เจ้าพ่อดีเจผู้ที่เคยสร้างตำนานบนหน้าปัดวิทยุ ยุคสมัยของไนท์สปอต
มีเดียพลัส สยามทีวี จนมาถึงออนป้า เป็นที่ ที่จะก้าวสู่โลกดิจิตอลอย่างเต็มตัว
อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่เชื่อในเทคโนโลยี และสร้างโอกาสใหม่ๆ
ด้วยเครื่องมือทั้งฮาร์ดแวร์ และสื่อสารโทรคมนาคม บวกกับพันธมิตรธุรกิจ ที่เขาพยายามผูกสัมพันธ์
เพื่อผันตัวเองไปสู่โลกดิจิตอล
การเปิดตัวโลกดิจิตอลของออนป้า ก็เป็นอีกคำตอบหนึ่งของความพยายามในการก้าวสู่โลกธุรกิจ
ใหม่
จะว่าไปแล้ว ออนป้าเป็น หนึ่งในธุรกิจบันเทิงไม่กี่รายที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพ ที่ไม่แข็งแรงมีหนี้สินจำนวนมาก แต่ตัวของออนป้า ก็เป็นธุรกิจ ที่เอื้อประโยชน์กับบีเอ็นที
ที่อยู่มีเดีย และบรอดคาสติ้ง
การซื้อกิจการของออนป้าในครั้งนี้ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับอิทธิวัฒน์ในเวลานี้
ด้วยเครือข่ายธุรกิจผลิตเทป และวิดีโอของออนป้า ที่จะถูกนำมาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีของดิจิตอล
และสร้างเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่ายในโลกใบใหม่ เป็นสิ่งที่อิทธิวัฒน์เฝ้ารอมาตลอดในช่วงหลายปีมานี้
ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของออนป้า ที่มีการออกหุ้นใหม่เพิ่มเติม
และหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน ทำให้ออนป้าได้เงินมาอัดฉีดก้อนใหญ่ จากพันธมิตรร่วมทุน ที่อิทธิวัฒน์เป็นผู้ไปดึงมาร่วมลงทุน
เงินทุน ที่ได้จากผู้ลงทุน บางส่วนถูกนำไปใช้หนี้ ตามกระบวนการประนอมหนี้
และอีกส่วนถูกนำไปใช้กับก้าวใหม่ของการไปสู่โลกดิจิตอลของออนป้า ที่อิทธิวัฒน์เชื่อว่าจะสามารถอุดจุดอ่อน ที่เป็นปัญหาของออนป้าได้
อิทธิวัฒน์มองว่าปัญหาของออนป้า มีอยู่ 2 ส่วน คือ ปัญหาเรื่องการถูกละเมิดลิขสิทธิ์เทปเพลง และวิดีโอเป็นสาเหตุสำคัญทำให้รายได้ของออนป้า
ลดต่ำลง จากรายได้ ที่เคยทำได้ 1,765 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด 35% แต่มาในปี
2542 รายได้ลดลงเหลือ 737 ล้านบาท และระบบการจัดจำหน่าย ที่ถูกผูกขาดโดยยี่ปั๊ว ที่มีอยู่
10 กว่ารายในตลาดที่สำคัญอิทธิวัฒน์เชื่อว่า เทคโน โลยีจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
กระบวนการนี้เริ่มตั้งแต่การแปลงรายการเพลง และภาพยนตร์ ที่จัดเก็บอยู่ในระบบอนาล็อกให้เป็นระบบ
ดิจิตอล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบ digital asset management ซึ่งการบริหาร
และการจัดเก็บข้อมูลที่จะถือเป็นหัวใจ ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
ภายใต้กระบวนการจัดการนี้ เพลงหรือรายการสารคดี ที่ถูกแปลงจากระบบอนาล็อกมาเป็นดิจิตอลแล้ว
จะถูกส่งไปยัง server farm จะเป็นทั้ง ที่เก็บข้อมูลเพลง และวิดีโอ รวมถึงการแยกภาพ
และเสียง ประโยชน์ ที่ได้จากการทำเช่นนี้ ก็ เพื่อส่งออกไปขายในต่างประเทศ
ซึ่งอยู่ในแผนของ อิทธิวัฒน์ ที่กำหนดไว้ว่า การขยายตลาดไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน
รวมถึงจีน และอินเดีย เพราะเมื่อแยกภาพออกจากเสียงแล้ว จากนั้น ภาพจะใส่เสียงพากษ์เป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศต่างๆ
ที่จะส่งเข้าไปขายได้ทันที โดยรายการต่างๆ ที่ได้ลิขสิทธิ์มา เมื่อแยกภาพ และเสียงออกจากกันแล้วจะส่งต่อไปยังห้องสตูดิโอ
เพื่อพากษ์ หรือใส่ตัวอักษรลงในวิดีโอ
บรรดาอุปกรณ์ server farm นี้จะทำงานอยู่ในห้อง safe room ตั้งอยู่ ที่โรงงานของออนป้า
