Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2528
การวางแผนงานธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดเล็กสามารถจะใช้การวางแผนให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่             
 


   
search resources

SMEs




การวางแผนงานนั้นหลายคนเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติสำหรับองค์กรใหญ่เท่านั้น หารู้ไม่ว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กนั้นการวางแผนงานก็เป็นเรื่องจำเป็นเรื่องหนึ่งที่สามารถจะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ดีทีเดียว

การที่จะพิจารณาว่าการวางแผนงานแบบไหนจึงจะเหมาะกับบริษัทแบบใดนั้นก็ต้องอาศัยขั้นตอนต่าง ๆ เข้ามาประกอบการพิจารณา

โดยสรุปแล้วการวางแผนที่ดีย่อมทำให้ธุรกิจนั้นเดินไปได้ตามทางที่รอบคอบ และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าการไม่วางแผน ไม่ว่าขนาดของธุรกิจนั้นจะเล็กหรือจะใหญ่เพียงใดก็ตาม

คงจะยากถ้าจะให้บอกว่า วิธีไหนดีที่สุดในการบริหารบริษัทขนาดเล็ก เพราะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง

องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิจารณาวางแผนการจัดการบริษัทต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จะใช้ตัวหนึ่งตัวใดเป็นแนวทางไม่ได้

องค์ประกอบสำคัญที่นักวางแผนควรจะคำนึงถึง ได้แก่.-

วิธีการบริหาร และความสามารถของประธานบริษัท

บริษัทอาจไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างมีพิธีรีตองมากนักก็ได้ ถ้าหากตัวประธานบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับคนภายในบริษัท และรู้รายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ ในบริษัทเป็นอย่างดี

ความสามารถของกลุ่มเจ้าหน้าที่

ถ้าหากพนักงานในบริษัทไม่มีความสามารถพอ การมีแผนงานที่เป็นระบบรัดกุม จะช่วยได้ ในขณะเดียวกันถ้ามีผู้จัดการเก่ง ๆที่ตัดสินใจได้ดี แผนงานของแต่ละแผนกในบริษัทก็พอจะยืดหยุ่นได้บ้าง ไม่ต้องเข้มงวดมากนัก เพียงแต่มีแผนคร่าว ๆ เพื่อให้ผู้จัดการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

ความซับซ้อนของธุรกิจ

ธุรกิจการขายแบบธรรมดา ๆ อาจยกร่างบนกระดาษธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจในบริษัท ที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง มีระบบงานที่สลับซับซ้อน มีการผันแปรทางการตลาดอยู่ตลอดเวลา และมีการแข่งขันมาก ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นทางการและรัดกุม


ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง

บริษัทที่มีคู่แข่งกระจอก ๆ ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องซีเรียสกับการวางแผนงานอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ถ้ามีคู่แข่งแข็ง ๆ ก็จะต้องมีแผนงานที่ดีเยี่ยม แต่อย่างไรก็ดี เรื่องการตลาดเป็นสิ่งที่ประมาทกันไม่ได้ เพราะบริษัทคู่แข่งที่ทำท่าจ๋อง ๆ อาจจะพบกลยุทธ์ดี ๆ ในการตีตลาด แย่งเอาลูกค้าไปครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะฉะนั้นถ้าอยากยืนยงอยู่ในตลาดการค้า ต้องพยายามคิดว่าคู่แข่งทุกบริษัทเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เพื่อจะได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าและกลยุทธ์ในทางการตลาดอยู่เสมอ

บทบาทของผู้นำ

มีแผนดีก็เท่ากับมีชัยไปครึ่งหนึ่งแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น บทบาทของผู้บริหารก็สำคัญ เพราะถ้าจะว่ากันตามจริง แผนงานก็แค่แผ่นกระดาษ ตัวประธานบริษัทต่างหากที่จะมีบทบาทในการชักพาบริษัทไปสู่ถนนสายไหนก็ได้ ?

ความไม่แน่นอนของธุรกิจ

ขึ้นชื่อว่าธุรกิจ ส่วนใหญ่ยากที่จะหาความแน่นอนตายตัว การวางแผนจึงมีส่วนช่วยได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการขยับขยายกิจการในอนาคต หรือการควบคุมระบบการทำงานของบริษัทให้ดำเนินไปด้วยดี

ความเข้าใจในแผนงาน

เพื่อให้แผนงานที่วางไว้อย่างรัดกุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวประธานบริหารและบุคลากรระดับสูง ๆ ของบริษัทจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับแผนงานให้แจ่มแจ้งถ่องแท้

แผนงานต้องมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อผลที่ได้จากการวางแผนงาน คือแผนนั้นได้มีการวางอย่างยอดเยี่ยม และพิถีพิถันแค่ไหน ความรัดกุมของแผนนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบริษัทเป็นสำคัญ

โดยปกติแล้วโครงสร้างของแผนดำเนินงานในแต่ละบริษัทจะไม่เหมือนกัน ในการพิจารณาว่าโครงสร้างแบบไหน จึงจะเหมาะกับบริษัท ต้องอาศัยขั้นตอนต่าง ๆ ต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา

1. คุณรู้จักธุรกิจของคุณมากน้อยแค่ไหน?

