|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2528
|
|
ยังคงจำกันได้ว่าสมัยที่เรามีรองนายกชื่อบุญชู โรจนเสถียร และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ชื่อตามใจ ขำภโต ในปี 2523
คนไทยต้องซื้อน้ำตาลกินกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท แถมยังหาซื้อไม่ค่อยได้
ยังจำได้ไหมว่าน้ำตาลทรายที่แสนแพงนั้น สีมันตุ่น ๆ เหมือนรำข้าว
และคงจำได้ว่าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ที่ซื้อหาได้ภายหลัง เม็ดมันเล็กและขาวกว่าน้ำตาลทรายขาวที่เคยพบเห็นกันมา เนื่องจากเป็นน้ำตาลทรายที่สั่งเข้ามาเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปี
ทั้งบุญชู โรจนเสถียร และตามใจ ขำภโต โดนคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์จิกหัวแช่งด่าไม่เว้นแต่ละวันในความผิดที่ตัวเองไม่ได้ทำ
ตั้งแต่ปี 2524 โดยเฉพาะปี 2525 ที่มีการตั้งสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวที่เรียกสั้น ๆ ว่าสำนักงานกลางขึ้นมา
คนไทยก็ชินกับราคาน้ำตาลทรายขาวกิโลกรัมละ 12 บาท หรือถ้าอย่างขาวบริสุทธิ์ (ตามมาตรฐานของเมืองไทยคือขาวกว่าที่เรียกว่าน้ำตาลทรายธรรมดานิดหน่อย) ก็ตกกิโลกรัมละ 14 บาท จะแพงจะถูกกว่านี่แค่บาทสองบาท
คนไทยก็สบายใจว่าได้กินน้ำตาลทรายถูก และมีราคาคงที่ไม่วิ่งขึ้นวิ่งลงเหมือนสมัยก่อน
เดิมทีนั้นราคาน้ำตาลเมืองไทยมีขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างค่อนข้างผิดธรรมชาติเมื่อเทียบกับการขึ้นลงของราคาน้ำตาลทรายตลาดโลก
ทุกวันนี้ที่ราคาน้ำตาลทรายในประเทศไม่ค่อยกระดิก ก็เพราะเรามีสำนักงานกลางเป็นผู้ดูแล โควตาการผลิตน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลทุกแห่งว่าจะต้องผลิตน้ำตาลทรายขาวเท่าไหร่ น้ำตาลทรายดิบเพื่อส่งออกเท่าไหร่
ตั้งราคาให้เสร็จสรรพว่า น้ำตาลทรายขาวธรรมดาราคาหน้าโรงงานต้องกระสอบละ 1,100 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ต้องกระสอบละ 1,200 บาท
แต่จะให้ชมว่าสำนักงานกลางทำดี คงชมได้ไม่ถนัดปาก
เพราะตั้งแต่ใช้ระบบ 70/30 คือแบ่งผลประโยชน์จากการผลิตและขายน้ำตาลทุกประเภทให้ชาวไร่ 70 เปอร์เซ็นต์ โรงงาน 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทุกฝ่ายรู้ไส้กันหมด
ราคาน้ำตาลตลาดโลกต่ำ โรงงานไหนแหกคอกแอบผลิตน้ำตาลทรายขาวเกินโควตา มีหวังโดนรุมอัด เพราะเท่ากับไปเบียดเบียนผลประโยชน์ของโรงงานอื่น ชาวไร่กลุ่มอื่น
แต่ถ้าราคาน้ำตาลตลาดโลกสูงขึ้นมาก ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าสำนักงานกลางจะคุมอยู่หรือเปล่า? เพราะความต้องการของตลาดโลกมันสูงแน่ถ้าราคาน้ำตาลมันสูงขึ้น และเป็นตลาดที่โรงงานน้ำตาลเมืองไทยผลิตเท่าไหร่ขายได้หมด
ไม่เหมือนตลาดภายในที่บริโภคกันเต็มที่ไม่เกิน 7 แสนตันต่อปี ขืนฮั้วกันแอบผลิตน้ำตาลทรายขาว มันจับได้ง่าย
ราคาตลาดโลกที่พูดกันบ่อย ๆ มักจะอ้างอิงจากราคาน้ำตาลทรายดิบที่ตลาดนิวยอร์ก ซึ่งปีนี้เท่าที่ตัวเลข “ผู้จัดการ” มีอยู่ ราคาสูงสุดอยู่ในเดือนมีนาคมเท่ากับ 3.78 เซ็นต์ต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์ (3.78 เซ็นต์/ปอนด์)
หากจะเอามาเทียบกับราคาน้ำตาลในประเทศไทยก็ต้องคำนวณกันหน่อยเพราะต่างกันทั้งสกุลเงินและหน่วยของน้ำหนัก
น้ำตาลทรายเมืองไทย 1 กระสอบหนัก 100 กิโลกรัม หรือ 220.5 ปอนด์ (1 กิโลกรัมเท่ากับ 2.205 ปอนด์) น้ำตาลทรายในตลาดนิวยอร์กจึงมีราคากระสอบละ 8 ดอลลาร์กับ 33 เซ็นต์ (เอา 3.78 คูณ 220.5 และปรับเซ็นต์เป็นดอลลาร์ ตามมาตราสกุลเงินสหรัฐ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 100 เซ็นต์)
เปลี่ยนจากดอลลาร์เป็นเงินบาท ตีเสียว่า 1 ดอลลาร์เท่ากับ 27 บาทเป๊ะก็พอได้ตัวเลขคร่าว ๆ ว่าราคาน้ำตาลทรายดิบที่ตลาดนิวยอร์กตกกระสอบละ 224 บาทกับอีก 91 สตางค์ หรือกิโลกรัมละ 2 บาท 25 สตางค์
ดังนั้นถ้าอิงตามราคาตลาดโลก ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในเมืองไทยราคาควรจะเท่ากัน เพราะต้นทุนผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มันแค่ 45 บาท ต่อน้ำตาลทรายดิบ 1 ตัน หรือกิโลกรัมละ 4 สตางค์ครึ่ง
พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย ท่านยังคิดว่าท่านกินน้ำตาลทรายถูกอยู่อีกหรือ?
นี่ถ้า “ผู้จัดการ” ไปบอกป้าแช่มที่ขายบัวลอยไข่หวานใกล้ออฟฟิศว่า “ป้า...ถ้าคิดตามราคาน้ำตาลทรายตลาดโลก ป้าจะซื้อน้ำตาลทรายขาวได้ไม่เกินกิโลฯ ละ 3 บาท” ป้าแกคงหัวเราะจนฟันหัก
นี่เอาตัวเลขสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2528 มาคำนวณแล้วนะ
ตอนนี้ก็ได้ข่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเขากำลังหารือว่าทำอย่างไรจะทำให้คนไทยกินน้ำตาลให้มากขึ้น เพื่อจะได้เอารายได้จากน้ำตาลทรายขาวไปโปะกับรายได้จากการส่งออก เพื่อลดการขาดทุนของโรงงานน้ำตาลและเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ขายอ้อยราคาดีขึ้น
พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย จงเตรียมตัวเตรียมใจเป็นโรคเบาหวานกันได้แล้ว
จงร่วมมือร่วมใจเป็นโรคเบาหวานเพื่อชาติกันหน่อยเถอะ
คอลัมน์ อุตสาหกรรมการเกษตร
|
|
|
|
|