|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2528
|
|
ในโลกปัจจุบันนี้ถ้าจะพูดถึงประเทศยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีหรือการเงินแล้ว ก็คงไม่อาจจะหลงลืม 2 ประเทศนี้ได้คือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
ถ้าจะกล่าวถึงบริษัทใหญ่ๆ ทางด้านการสื่อสารของญี่ปุ่นแล้ว NTT ก็คงจะต้องนับว่าไม่ใช่บริษัทที่เล็กนัก NTT หรือที่เรียกกันเต็มๆ ว่า NIPPON TELEGRAPH AND TELEPHONE มียอดรายรับดูเหมือนจะตกปีละประมาณ 500,000 ล้านบาท
และถ้าพูดถึงเจ้าพ่อด้านการสื่อสารของอเมริกันแล้วคงไม่มีใครกล้ามองข้าม AT&T (AMERICAN TELEPHONE & TELEGRAPH) ความยิ่งใหญ่ของ AT&T นั้นไม่ต้องพูดกันมาก เพราะความโด่งดังด้านเทคนิคของ BELL LABORATORY ที่มีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรระดับรางวัลโนเบลอยู่จำนวนไม่น้อยก็คงจะไม่มีที่ไหนอีกแล้ว อีกทั้งเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งด้านคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากกลุ่มคนอันชาญฉลาดของ AT & T ทั้งสิ้น
2 ยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารนี้ต่างก็มีตลาดของตนเอง และก็มีเทคโนโลยีระดับยอดสุดไว้ในมือคนละไม่น้อยคงต่างต้องการจะแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ความชำนาญทั้งด้านการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งกันและกันเพื่อยึดครองตลาดการสื่อสารไว้ในมือ จึงเป็นจุดเริ่มที่ 2 ยักษ์ใหญ่นี้หันมาจับมือกัน
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อประธานของ NTT คือนาย HISASHI SHINTO ได้เดินทางไปเยือนนิวยอร์กและได้มีโอกาสสนทนาวิสาสะกับผู้บริหารระดับสูงของ AT & T และก็ได้ก่อให้เกิดข้อตกลงที่จะมีการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารอันทันสมัยและกลยุทธ์ในการเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเข้าสู่ตลาด โดยกำหนดกันว่าน่าจะมีการพบปะกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ยักษ์ทั้ง 2 ยังคงหวังที่จะมีการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับโอกาสในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบ INS (INFORMATION NETWORK SYSTEM) ซึ่งก็หมายถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบ INS ร่วมกันในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย
คอลัมน์ รายงานเทคโนโลยี
|
|
|
|
|