พระราม 3 เป็นห้องที่มีระบบรักษาความปลอด ภัย ที่แน่นหนา ใช้ลายนิ้วมือเป็นรหัสในการเข้าออก
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง หรือวิดีโอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจเทปเพลง
และวิดีโอ เพราะมันหมายถึงโอกาสของธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ในส่วนของโรงงานผลิตแผ่นซีดีรอมของออนป้า ที่จังหวัดระยอง กระบวนการผลิตของ ที่นี่จะเริ่มตั้งแต่การนำเอาเม็ดพลาสติกมาฉีดเป็นแผ่นพลาสติก
ฉีดสารเคมี เพื่อเคลือบ จากนั้น ข้อมูลที่เพลง หรือภาพยนตร์ ที่เก็บในรูปดิจิตอล ที่อยู่ใน
server farm จะถูกดูดมาใส่ลงในแผ่นซีดีรอม เป็นส่วนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีการผลิต ที่เรียกว่า
Digital Mastering System (DMS)
จากนั้น มาสู่ขั้นตอนของการทำ water marking หรือการทำเครื่องหมายลงในแผ่นแม่พิมพ์ซีดีรอม
ที่จะเป็นลายนิ้วมือ ที่จะติดอยู่ในแผ่นซีดีรอม จะสามารถป้องกันไม่ให้มีการก๊อบปี้ได้
ทำได้แค่การนำไปเล่นเพียงอย่างเดียว จะส่งไปถึงสามารถควบคุมจำนวนผลิต และจำหน่ายได้ตาม ที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์
"ขั้นตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลที่เกิดขึ้นจากการแปลงข้อมูลเพลงหรือ
วิดีโอจากอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล ซึ่งถ้าเป็นระบบอนาล็อกแบบเดิมทำไม่ได้ และก็มีปัญหาเรื่องก๊อบปี้
แต่พอมาเป็น water marking แผ่น ที่ผลิตขึ้นมาไม่ สามารถก๊อบปี้ได้อีกต่อไป"
อิทธิวัฒน์ เล่า
ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้เอง ทำให้อิทธิวัฒน์เชื่อว่า จะสามารถแก้ปัญหาในเรื่องของการถูกละเมิดลิขสิทธิ์
อันจะเป็นประโยชน์ ที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อธุรกิจ "เจ้าของลิขสิทธิ์มั่นใจได้ว่า
สินค้าจะถูกนำไปผลิต และจำหน่ายตามจำนวน ยอด ที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่มีปัญหาเรื่องการถูกก๊อบปี้
สิ่งที่ตามมาก็คือ ลิขสิทธิ์ ที่เราจะได้จากความเชื่อมั่น ที่เราสร้างขึ้น"
อิทธิวัฒน์บอก
กระบวนการผลิต ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอลเหล่านี้ เพื่อเชื่อมโยง ไปถึงระบบจัดจำหน่ายแบบใหม่
ที่ อิทธิวัฒน์นำเอาบีเอ็นที เข้ามารับบทบาท ในส่วนนี้ เรียกว่า ระบบ digital
music express ที่จะเป็นตู้จำหน่ายเพลงอัตโนมัติ ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ server ทำหน้าที่ควบคุม และประมวลผล ลูกค้าจะสามารถเลือกเพลง
และสั่งซื้อเพลงได้จากหน้าจอทัชสกรีน เครื่องจะทำการอัดเพลงลงในแผ่น CD-R
ซึ่งจะเป็นแผ่น ซีดี ที่ใช้อัดบันทึก ลูกค้าจะถือกลับไปฟัง ที่บ้าน
อิทธิวัฒน์จะอาศัยเครือข่ายของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นจุดในการตั้งเครื่อง
digital music express และรับชำระเงิน และส่งมอบสินค้า ที่ลูกค้าสั่งซื้อจากเว็บไซต์ ที่จะถูกทำขึ้น เพื่อรองรับกับลูกค้า ที่สั่งซื้อทางเว็บไซต์
สัมพันธภาพระหว่างอิทธิวัฒน์ และสุภกิต เจียรวนนท์ เป็นไปอย่างดี มากๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายาม
สร้างศักยภาพการแข่งขัน ด้วยความได้เปรียบ ที่เกิดจากพันธมิตรธุรกิจ นอกเหนือไปจากการพัฒนาประสิทธิภาพด้วยเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยี
ระบบ digital music express ถูกควบคุมด้วยระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
เพื่อส่งซอฟต์แวร์เพลง ที่ได้รับลิขสิทธิ์มาจำหน่าย จะถูกส่งผ่านจากบริษัทบีเอ็นที
