|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2528
|
|
“บ้านโป่ง” เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี บ้านเกิดของพี่น้องตระกูล “ผาณิตพิเชฐวงศ์” และเป็นที่มาของชื่อ “บริษัทโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง” ที่เปรียบเสมือนบริษัทแม่ของโรงงานน้ำตาลในเครืออีก 5 โรง หรือที่นิยมเรียกกันว่ากลุ่มบ้านโป่ง ใน พ.ศ. นี้
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2506 สุรีย์ อัษฎาธร แห่งกลุ่มน้ำตาล “ไทยรุ่งเรือง” เอกชนที่บุกเบิกสร้างโรงงานน้ำตาลยุคเริ่มต้น ได้ย้ายโรงงานแห่งแรกของตน คือโรงงานน้ำตาลร่วมกำลาภ จากซอยพร้อมพงศ์ กรุงเทพฯ ไปตั้งที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ปี 2510 ได้สร้างโรงงานน้ำตาลอีก 12 โรง ในเขตอำเภอเดียวกันคือโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง อุตสาหกรรม และโรงงานกรุงไทย
ผลของการตั้งโรงงานน้ำตาลทั้ง 3 โรง ที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง ได้หันมาปลูกอ้อยเพื่อป้อนโรงงานมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากได้ราคาดีและแน่นอนกว่าการปลูกพืชผลเกษตรอื่นในช่วงนั้น
“พวกตระกูลผาณิตพิเชฐวงศ์ เขามีพื้นเพมาจากชาวไร่อ้อย ทำไร่แล้วมีปัญหากับโรงงานไทยรุ่งเรือง ซึ่งตอนนั้นมีอยู่โรงงานเดียวที่กาญจนบุรี ก็เริ่มรวมกลุ่มกันในหมู่ญาติพี่น้อง ซื้อโรงงานทำน้ำตาลทรายแดง แต่ไม่เป็นที่นิยมของตลาดและผลผลิตต่ำ จึงไปรวมกับพวก ว่องวัฒนะสิน และ ว่องกุศลกิจ” แหล่งข่าวในวงการน้ำตาลรุ่นเก๋าเล่าให้ฟัง
ในรุ่นแรกของการรวมกลุ่มกันของ 3 ตระกูลนี้ เป็นรุ่นของ “พี่ใหญ่” ของแต่ละตระกูล ได้แก่ พี่ผาณิต พิเชฐวงศ์ วิเทศ ว่องวัฒนะสิน และกมล ว่องกุศลกิจ ร่วมกันตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานน้ำตาลมิตรผล
ปี 2514 ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานน้ำตาลมิตรผลได้รับพนักงานหน้าใหม่ที่เพิ่งเรียนจบปริญญาโททางการเกษตร จากมหาวิทยาลัย FLORIDA สหรัฐฯ ที่ชื่อวิบูลย์ ผาณิตพิเชฐวงศ์ และในเวลาไล่เลี่ยกันวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ ที่เพิ่งจบจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง 2 คนนี้ต่างเป็นน้องของกลุ่มที่ร่วมกันก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผล
กิจการในช่วงนี้ของโรงงานน้ำตาลมิตรผลไปได้ดีมาก จนในปี 2517 ได้ขยายออกไปตั้งโรงงานน้ำตาลไทย บ้านโป่งและมิตรเกษตร พร้อมกับชื่อเสียงของวิบูลย์ ผาณิตพิเชฐวงศ์ ขจรขจายในหมู่นักธุรกิจน้ำตาล ว่าเป็นคนหนุ่มที่มีความรู้เรื่องน้ำตาล รวมทั้งมีฝีมือในการบริหารจัดจ้านผิดวัย
ปี 2518 มีเหตุการณ์ทางการเมืองกำลังวุ่นวาย เศรษฐกิจโลกกระทบกระเทือนจากการที่กลุ่มโอเปกประกาศขึ้นราคาน้ำมัน แต่ราคาพืชผลเกษตรกลับดีมาก โดยเฉพาะราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลก โรงงานน้ำตาลทุกกลุ่มต่างกอบโกยกำไรกันทั่วหน้า เร่งส่งออกน้ำตาลทรายดิบเป็นการใหญ่จนน้ำตาลในประเทศขาดแคลน
ก็เหมือนกับหลายต่อหลายธุรกิจที่ในช่วงก่อร่างสร้างกิจการ ต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกันเต็มที่ ครั้นเมื่อกิจการเจริญก้าวหน้า ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ผู้ที่ร่วมก่อตั้งกิจการก็อยากจะแยกกันไปสร้างอาณาจักรของตัวเอง
กลุ่มมิตรผลก็เช่นกัน วิเทศ ว่องวัฒนะสิน ได้แยกตัวออกมาทำโรงงานน้ำตาลไทยและมิตรเกษตร ส่วนตระกูล “ผาณิตพิเชฐวงศ์” และ “ว่องกุศลกิจ” รับเอาโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งและมิตรสยามมาทำ
ปี 2525 เมื่อวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ กลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งอีกครั้ง (ลาออกไปปี 2523) และหลังจากปรึกษากับพี่ ๆ แล้ว อยากที่จะขยายกิจการออกไปให้เต็มไม้เต็มมือ จึงขอซื้อหุ้นทั้งหมดของตระกูล “ว่องกุศลกิจ”
และนี่คือจุดเริ่มต้นของกลุ่มบ้านโป่งอันลือลั่นในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
คอลัมน์ อุตสาหกรรมการเกษตร
|
|
|
|
|