางระบบใหม่ไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ความยากลำบากในการทำงานของคนึงจิตรคือการสร้างความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ให้กับคนไทย เช่นเดียวกันกับการเสนอแนวความคิดการทำธุรกิจให้กับโอเปอเรเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ว่าคุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่การให้บริการเสริมมากกว่าการให้บริการทางเสียง โดยพยายามนำเสนอแนวความคิดนี้ผ่านความสำเร็จของโอเปอเรเตอร์ในประเทศอื่นๆ ในโลกนี้

คนึงจิตรยังเป็นผู้บริหารของควอลคอมม์ที่รับหน้าที่ในการเข้าไปดูแลตลาด CDMA ของประเทศพม่าที่สภาพการเมืองยังไม่นิ่ง และการทำธุรกิจส่วนใหญ่ผูกขาดโดยรัฐบาล เธอต้องทำงานอย่างท้าทายด้วยการมองหา investor หน้าใหม่ที่สนใจเข้าไปลงทุนในพม่า หลังรัฐบาลตัดสินใจขยายการ ให้บริการออกไปตามความต้องการใช้บริการที่มากขึ้น

แม้บทบาทของผู้บริหารหญิงในองค์กรไอทีข้ามชาติจะทำให้เธอดูมั่นใจจนเหมือนเป็นช้างเท้าหน้าไปโดยปริยาย แต่เธอยอมรับว่าการก้าวไปด้วยกันกับสามีที่คบหากันมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรี ซึ่งทำงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คล้ายคลึงกัน และการสวมบทบาทคุณแม่ลูกสองที่บ้านไม่ได้ทำให้เธอรู้สึกว่าแตกต่างจากคนทั่วไปเท่าไรนัก

วันว่างของครอบครัวคือการพาลูกสาวและลูกชาย ที่เพิ่งเรียนชั้นประถมต้น ไปว่ายน้ำที่สระน้ำของโรงแรมรามาการ์เด้น ริมถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งทั้งครอบครัวเป็นสมาชิกอยู่กันทุกคน นอกเหนือจากการพักผ่อนอยู่กับบ้านที่ห่างออกไปนอกเมือง และใช้เวลาทั้งหมดอยู่ด้วยกันในวันหยุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us