ที่จะมีเครื่อง server farm เหมือนกับ ที่ออนป้า เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูล เพื่อส่งยังเครื่องจำหน่ายเพลง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
โดยไม่ต้องใช้คนไปเปลี่ยน หรือ update ข้อมูลเพลง เมื่อมีเพลงใหม่ๆ เข้ามา
เพลง ที่จำหน่ายผ่านเครื่องดิจิตอล มิวสิก เอ็กซ์เพรสนี้จะเป็นเพลงประเภท
single เท่านั้น คือ เป็นเพลงประเภท ที่ใช้โปรโมตเทปในช่วงแรก ที่ตัดออกมาจากอัลบั้ม
ไม่ใช่อัลบั้มเพลงทั่วไป โดยจะขายในราคา 4 เพลง 100 บาท
อิทธิวัฒน์บอกว่า ระบบการจัดจำหน่ายแบบนี้เป็นทางเลือกใหม่สำหรับ ทุกค่ายเพลง
ที่จะไม่ต้องผูกติดกับระบบจัดจำหน่ายแบบเดิม ที่มียี่ปั๊วเพียง 10 กว่ารายที่ผูกขาดการจัดจำหน่าย
ด้วยระบบการจัดจำหน่ายแบบเรียลไทม์ จะทำให้เจ้าของค่ายเทป หรือ ศิลปินสามารถรับรู้ข้อมูลการขายได้ตลอดเวลา
ซึ่งก็หมายถึงการนำเอาข้อมูล มาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการตลาดให้กับบรรดาศิลปิน
หรือค่ายเพลง
อิทธิวัฒน์แบ่งบทบาทการทำงาน ระหว่างออนป้า และบีเอ็นที โดยออนป้า จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต และจำหน่ายเทป
ซีดี และวิดีโอ ในขณะที่บีเอ็นทีจะทำธุรกิจมีเดีย และบรอดคาสติ้ง โดยทั้งสองบริษัทจะอาศัยความแตกต่างนี้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบ
สิ่งที่อิทธิวัฒน์ต้องการทำ ก็คือ การเสียบปลั๊ก เครือข่ายการผลิต และ จำหน่ายออนป้าเข้ากับความชำนาญในการติดต่อธุรกิจต่างประเทศของบีเอ็นที
อิทธิวัฒน์บินไปติดต่อกับบริษัท chaina prosperity ซึ่งมีฐานอยู่ในฮ่องกง
เป็นบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮั่งเส็ง ทำธุรกิจด้านวิดีโอออนดีมานด์
และอิน เทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศจีน มีเครือข่ายไปถึงลูกค้าในจีน 30
หลังคาเรือน ที่ตกลงใจจะมาเป็นพันธมิตรในการซื้อซอฟต์แวร์รายการจากออนป้าไปเผยแพร่ในจีน
รวมถึงบริษัทในอินเดีย ที่ต้องการ content ของออนป้าไปถ่ายทอด
และนี่เองนำไปสู่การซื้อหุ้นในบริษัทพาโนรามา และการไปถือหุ้นในบริษัท อิแมจิแมก
ผู้ผลิตการ์ตูน 3 มิติ รวมทั้งร่วมมือกับบริษัท viva ที่เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์
และเพลงในฟิลิปปินส์ในการนำเพลงมาจำหน่ายในไทย ก็ เพื่อต้องการเพิ่มซอฟต์แวร์
content ให้อยู่ในมือให้มากๆ
การเชื่อในประโยชน์ของเทคโน โลยี ทำให้อิทธิวัฒน์เชื่อว่า อีกไม่นาน ผู้ฟังวิทยุจะสามารถฟังรายการในคลื่น
วิทยุเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ ที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด แต่สิ่งที่อิทธิวัฒน์ทำมากกว่านั้น
คือ เขาไปจับมือกับเวิลด์สเปซ เจ้าของดาวเทียม 3 ดวง คือ แอฟิสสตาร์ เอเซียสตาร์
และอเมริกา สตาร์ ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงสัญญาณ ถึงกันทั่วโลก ประโยชน์ ที่ตามมาของ
การร่วมมือกับเวิลด์สเปซ ก็คือ ต่อจากนี้ ผู้ฟังวิทยุในสหรัฐอเมริกา หรือแอฟริกาจะฟังเพลงได้เหมือนกับคนไทย ที่ฟังอยู่ในกรุงเทพฯ
คลื่นความถี่เดียวกัน ไม่ต้องเปลี่ยนช่องเหมือนกับ ที่ทำอยู่ในเวลานี้ และนั่นก็หมายถึง
content ที่เขาพยายามสร้างขึ้นจากพันธมิตร จะมีโอกาสแพร่สัญญาณไปทั่วโลก
ไม่มีพรมแดนอีกต่อไป
และนี่ก็คือ การก้าวสู่โลกดิจิตอลของเขาอีกครั้ง บนเส้นทางสู่ดวงดาวของอิทธิวัฒน์ ที่ติดอาวุธด้วยเทคโนโลยีทันสมัย
การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายดาวเทียมไฟเบอร์ออพติก และพันธมิตร