Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2526
คอมพิวเตอร์รุ่นที่ห้าคืออะไร? ผมคือคอมพิวเตอร์ที่รู้จักคิด             
 


   
search resources

Computer




หัวใจหลักของแผนการยุคที่ห้าก็คือการยืนอยู่บนพื้นฐานแห่งความรู้

ระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลมากมายในแนวทางที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกลไกการแก้ปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในท้ายที่สุด ข้อมูลความรู้เหล่านี้จะแทนค่าโดยสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ง่ายๆ ที่สุดอย่างหนึ่งก็คือวัตถุ “กลุ่มก้อนของการอ้างเหตุผลซึ่งอธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” วัตถุหนึ่งมักจะเชื่อมโยงกับวัตถุอื่นๆ โดยการอ่านสัญลักษณ์ หรือการเชื่อมโยงความทรงจำ การเชื่อมโยงอย่างมีแบบแผน เช่น การแบ่งแยกตามระบบสัตวศาสตร์ หรือพฤกษศาสตร์ แบ่งอย่างมีลำดับชั้นขั้นตอน ยกตัวอย่าง เช่น นกกระจอก คือนกชนิดหนึ่ง ในกรณีนี้ทั้งนกกระจอกและนกต่างก็เป็นวัตถุใต้พื้นฐานความรู้นี้ ถ้าพื้นความรู้บอกไว้ว่า “นกคือสัตว์ซึ่งสามารถบินได้” คอมพิวเตอร์นี้จะลดลงไปโดยอัตโนมัติในข้อมูลที่ว่า “นกกระจอกสามารถบินได้” คอมพิวเตอร์นี้ยังคงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อยกเว้นต่างๆ ซึ่งได้รับการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น นกกระจอก นกเพนกวิน และนกกีวีบินไม่ได้ แต่ก็เป็นนก และนกโดโด้ก็บินไม่ได้แต่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เพราะว่ามันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งเคยอยู่ในตระกูลของนก ดังนั้น จึงต้องป้อนข้อมูลบรรจุไว้ในพื้นความรู้ด้านสัตวศาสตร์

สัญลักษณ์ธรรมดาๆ และมีประโยชน์ยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ กฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ประกอบไปด้วยการรวบรวมหมวดหมู่ถ้อยคำในส่วนที่เรียกว่า “ถ้า” และข้อสรุปอีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ดังนั้น” ตัวอย่างเช่น “ถ้าเพดานหมอกต่ำกว่า 700 ฟุต และถ้าไม่พยากรณ์อากาศจัดการแก้ไขโดยด่วนภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น การลงจอดของเครื่องบินก็จะเป็นเรื่องอันตราย มีผลเสียต่อระบบการจราจรทางอากาศ และการลงจอดในสนามบินใกล้เคียงจึงเป็นสิ่งจำเป็น” เพื่อที่จะหาว่า ถ้ากฎเกณฑ์นี้อยู่ในประเด็นเดียวกันกับเหตุผลที่มีอยู่แล้ว โปรแกรมการแก้ไขปัญหาจะต้องพิเคราะห์ไปในเรื่องของการรวบรวมข้อมูล “ถ้า” ไว้ในพื้นความรู้

เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าจะจัดการเก็บพื้นความรู้ล่าสุดเอาไว้ กฎเกณฑ์นับพันๆ ข้อและวัตถุนับพันๆ อย่างจะถูกบรรจุเข้าไปไว้ วัตถุแต่ละอย่างก็มีคำอธิบายเป็นอักษรนับพันตัวในส่วนที่เก็บไว้สำหรับรวบรวมข้อมูล (ดังนั้น นอกจากจะมีคำอธิบายว่า นกกระจอกบินได้แล้ว ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับอุปนิสัย การแพร่พันธุ์ เส้นทางการอพยพ และอื่นๆ อีกมากมายเกี่ยวกับตัวมัน) ถ้าพื้นความรู้นี้มีมากเกินกว่าจะบรรจุไว้ในอักษรพันตัวนี้ ก็จะมีการแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นส่วนเล็กๆ เช่น อาจแยกนกกระจอกออกเป็นนกกระจอกริมรั้ว นกกระจอกทุ่ง และอื่นๆ แต่ว่าแต่ละส่วนนี้ก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลอธิบายด้วยลักษณะที่พร้อมมูลเช่นเดียวกับวัตถุทั่วๆ ไป

ในช่วงระยะสิบปีของการดำเนินไปตามแผนการนี้ จุดมุ่งหมายของญี่ปุ่นก็เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถด้านการรวบรวมพื้นความรู้ซึ่งสามารถให้กฎเกณฑ์ข้อวินิจฉัยนับหมื่นๆ อย่าง และวัตถุนับร้อยล้านชนิด หน่วยงานแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาซึ่งแสดงความสนใจที่จะได้เป็นตัวแทนของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ได้แสดงข้อคิดเห็นเอาไว้ว่า การรวบรวมข้อมูลมากมายอย่างนี้ บันทึกความจำจะเก็บรวบรวมข้อมูลได้เท่า ๆ กับสารานุกรมบริแทนนิกาทีเดียว (ENCYCLOPAEDIA BRITANNICA)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us