|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอไอเอสผนึกทศทอัดเม็ดเงิน 500 ล้านบาท ทำบรอดแบนด์ทีวีภายใต้การดำเนินงานของเอดีซี ในชื่อ "บัดดี้ บรอดแบนด์" ที่ใช้งานได้แบบมัลติมีเดียในสายโทรศัพท์สายเดียว ด้วยคอนเซ็ปต์ โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยการร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 18 ราย และไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ อาศัยสัญญาจากบริการเดิม ยันไม่ชนยูบีซี ด้าน กทช.ยันไอพีทีวีอนาคตต้องถูก กทช.กำกับดูแล แต่การให้บริการช่วงนี้ถือเป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปกว่าการกำกับดูแล ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก
วานนี้ (24 มี.ค.) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส และ ทศท ร่วมประกาศพลิกโฉมหน้าการสื่อสารของไทยด้วยบริการ "บัดดี้ บรอดแบนด์" ที่ให้บริการภายใต้บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ หรือเอดีซี ผู้ได้รับสิทธิ์ในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ของ ทศท ภายใต้ชื่อ "ดาต้าเนต" ในเครือเอไอเอส
บัดดี้ บรอดแบนด์เป็นการนำจุดแข็งด้านเครือข่ายของทศทที่ครอบคลุมทั่วประเทศของเอไอเอสผสานเข้ากับเทคโนโลยี ประสบการณ์ด้านบริการ ช่องทางการจัดจำหน่าย และระบบเติมเงินของเอไอเอส เพื่อให้บริการแบบ 3 in 1 ซึ่งเป็นลักษณะของมัลติมีเดีย หรือที่เรียกกันว่า "ทริปเปิล เพลย์" โดยผู้บริโภคสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ ดูทีวี และใช้โทรศัพท์ พื้นฐานได้ในเวลาเดียวกัน
บริการที่เอดีซีเปิดตัวครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นการพลิกวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยให้มีความสะดวกมากขึ้น โดยผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดเอง
"บริการนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย และผู้ใช้บริการหรือที่เรียกว่าออนดีมานด์ คืออะไรสั่งได้ สามารถใช้งานกับทีวีที่ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น" นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารเอไอเอสกล่าว
ในแง่มุมของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาต หรือไลเซนส์ นางอภิวรรณ รัตนินสายประดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ เอดีซี กล่าวว่า ไม่ต้องขอใหม่ เนื่องจากเป็นบริการต่อเนื่องจากสัญญาเดิม เพียงแต่มีการพัฒนาโครงข่ายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ประโยชน์การใช้งานเพิ่มมากขึ้น
"บริการของเราจะไม่ชนกับยูบีซี เพราะยูบีซีเขามีแผงรายการอยู่แล้ว ส่วนของเราเลือกได้ และจะมีการอัปเดตตลอด โดยมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือผู้มีรายได้ระดับกลาง"
สำหรับบริการบัดดี้ บรอดแบนด์ เอดีซีจะใช้งบในการลงทุนทั้งหมดประมาณ 500 ล้านบาท โดยปีแรกจะใช้ประมาณ 300 ล้านบาท และอีก 2-3 ปีถัดไป จะใช้อีก 200 ล้านบาท ซึ่งงบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการ
เอดีซีมีแผนจะขยายเครือข่ายการให้บริการบัดดี้ บรอดแบนด์ระยะแรกคือ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯประมาณ 60% ต่างจังหวัด 24 จังหวัด เน้นหัวเมืองใหญ่ มีประชากรหนาแน่นเป็นหลัก
ปัจจุบันทศทมีการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานทั่วประเทศประมาณ 7 ล้านเลขหมาย เป็นเลขหมายในเขตกรุงเทพฯประมาณ 2.2 ล้านเลขหมาย มีลูกค้าที่ใช้บริการสื่อสารข้อมูลประมาณ 800 องค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรมีการใช้งานหลายพอร์ต
เชื่อช่วยกระตุ้นบรอดแบนด์ 5 ล้านพอร์ต
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ของ ทศทประมาณ 3.5 หมื่นราย และคาดว่าปีนี้จะติดตั้งเครือข่ายให้ได้ 2 แสนพอร์ต สำหรับบริการบัดดี้ บรอดแบนด์เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้มีการใช้งาน บรอดแบนด์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการบรอดแบนด์ 5 ล้านพอร์ต ตามแผนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที
"บริการแบบนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าบรอดแบนด์ทีวี ซึ่งต่างประเทศโตเร็วมาก อย่างฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และของไทยก็เชื่อว่าแสนรายคงใช้เวลาไม่นาน"
"ส่วนปัญหาในเรื่องของการติดอุปกรณ์ดีสแลม (DSLM) ตามชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ที่เคยล่าช้า นายธีรวิทย์ยืนยันว่าสามารถทำได้เร็วขึ้น การจัดซื้อจัดหาเร็วขึ้น
ตั้งเป้า 4 ปีคืนทุน