ก่อนอื่นคุณจะต้องเข้าใจถึงความเป็นมาและสถานการณ์ในปัจจุบันของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ว่ามีความแข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหน มีลูกค้าประเภทไหน และอะไรเป็นเหตุให้ลูกค้าซื้อของของคุณ

การที่จะทำความเข้าใจกับธุรกิจอย่างถ่องแท้ คุณจะต้องตั้งคำถามว่า งานนี้ต้องการใครบ้าง ถ้าเป็นโรงงานเล็ก ๆ คนเดียว 2-3 คน ก็อาจจะพอ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องรู้จักคนที่ทำงานกับคุณ ว่าใครเป็นอย่างไร คนที่มีความรับผิดชอบ ทำงานดี ควรจะรักษาเอาไว้ สำหรับการขยายงานในอนาคตเมื่อธุรกิจใหญ่ขึ้น บางครั้งการให้ความรู้เพิ่มเติมแก่บุคลากรก็จำเป็น เพราะจะช่วยให้เขาทำงานในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ทำประโยชน์ให้องค์กรของคุณมากขึ้น เช่น ส่งผู้จัดการฝ่ายขายไปเรียนรู้ทางด้านการตลาดให้มากขึ้น เป็นต้น

2. การกำหนดวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของบริษัทควรจะกำหนดให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถปฏิบัติได้โดยการวางเป็นแนวทางไว้ก่อน ส่วนการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์นั้นจะต้องค่อย ๆ ดัดแปลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ตามสภาพความเป็นจริงและความผันแปรในวงการธุรกิจ

สำหรับบริษัทเล็ก ๆ ตัวประธานบริษัทอาจจะเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์เอง โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากผู้จัดการแผนกต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลจากลูกค้าด้วย

คุณอาจตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 2 ระดับ คือ ระดับแรก เป็นวัตถุประสงค์ที่วางไว้กว้าง ๆ ล่วงหน้าว่า อะไรบ้างที่ต้องการทำให้สำเร็จ ต้องการให้บริษัทเจริญเติบโตมากน้อยแค่ไหน ต้องการให้งบดุลของบริษัทอยู่ในสภาพที่น่าพอใจแค่ไหน คำตอบของคำถามเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการจัดตั้งเป้าหมายของบริษัท

ระดับที่ 2 คือ วัตถุประสงค์ที่วางไว้ในระยะเวลาสั้น ๆ เฉพาะเจาะจงลงไปว่า จะเดินไปถึงเป้าหมายโดยวิธีการใด แต่ละแผนกจะต้องทำอะไรบ้าง ในแผนการดำเนินการระยะยาวจะต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์ทั้ง 2 แบบ คือแบบที่วางไว้กว้าง ๆ ล่วงหน้า กับแบบที่เฉพาะเจาะจงลงไป แต่ว่าในแผนงานประจำปีจะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเสียเป็นส่วนใหญ่

ข้อสำคัญก็คือ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ ในบริษัทที่เป็นตัวจักรสำคัญ อาจจะเข้าร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ด้วย

นอกจากวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว เจ้าของบริษัทอาจจะเสนอวัตถุประสงค์ส่วนตัวเข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ส่วนตัวอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ถ้าหากบริษัทมีเจ้าของหลายคนร่วมกัน วัตถุประสงค์ของแต่ละคนก็ต่างกันไป ดังนั้น การวางแผนของกลุ่มเจ้าของเองก็มีความสำคัญพอ ๆ กับแผนปฏิบัติงานของบริษัท

3. การดำเนินงานของแผนฯ

แผนงานเป็นสิ่งที่แสดงถึงทิศทางของบริษัท ทำอย่างไรจึงจะไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้? ถ้าไม่มีตารางแผนงานกำหนดไว้ว่า ใครควรจะทำอะไร เมื่อไหร่ แผนการดำเนินงานจะต้องเตรียมวิธีการประเมินผลไว้ด้วย เพื่อตรวจสอบว่างานดำเนินไปได้ผลมากน้อยแค่ไหน โดยกำหนดเป็นแบบสอบถามเอาไว้ให้กรอกในรายงานประจำเดือน ผู้จัดการแต่ละแผนกควรจะตรวจสอบการดำเนินงานในแต่ละวัน และแต่ละสัปดาห์ ว่ามีการปฏิบัติไปตามแผนมากน้อยแค่ไหน

4. ข้อเสียที่มักจะมาพร้อมกับการวางแผน

บางครั้งแผนก็มีรายละเอียดมากเกินไปจนปฏิบัติยาก ในแผนอาจจะไม่ได้รวมเอาตัวจักรสำคัญเข้าไว้ด้วย หรือบางแผนก็รัดกุมเกินไป ยืดหยุ่นไม่ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติอึดอัด หรือมุ่งยึดแผนเกินไปจนละเลยตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะมัวแต่มุ่งเอาใจใส่ตลาดใหม่ (ตามที่แผนกำหนด) และที่สำคัญคือฝ่ายวางแผนลืมคิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการวางแผน

ถ้าคุณกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ หรือกำลังจะวางแผนงานของบริษัท สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ ความอดทนใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน งานอย่างนี้รีบร้อนไม่ได้เลย

พยายามศึกษาสภาพการณ์ในบริษัทให้ถี่ถ้วน แล้วค่อย ๆ วางโครงสร้างใหม่ สิ่งที่ต้องกล้าเผชิญคือ ความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างคนสำคัญ ๆ ในบริษัทในการทำแผน ข้อสำคัญที่สุดก็คือ ต้องมีแผนที่ชัดเจนว่า จะใช้ประโยชน์ในสิ่งที่มีอยู่มากที่สุดได้อย่างไร?


คอลัมน์ การจัดการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us