Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2528
ไทยรุ่ง ตำนานเสื่อผืนหมอนใบที่เขียนขึ้นโดย "เถ้าแก่หลิ่น"             
 

   
related stories

วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ "พยัคฆ์หนุ่มลำพอง" แห่งค่ายบ้านโป่ง ที่กลายเป็นเสือลำบาก เพราะเครดิตดีเกินไป
วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ "พลาด" แต่ไม่ผิด
เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยกินน้ำตาลแพงที่สุดในโลก? เรากำลังจะเป็นเบาหวานกันทั่วหน้า
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชาวไร่อ้อย...อภิมหาเกษตรกร!!!
อนาคตอุตสาหกรรมน้ำตาล ปล่อยให้ตาย ก็ไม่ได้ จะเลี้ยงก็ยากแสนเข็ญ

   
search resources

ไทยรุ่งเรือง กรุ๊ป
ชิน โสภณพนิช
วิบูลย์ ผาณิตวงศ์
Agriculture




ไทยรุ่งเรืองเคยเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุด

ใหญ่จนวงการอ้อยและน้ำตาลต้องยกให้เป็น “เจ้าพ่อ”

ขณะนั้นกลุ่มไทยรุ่งเรืองมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 11 โรง มีกำลังหีบอ้อยรวมกันประมาณ 70,000 ตันต่อวัน ถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนโรงงานน้ำตาลทั้งหมดที่ประเทศไทยมีอยู่ คือ 42 โรงแล้ว (ขณะนี้มีเพิ่มขึ้นเป็น 44 โรง) และแม้ว่าปัจจุบันกลุ่มไทยรุ่งเรืองจะเหลือโรงงานน้ำตาลอยู่เพียง 9 โรง อันเป็นผลจากเมื่อปลายปี 2525 ไทยรุ่งเรืองดำเนินมาตรการตอบโต้นโยบาย 70/30 ด้วยการประกาศขายโรงงานน้ำตาลของตนทั้งหมด และกลุ่มบ้านโป่งของวิบูลย์ ผานิตวงศ์ รับซื้อไป 2โรง คือโรงน้ำตาลกรุงไทยและโรงน้ำตาลร่วมกำลาภ

ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มไทยรุ่งเรืองก็คงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธกันไม่ได้อยู่ดี

หรือว่าไทยรุ่งเรืองเป็น “แมว 9 ชีวิต” ที่ตายไม่เป็น

เรื่องของกลุ่มไทยรุ่งเรืองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับตำนานเสื่อผืนหมอนใบขนานแท้ดั้งเดิมอีกเรื่องหนึ่ง

ผู้เขียนตำนานนี้ขึ้นชื่อ สุรีย์ อัษฎาธร ประธาน “ตัวจริง” ของกลุ่มไทยรุ่งเรืองในปัจจุบัน ซึ่งคนในวงการมักจะเรียกเขาว่า “เถ้าแก่หลิ่น”

สุรีย์หรือ “เถ้าแก่หลิ่น” เป็นคนจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้งเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นไม่นาน ปัจจุบันเขาอายุอยู่ในวัยช่วงต้น ๆ 70 ร่างผอมเล็ก แต่ก็มีฝีมือทางช่างเครื่องยนต์ติดตัวมาด้วย เมื่ออพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยแล้วจึงได้ยึดอาชีพเป็นช่างกลึงและซ่อมเครื่องยนต์

จากที่เป็นลูกจ้างของเถ้าแก่คนจีนด้วยกัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาก็เริ่มมีอู่ซ่อมเป็นของตนเอง เป็นกิจการเล็ก ๆ แต่ด้วยฝีไม้ลายมือที่หาตัวจับยากในสมัยนั้น จากกิจการเล็ก ๆ ก็ค่อย ๆ เป็นกิจการที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ

จากที่เคยยากจนอย่างมาก ๆ ก็พอจะลืมตาอ้าปากได้บ้างแล้ว

“ช่วงนั้นอู่ซ่อมของเถ้าแก่หลิ่นก็เป็นอู่ที่ลูกค้าเชื่อมือมาก มีชื่อเสียงคู่กันกับอีกอู่ซ่อมหนึ่งคือ กันฟัดเส็ง หรือที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกันฑ์ไพบูลย์นั่นแหละ ถ้าพูดถึงเกี่ยวกับการซ่อมรถ เถ้าแก่หลิ่นก็ถนัดรถเฟียต ส่วนกันฟัดเส็งก็ถนัดรถเบนซ์... คนเก่าในวงการค้ารถยนต์เล่าให้ฟัง

