|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2528
|
|
ตลาดของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า “ไมโครคอมพิวเตอร์” นั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ตลาดด้วยกันคือคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่ใช้สำหรับธุรกิจขนาดย่อม คอมพิวเตอร์เพื่อการนันทนาการ ภายในบ้านและตลาดไมโครคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว
ในตลาดแรก เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด มี IBM เป็นเจ้าตลาด ส่วนตลาดของคอมพิวเตอร์ใช้ในบ้านนั้นเป็นการเริ่มเปิดศักราชโดย APPLE และ IBM เองก็พยายามที่จะเข้ามาสอดแทรกในตลาดนี้ด้วยการเสนอเครื่อง IBM PC JUNIOR แต่ก็ต้องถอนตัวออกไปในเวลารวดเร็ว นอกจากนี้ตลาดคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วซึ่งแต่เดิมทุกคนมองว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็ก จริง ๆ แล้วถ้าสามารถสนองตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ก็น่าจะกระตุ้นตลาดนี้ให้โตและขยายตัวได้เหมือนกัน
คุณลักษณะที่สำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วนั้นก็อยู่ที่ว่า ขนาดต้องกะทัดรัด สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้ทุกสถานที่ ระบบไฟควรจะต้องสามารถใช้ไฟจากแบตเตอรี่ได้ ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องที่จะต้องหาปลั๊กไฟมาต่อ ยิ่งปัจจุบันก็ดูเหมือนว่าคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วที่จะออกมาใหม่นี่จะต้องทำงานได้กับโปรแกรมของ IBM อีกด้วยซึ่งถ้าสามารถถ่ายเทข้อมูลกับ IBM แล้วไซร้ ก็ดูเหมือนว่าจะมีทางพิชิตตลาดนี้ได้ไม่ยาก
ในอดีตที่ผ่านมา หลายๆ บริษัทต่างพยายามที่จะแนะนำคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วเข้าสู่ตลาดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น IBM ซึ่งได้พยายามออกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกอย่าง ยกเว้นแต่เพียงขนาดเท่านั้นที่ดูเทอะทะ จึงไม่เป็นที่นิยมของตลาดและคงต้องถอยทัพไปในเร็ววันนี้แน่นอน
ประมาณปี 2527 บริษัท DATA GENERAL ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่เรียกว่า DG/ONE ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดและมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมพอตัวแต่ก็ด้วยอุบัติเหตุทางการตลาด 3 ประการที่ทำให้การขายผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่กว้างขวางนัก ทั้ง 3 ประการนี้ก็คือ การตั้งราคาที่สูงเท่ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM จอภาพก็ไม่มีความคมชัดพอควรและประการสุดท้ายก็เป็นเรื่องที่หลายคนคงนึกแทบไม่ออกคือขนาดของ DISKETTE ที่ DATA GENERAL กล้าหาญนำเทคโนโลยีใหม่มาเสนอต่อลูกค้า คือขนาด 3 นิ้วครึ่ง ที่ไม่เคยมีในมาตรฐานของวงการคอมพิวเตอร์ ก็เลยทำให้ลูกค้าไม่แน่ใจถ้าจะต้องซื้อมาใช้
หลังจากนั้นก็มีผู้ผลิตอีกหลายรายได้พยายามลดความผิดพลาดที่ DATA GENERAL ได้ประสบมา แต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถฉุดตลาดที่เฉื่อยชาให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้อยู่นั่นเอง
แต่บัดนี้ SHARP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งของญี่ปุ่น อาจจะเป็นผู้ปลุกตลาดคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วขึ้นมาก็ได้ โดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ล่าสุดออกสู่ตลาดซึ่งก็คือ PC-7000 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดความผิดพลาดในอดีตของผู้ผลิตรายอื่นๆ เกือบทั้งหมด
PC-7000 มีขนาดพอเหมาะจอภาพสามารถแสดงผลได้ถึง 25 บรรทัด ถึงแม้จะใช้จอภาพแบบ LCD ก็ตาม แต่ความคมชัดก็มีพอประมาณ โดยสามารถปรับมุมของจอภาพได้หลายระดับ และส่วนที่น่าสนใจมากนั้นก็เห็นจะได้แก่ การที่สามารถใช้โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM ได้ทันทีโดยขนาดของ DISKETTE ก็เท่ากันคือเป็นขนาด 5 นิ้วครึ่ง ส่วนราคาก็พอเหมาะพอสมประมาณ 55,000 บาท
SHARP เองนั้นได้พยายามออกแบบ PC-7000 ให้สามารถขยายขีดความสามารถได้โดยอาจจะเชื่อมโยงเข้ากับ HARD DISK ขนาด 10 เมกะไบต์ได้อีกในราคาราวๆ 54,000 บาท และยังอาจจะใช้ PRINTER ขนาดเล็กที่มีความสามารถไม่น้อยทีเดียว ก็ลงเงินเพิ่มอีก 13,000 บาท
ก่อนหน้านี้ SHARP เคยเสนอ PC-5000 สู่ตลาดโดยได้รับความนิยมพอประมาณ เสียแต่ไม่สามารถใช้ได้กับโปรแกรมของ IBM ทำให้ยอดขายไม่สูงนัก
ขณะนี้ PC-7000 เริ่มมีการแนะนำในตลาดเมืองไทยบ้างแล้ว แต่คาดว่าจะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้คงประมาณต้นปีหน้า และถ้าผู้แทนจำหน่ายในประเทศให้ความสนใจและวางแผนการตลาดดีๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็น่าจะปลุกตลาดคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้แน่นอน เพราะเท่าที่ดูในตลาดของเครื่องขนาดเล็กด้วยกันแล้ว ขณะนี้ยังไม่มีบริษัทใดมีสินค้าที่มีศักยภาพพอจะต่อกรได้กับ PC-7000 ได้เลย ซึ่งก็ดูจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับยักษ์ใหญ่อย่างเช่น IBM ที่ละเลยต่อตลาดนี้ แต่ถ้า IBM หันมาสนใจต่อตลาดนี้แล้ว ไม่ว่าใครก็ตาม แม้แต่ SHARP ก็คงสะดุ้งแน่
แต่กว่าจะถึงเวลานั้น SHARP ก็คงจะสามารถสร้างฐานทางการตลาดไว้ได้ไม่น้อยและ SHARP เองก็ต้องขอบใจต่อ IBM เป็นอย่างมากที่ละเลยหรืออาจจะมองตลาดผิดพลาดไปก็เป็นได้
คอลัมน์ รายงานเทคโนโลยี
|
|
|
|
|