แมทชิ่งฟันด์มีปัญหา บลจ.กรุงไทย เตรียมจัดตั้งกองทุนใหม่ร่วมกับกองทุนเซอร์เบอรัส
จากสหรัฐฯวงเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพื่อลงทุนบริษัทที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ที่ติดอยู่ในรายชื่อลูกหนี้บสท.เป็นหลัก
ยืนยันไม่กระทบกองทุนเก่า กองทุนแมทชิ่ง ฟันด์ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมลงทุนในบริษัทที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้
ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กรุงไทย
พบกับอุปสรรคสำคัญในการลงทุน ผล จากการมีผู้ร่วมลงทุนหลายฝ่าย
เมื่อเกิดการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ในบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี)
ซึ่งต้องได้รับการยอมรับหรือความยินยอมจากทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ มักไม่สามารถตกลงกันได้
ทำให้ บลจ.กรุงไทย
มีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนใหม่ขึ้น มาเพื่อลงทุนในบริษัทที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะ
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานกรรมการบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกรุงไทย
จำกัด
ในฐานะผู้บริหารกองทุนร่วมทุน (แมทชิ่ง ฟันด์) เปิดเผยว่า จากปัญหาข้างต้นบลจ.กรุงไทย
เสนอให้กองทุนเซอร์เบอรัส ประเทศไทย ตั้งกองทุนใหม่ร่วมกับธนาคารกรุงไทย
เพื่อลงทุนบริษัทที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ ตัวเลขเบื้อง ต้นตั้งมูลค่ากองทุนใหม่ไว้ที่
200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.8 พันล้านบาท ขึ้นไป ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาและตกลงสัดส่วนการลงทุน
กำหนดนโยบายการลงทุนให้ชัดเจน คาดว่าธนาคารกรุงไทยจะร่วมลงทุน 25% กองทุนเซอร์เบอรัส
จากแดนมะกัน ประมาณ 75% พร้อมกับยืนยันว่า
การตั้งกองทุนใหม่จะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนส่วนกองทุนแมทชิ่ง ฟันด์ เพราะนโยบายการลงทุนต่างกัน
กองทุนแมทชิ่งฟันด์มีนโยบายลงทุน ด้วยการร่วมทุนบริษัทที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้โดยตรง
ขณะที่กองทุนใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ มีนโยบายการลงทุน เบื้องต้น คือ ซื้อหนี้ราคาส่วนลดจากสถาบันการเงินต่างๆ
เช่นเดียวกับกรณีบริษัทเงินทุนธนชาติซื้อหนี้จากธนาคารดีบีเอสไทยทนุราคาส่วนลดกว่า
50% แล้วบริหาร ทางด้านนายชูพงษ์ กาญจนลักษณ์ ประธานกรรมการ Cerberus Thailand
Llc. กล่าวว่ากองทุนฯ รับพิจารณาข้อเสนอ บลจ.กรุงไทย
และได้ส่งเรื่องให้กองทุนเซอร์เบอรัสที่นิวยอร์กพิจารณาแล้ว ซึ่งได้รับการตอบรับว่าสนใจลงทุน
ในประเทศไทย เพราะเชื่อมั่นว่าจะสร้างผลตอบ แทนระดับดีได้ การตั้งกองทุนใหม่ครั้งนี้
จะทำให้กองทุนฯ
ลงทุนเร็วขึ้น ขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถือเป็นเรื่องที่ดี สำหรับกองทุนเซอเบอรัส
ประเทศไทย กอง ทุนที่ตั้งขึ้นโดยการร่วมทุนระหว่าง Cerberus Asia Capital
Management ธนาคารกรุงไทย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลค่ากองทุน
500 ล้านเหรียญสหรัฐ 64 รายลงทุนได้แค่ 3 ราย ส่วนความคืบหน้าลงทุนของกองทุน
แมทชิ่ง ฟันด์
นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทที่มีรายชื่อจากทีเอเอ็มซี 64 ราย
เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุด และหนี้มากที่สุดในพอร์ต ทีเอเอ็มซี มูลหนี้รวมประมาณ
3
แสนกว่าล้านบาทขณะนี้มีบริษัทที่เข้าลงทุนได้แล้วประมาณ 3 ราย แต่ละรายมูลหนี้ประมาณ
2 หมื่นกว่าล้านบาท อย่างไรก็ตาม มูลค่ากองทุนฯ 500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ
2.2 หมื่นล้านบาท
กองทุนเซอร์เบอรัสลงทุนได้เพียง 5-6 รายเท่านั้นเพราะเวลาเข้าลงทุนแต่ละราย
จะลงทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการแปรรูป บลจ.กรุงไทย คาดว่าจะหาข้อสรุปได้ภายในไตรมาส
3 ปีนี้
ขณะนี้เลือกผู้ร่วมทุน 2 รายได้แล้ว คือผู้ร่วมทุนต่างชาติ 1 ราย และในประเทศ
1 ราย อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดขั้นตอนและเงื่อนไขข้อตกลง การที่ต้องการผู้ร่วมทุนต่างชาติ
ซึ่งเป็น กองทุนต่างชาติ
เนื่องจากต้องการอาศัยเครือข่าย และพัฒนาคุณภาพสินค้าใหม่ใหม่ ส่วนผู้ร่วมทุนในประเทศที่เลือก
เป็นบริษัทประกันขนาดใหญ่ของคนไทย สาเหตุที่เลือกบริษัทประกัน
เพราะเงินทุนมากเป็นฐานทุนให้กองทุนฯ ได้ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารกองทุนฯ
ต้องพิจารณาผลงานทุก 6 เดือน ซึ่ง บลจ.กรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องพิจารณาเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ
การพิจารณา
จะทบทวนตั้งแต่การดำเนินธุรกิจ ผลงานผู้บริหารว่าทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
ปีนี้จะทบทวนครั้งแรกสิ้นมิถุนายนนี้ บลจ.กรุงไทยตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะขยายสินทรัพย์เพิ่มเป็น
1 แสนล้านบาท
จากเดิม 4.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 หมื่นล้านบาท ผลงานผู้บริหารที่ผ่านมา
เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่จะมีผลกระทบหลายเรื่องๆ
ประกอบด้วย กรณีปลดนายวิเชฐ
ตันติวานิช กรรมการผู้จัดการและเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.กรุงไทย เป็นไปตามขั้นที่ต้องพิจารณาตามปกติเมื่อครบกำหนด
6 เดือน แต่การที่เป็นนายวิเชฐนายกสมาคม บลจ.
หรือเป็นกรรมการผู้จัดการกองทุน เป็นคนละส่วนกัน ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยว
ข้องกัน