ที่จริงช่วงนั้นเถ้าแก่หลิ่นคงคิดจะเอาดีทางอู่ซ่อมเครื่องยนต์อย่างเดียว เขาคงไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าต่อมาจะต้องมายุ่งกับวงการอ้อยและน้ำตาล เพราะการเข้ามาเกี่ยวข้องกับโรงงานน้ำตาลนั้นก็เป็นเรื่องบังเอิญแท้ ๆ

เถ้าแก่หลิ่นมีลูกค้า 2-3 รายที่เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาล ซึ่งมักจะตามตัวเถ้าแก่หลิ่นไปซ่อมเครื่องจักรในโรงงานอยู่บ่อย ๆ

เป็นโรงงานน้ำตาลที่เก่ามาก เครื่องจักรเสียอยู่เป็นประจำ

ผลสุดท้ายเจ้าของโรงงานน้ำตาลรายหนึ่งก็เลยตัดใจขายโรงงานน้ำตาลทิ้ง เพราะทนค่าซ่อมบำรุงไม่ไหว ผู้ที่รับซื้อคือเถ้าแก่หลิ่น ซึ่งว่ากันว่าเป็นการรับซื้อแบบซื้อเศษเหล็กจริง ๆ

แต่อาศัยที่มีฝีมือทางเครื่องยนต์ เถ้าแก่หลิ่นเมื่อรับซื้อมาแล้วก็จัดการดัดแปลงแต่งซ่อมแล้วก็เดินเครื่องทำโรงงานน้ำตาลต่อไป

เจ้าของอู่ซ่อมก็กลายเป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาล 1 โรงเข้าให้แล้ว

ต่อมาเจ้าของโรงงานน้ำตาลที่ตำบลหนองชาก จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าของอู่เถ้าแก่หลิ่นเหมือนกัน ตัดใจขาย “เศษเหล็ก” ให้อีกโรง ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เถ้าแก่หลิ่นจึงมีกิจการโรงงานน้ำตาลอยู่ 2 โรงด้วยกัน

โรงงานน้ำตาล 2 โรงของเถ้าแก่หลิ่นในช่วงแรก ๆ ล้มลุกคลุกคลานมาก เพราะถึงแม้จะมีฝีมือทางช่างอย่างไรลองว่าเป็นเครื่องจักรเก่าเสียแล้วประสิทธิภาพก็ต้องต่ำเป็นธรรมดา

ราว ๆ ปี 2500 เถ้าแก่หลิ่นจึงถูกฟ้องล้มละลายจากกลุ่มเจ้าหนี้

และเพราะต้องถูกฟ้องล้มละลายนี่เองที่ทำให้เถ้าแก่หลิ่นได้มีโอกาสพบกับชิน โสภณพนิช และประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ แห่งธนาคารกรุงเทพ

เถ้าแก่หลิ่นได้ไปเจรจากับชินและประสิทธิ์ ขอกู้เงินธนาคารกรุงเทพมาปรับปรุงโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจะได้มีกำไรไปล้างหนี้ ซึ่งทั้งชินและประสิทธิ์ก็ยินดีช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ

ทั้งชินและประสิทธิ์ ส่งคนคนหนึ่งเข้ามาประสานงาน

เขาชื่อ สนิท ทองวานิชย์ เป็นคนใกล้ชิดของประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ มาก่อน

สนิท ทองวานิชย์ เข้ามาวางแผนด้านการเงินให้กับเถ้าแก่หลิ่นในเวลาต่อมา ขณะนี้กลุ่มไทยรุ่งเรืองได้ดึงตัวสนิทจากธนาคารกรุงเทพมาร่วมงานกับไทยรุ่งเรืองเต็มตัวแล้ว โดยมีตำแหน่งเป็นทางการอยู่ที่โรงงานน้ำตาลหนองชาก ชลบุรี แต่ในความเป็นจริงสนิทยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาระดับมือขวาของเถ้าแก่หลิ่นเหมือนเดิมทุกประการ

ก็พูดกันว่า สนิท นั้นเป็นคนที่เถ้าแก่หลิ่นให้ความไว้วางใจมาก อาจจะมากเสียยิ่งกว่าลูก ๆ ของเถ้าแก่หลิ่นด้วยซ้ำไป