สำหรับการให้บริการบัดดี้ บรอดแบนด์ เอดีซีตั้งเป้าไว้ว่าปีแรกจะมีลูกค้าประมาณ 6-8 หมื่นราย และคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ด้วยระยะเวลา 4 ปี หรือมีลูกค้าประมาณ 5 แสนราย
จุดเด่นของบัดดี้ บรอดแบนด์คือ ผู้ใช้จะได้รับความสะดวกสบายและง่าย ไม่ว่าจะเป็น 1.การตรวจสอบพื้นที่บริการโดยผ่านเว็บไซต์ www.buddybb.net หรือคอลเซ็นเตอร์ 2.การสมัครใช้บริการที่สำนักงานเอไอเอส และร้านเทเลวิซ 3.ค่าบริการรายเดือน 650 บาท ความเร็ว 2 เมกะบิต ต่อวินาที แบบไม่จำกัดชั่วโมง ยกเว้นการใช้บริการ คอนเทนต์บางอย่างที่ต้องจ่ายเพิ่มในรูปแบบของบัตรเติมเงินหรือพรีเพดในราคา 300 บาท 500 บาท และ 800 บาท ส่วนรายได้ที่ได้จากค่าบริการ คอนเทนต์เอดีซีจะแบ่งให้กับพันธมิตร 50%
4.การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ง่าย 5.การเติมเงินทางหน้าจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือไอวีอาร์ 6.การใช้บัตรเติมเงินหรือบัตรเครดิตในการเติมเงิน 7.การเลือกชมเนื้อหาที่หลากหลายประเภทจากพันธมิตรที่ให้บริการเนื้อหาสาระ หรือคอนเทนต์โพรวายเดอร์กว่า 18 ราย 8.การรับชมภาพและควบคุมการใช้งานบนคุณภาพระดับดีวีดีผ่านจอโทรทัศน์ 9.ฟรีเมลบล็อกขนาด 100 เมกะไบต์ และอื่นๆ อีกมาก
กทช.ชี้ไอพีทีวีต้องถูกคุม
นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวถึงกรณีการเปิดให้บริการไอพีทีวี หรือบรอดแบนด์ทีวี (การให้บริการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต) ว่า อนาคตไอพีทีวีจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกทช. เพียงแต่ขณะนี้อยู่ในช่วงว่างรอยต่อของการกำกับดูแล ซึ่งกทช.ยังไม่ได้รับช่วงต่อมาและการให้บริการดังกล่าวทำภายใต้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น หรือบริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่ได้ ดำเนินการกับ กทช.
ช่วงนี้เป็นช่วงของการปรับตัว ผมไม่ได้บอกว่าทำได้หรือทำไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่มาแล้ว ในขณะที่การกำกับดูแลยังไปไม่ถึง"
ในวันนี้ (24 มี.ค.) กทช.ได้เปิดให้มีการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่องนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย เพื่อนำความคิดเห็นไปประกอบกับการกำหนดนโยบายการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลธุรกิจอินเทอร์เน็ต ซึ่งคาดว่าภายในกลางปีนี้จะสามารถออกใบอนุญาตได้
นายสุธรรมกล่าวว่ากลางปีจะออกใบอนุญาต เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตที่เป็นการเชื่อมต่อธรรมดาจะเป็นเรื่องเบสิก อินเทอร์เน็ตหรือการให้บริการเชื่อมต่อเท่านั้น ส่วนเรื่องไอพีทีวี หรือวีโอไอพี เป็น เรื่องที่กทช.ต้องกำกับดูแลตามกฎหมาย เพียงแต่ตอนนี้เหมือนแค่ยกที่หนึ่ง แต่ไอพีทีวีเป็นยกที่เจ็ดหรือแปด
เขากล่าวว่า กทช.จะให้ใบอนุญาตผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมหรือคิดต่ำที่สุด พร้อมให้เงินสนับสนุนกับไอเอสพี รายใหม่หลังจากกทช. สามารถกำหนดแนวทางการ ออกใบอนุญาตถาวรที่ชัดเจนได้ ซึ่งมีแผนที่จะให้ เสร็จภายในเดือน เม.ย.นี้ เนื่องจากไอเอสพีบางราย จะหมดสัญญากับกสทแล้ว การให้เงินสนับสนุน ดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหนึ่งซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยได้โดยงบประมาณสนับสนุน ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่จะเข้ามาขอใบอนุญาตเพื่อส่งเสริมให้รายใหม่สามารถแข่งขันกับรายเก่าได้ตามนโยบายเปิดเสรีและทำให้มีผู้ประกอบการมากรายรวมทั้งเพื่อให้ค่าบริการถูกลง
"กทช.ไม่ต้องการให้เกิดสุญญากาศและต้องการให้อินเทอร์เน็ตเข้าสู่การแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ให้บริการเพิ่มอีกเท่าตัว"
ด้านนายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารกฎหมายบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กทช.ควรให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีวงจรเชื่อมต่อไปต่างประเทศหรืออินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ ที่ปัจจุบันมีกสทเป็นผู้ให้บริการรายเดียว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความไม่พอเพียงและต้นทุนที่สูง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริงเพราะถึงแม้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดไอเอสพี รายใหม่แต่ก็จะได้แต่เพียงคอนเทนต์ในประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้บริการอินเทอร์เน็ตถือเป็นแค่การเชื่อมต่อเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก็ได้ น่าจะทำในลักษณะแค่การจดทะเบียนก็พอเพื่อให้เกิดผู้ให้บริการจำนวนมากเพราะเป็นการให้บริการที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงประชาชนได้
|
|
|
|
|