สนิท มีเชื้อสายจีน ชื่อเดิมชื่อเซียมมก แซ่แต้ เคยเช่าบ้านเป็นห้องแถวคูหาเดียวอยู่ติด ๆ กับสำนักงานทนายความมนูกิจของประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ที่นางเลิ้ง จึงรู้จักคุ้นเคยกัน

ต่อมาประสิทธิ์ได้ดึงสนิทกับพี่ชายอีกคนหนึ่งไปช่วยงานที่ธนาคารกรุงเทพ

พี่ชายของสนิทได้ทำงานในฝ่ายประเมินทรัพย์สิน ปัจจุบันเกษียณอายุไปจากธนาคารแล้ว ส่วนสนิทก็ทำหน้าที่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ในกิจการที่ธนาคารกรุงเทพหรือประสิทธิ์มีเอี่ยวอยู่

อย่างเช่นที่เข้าไปในกลุ่มไทยรุ่งเรืองนี้ เป็นต้น

เพียงแต่เผอิญเข้าไปแล้วก็ไม่ได้กลับมาธนาคารกรุงเทพอีกเท่านั้น

“ส่วนความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นกับแบงก์หรือประสิทธิ์ ทุกอย่างยังเป็นปกติตลอดมาจนทุกวันนี้ และบางทีแบงก์กรุงเทพกับประสิทธิ์ก็คงอยากให้สนิทไปอยู่ไทยรุ่งเรืองเต็มตัวด้วยก็เป็นได้...” เพื่อนเก่าของสนิทบอกกับ “ผู้จัดการ”

สนิทอยู่ไทยรุ่งเรืองอย่างที่พยายามจะ LOW PROFILE มาก ๆ เขาไม่เปิดเผยศักดิ์ศรีที่แท้จริงและไม่มีใครในไทยรุ่งเรืองที่อยากจะพูดถึงศักดิ์ศรีที่แท้จริงของเขา

แต่คนในวงการก็ทราบกันดีว่า สนิท คือ “กุนซือ” ที่สำคัญที่สุดของไทยรุ่งเรือง

“การขยายอาณาจักรจากโรงงานน้ำตาล 2 โรงมาเป็นโรงงานน้ำตาล 11 โรง ก็เป็นเรื่องที่สนิทอยู่เบื้องหลังเป็นส่วนใหญ่ เขาวิ่งประสานระหว่างเถ้าแก่หลิ่น ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ธนาคารกรุงเทพ และกลุ่มผู้มีอำนาจเพราะการตั้งโรงงานน้ำตาลมันจะต้องมีการวิ่งเต้นขอใบอนุญาต จะเพิ่มกำลังผลิตก็ต้องขออนุญาต ก็เป็นธรรมดาที่กลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมืองจะต้องยื่นมือเข้ามายุ่ง อีกทั้งการค้าน้ำตาลมันก็พูดกันเป็นพันล้านหมื่นล้านด้วย...”

หรือแม้แต่ท่าทีของกลุ่มไทยรุ่งเรืองในระยะหลัง ๆ นี้ ก็เป็นแผนที่ออกมาจากสมองของสนิทอีกนั่นแหละ

เถ้าแก่หลิ่น เริ่มร่ำรวยจากกิจการโรงงานน้ำตาลในยุคที่ผู้ปกครองประเทศคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ก็เป็นธรรมดาของคนร่ำรวยในยุคนั้น (ทุกยุคแหละ) ที่จะต้องพยายามสร้างสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัว

เถ้าแก่หลิ่นจึงเป็นคนหนึ่งที่วิ่งเข้าหาจอมพลสฤษดิ์

ครั้นเมื่อหมดยุคจอมพลสฤษดิ์ มาถึงยุคจอมพลถนอม ก็วิ่งเข้าหาจอมพลถนอม โดยอาศัยเส้นสายทางหลวงจบกระบวนยุทธ พ่อตาจอมพลถนอมเป็นทางผ่าน

ยุค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งรัฐบาลจอมพลถนอมคว่ำและศูนย์อำนาจกระจัดกระจายไม่มีใครมีบารมีแก่กล้าเหมือนจอมพลสฤษดิ์หรือจอมพลถนอม-จอมพลประภาส จึงเป็นยุคที่กลุ่มไทยรุ่งเรืองของเถ้าแก่หลิ่น กระอักกระอ่วนอย่างมาก ๆ

“จากที่เคยเข้าใกล้ชิดใครคนใดคนหนึ่ง ก็กลายเป็นว่าจะต้องใกล้ชิดไว้หลาย ๆ คน ยุคนั้นเถ้าแก่หลิ่นก็อาศัยบารมีของคน 3 คนคุ้มครองกิจการ คือ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และก็พลเอกกฤษณ์ สีวะรา...” คนวงในเล่าให้ฟัง

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ตอนนั้นมีตำแหน่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้าของวลี “ยุ่งตายห่ะ”

พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ก็เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกฯ และยังได้ร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงก่อน 6 ตุลาคม 2519 ด้วย

ส่วนพลเอกกฤษณ์ สีวะรา ก็มีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก

ก็น่าจะพูดได้ว่ายุคหลัง 14 ตุลาฯ นั้น เถ้าแก่หลิ่นจับศูนย์อำนาจที่กระจัดกระจายเอาไว้ทุกส่วนจึงอยู่รอดปลอดภัยมาได้จนทุกวันนี้

เถ้าแก่หลิ่นอุ้มชูคนให้ได้ดิบได้ดีมาแล้วหลายคน

มีคนหนึ่งเคยเป็นคนขับรถประจำตัวของเถ้าแก่หลิ่น ปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือจนร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีระดับร้อยล้านไปแล้ว

คนคนนี้ชื่อ สุวิทย์ นววงศ์ เจ้าของโรงงานผลิตเครื่องดื่มวีทาโก

ส่วนอีกคนก็คือ “เสี่ยกัง”

โรงงานน้ำตาลที่อำเภอปราณบุรีของ “เสี่ยกัง” เป็นโรงงานที่เถ้าแก่หลิ่นให้ความช่วยเหลืออย่างมากจึงตั้งขึ้นมาได้สำเร็จ

แต่เถ้าแก่หลิ่นเป็นคนอาภัพในเรื่องทายาทผู้จะต้องทำหน้าที่สืบทอดดูแลกิจการแทนอย่างมาก ๆ

เถ้าแก่หลิ่นมีลูกชายหลายคน ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีคนไหนที่มีฝีมือพอจะรับช่วงดูแลกิจการทั้งเครือแทนเถ้าแก่หลิ่นได้ คงมีก็แต่สะใภ้ที่ชื่อ ชนิดา อัษฎาธร เท่านั้นที่พอจะมีบทบาทอยู่บ้าง

เหลียวมองไปรอบ ๆ ตัวแล้ว ในขณะนี้เถ้าแก่หลิ่นก็มีแต่สนิท ทองวาณิชย์ เป็นมือขวา ส่วนชนิดา ก็เป็นมือซ้าย

ซึ่งก็คงไม่พ้นที่จะต้องถูกตั้งข้อสังเกตอย่างไม่ค่อยจะดีนักจากลูกชายและสะใภ้คนอื่น ๆ ของเถ้าแก่หลิ่น

ในช่วงที่กลุ่มไทยรุ่งเรืองต้องเผชิญกับนโยบายแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลที่เรียกว่านโยบาย 70/30 เถ้าแก่หลิ่นจึงคิดว่าจะวางมือจากวงการจริง ๆ

“แน่นอน เขาก็อยากประชดคุณจิรายุด้วย เพราะนโยบายนี้กลุ่มไทยรุ่งเรืองเสียประโยชน์มาก แต่ถ้ามีคนซื้อโรงงานเขาทั้ง 11 โรงเขาก็เอา เพราะอยู่ไปมันก็ไม่มีอนาคต ขาดทั้งคนดูแลและโอกาสแสวงหากำไรมันก็แคบลง...” คนในวงการอ้อยและน้ำตาลพูดกัน

นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา สถานการณ์ของกลุ่มไทยรุ่งเรืองเป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเร็วมาก

ไทยรุ่งเรืองเริ่มต้นด้วยอาการเพลี่ยงพล้ำในช่วงปลายปี 2525

แต่ก็กลับตีตื้นขึ้นมาได้ในยุคที่อบ วสุรัตน์ ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปสำหรับกลุ่มไทยรุ่งเรือง ในเมื่อขณะนี้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ที่ไม่เคยยอมลงให้กับกลุ่มไทยรุ่งเรือง

บางทีสิ่งที่เรียกว่า “แมว 9 ชีวิต” อย่างไทยรุ่งเรือง อาจจะต้องมีการพิสูจน์กันอีกสักครั้งแล้วในระยะใกล้ ๆ นี้


คอลัมน์ อุตสาหกรรมการเกษตร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us