Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 เมษายน 2545
จี-สโตร์ : ยุทธศาสตร์เชิงรุกยักษ์ค้าปลีกเปิดสงคราม (ตอนที่ 1)             
 


   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Retail




ธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วงก่อนปี 2500 รูปแบบการค้าปลีก เป็นเพียงร้านค้าห้องแถวที่รู้จักในนามร้านโชวห่วย ต่อมานำแนว คิดค้าปลีกแบบตะวันตกพัฒนาการจำหน่ายสินค้า

ทำให้เกิดห้างสรรพสินค้าครั้งแรกในประเทศไทย และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงจากกลุ่มผู้บริโภค ต่อมาพัฒนาการอีกครั้ง

สู่รูปแบบศูนย์การค้าที่มีทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในอาคารเดียวกัน จากนั้น ศูนย์ การค้าพัฒนาเป็นชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ ที่นอกจากประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าและร้านค้า ยังมีอาคารสำนักงาน

โรงภาพยนตร์ สวนสนุก และศูนย์อาหาร เป็นต้น จากนั้นช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวค่อนข้างสูงช่วงปี 2530-2539 ธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยริเริ่มพัฒนาช่องทางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายรูปแบบ

ส่วนใหญ่ร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าสะดวกซื้อ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ไฮเปอร์-มาร์เก็ต หรือร้านค้าเฉพาะอย่าง เป็นต้น จนกระทั่งปี 2540

ที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ต่างชาติซึ่งเดิมเป็นผู้ถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ปรับขยับเพิ่มขึ้นเหนือผู้ร่วมทุนชาวไทยปัจจุบัน ขยายสาขา

อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดย เฉพาะรูปแบบดิสเคานต์สโตร์ ที่จำหน่ายสินค้าราคาถูก ที่รองรับความต้องการผู้บริโภคยุคประหยัดอย่างดี

ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก ที่ตั้งบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านโชวห่วย ซึ่งเป็นค้าปลีกรูปแบบดั้งเดิมที่ไม่สามารถปรับตัวรับกับการแข่งขันที่รุนแรงได้ ต้องปิดกิจการจำนวนไม่น้อย

ล่าสุดกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่อย่างดิสเคานต์สโตร์และคอนวีเนียน สโตร์บางราย ขยายตัวไปสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดบริการร้านค้าสะดวกซื้อ หรือจี-สโตร์ (G-store : Gas Station Store)

ที่เดิมส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเองของบริษัทผู้ค้าน้ำมัน หรือเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน แล้วอย่างเป็นทางการ ทำให้ร้านค้าดั้งเดิมอย่างโชวห่วย ต้องเผชิญการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากจี-

สโตร์ที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการค้าปลีกที่เชี่ยวชาญระดับโลก ขยายตัววงกว้างขึ้นจากใจกลางเมือง ออก ไปจนถึงชานเมือง และต่างจังหวัด นอก จากเขตหัวเมืองใหญ่ ขณะนี้สัดส่วน จี-

สโตร์สถานีบริการน้ำมันเมืองไทยยังไม่ถึงร้อยละ 35 ของจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ จี-สโตร์ยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก คอนวีเนียนสโตร์-สถานีบริการน้ำมัน : สร้างพันธมิตร : เสริมศักยภาพ

คอนวีเนียนสโตร์สถานีบริการน้ำมัน หรือจี-สโตร์ (G-store : Gas Station Store) เป็นรูปแบบธุรกิจค้าปลีกที่เข้าสู่เมืองไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว เปิดบริการ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้า

อุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ภายในสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทผู้ค้าน้ำมันแต่ละแห่งต่างพยายามสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้โดดเด่น

เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคที่ใช้บริการ โดยเฉพาะออกแบบร้านด้วยสีสันสดใส การวางสินค้าภายในร้าน และพัฒนารูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ของตนเองต่อเนื่อง

การขยายตัวของบริษัทผู้ค้าน้ำมันสู่ธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ เป็นผลจากสถาน การณ์แข่งขันที่ทวีความรุนแรงของสถานีบริการน้ำมัน ประกอบกับค่าการตลาดที่ผู้

ประกอบการเคยได้รับจากบริษัทผู้ค้าน้ำมันลดลงมาก ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันต้องเสริมบริการด้านอื่นๆควบคู่ด้วย ในลักษณะระบบสถานีบริการครบวงจร ได้แก่ ให้บริการล้างอัดฉีด

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น ตรวจเช็กเครื่องยนต์ หรือ บริการห้องน้ำที่สะอาด รวมถึงการค้าปลีก รูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ หรือที่รู้จักกันในนาม จีสโตร์ ด้วย

ตลาดคอนวีเนี่ยนสโตร์สถานีบริการน้ำมันในไทยปี 2544 สาขาทั้งหมดประมาณ 1,000 แห่ง ผู้ประกอบการคอนวีเนียนสโตร์สถานีบริการน้ำมันในไทย แบ่งตามลักษณะการมีพันธมิตรเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ

1. จี-สโตร์ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทผู้ค้าน้ำมัน กับกลุ่มโมเดิร์น เทรด ได้แก่ - บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมกันดำเนิน

การจี-สโตร์ภายใต้ชื่อเซเว่นอีเลฟเว่น ก่อนหน้านี้ ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทค้าน้ำมันที่มีสถานีบริการมากที่สุดในไทยกว่า 1,400 แห่ง มีจี-สโตร์หลากหลายยี่ห้อ เช่น พีทีทีมาร์ท สินสยาม จอย ไดโนมาร์ท เอเอ็ม

พีเอ็ม ต้นปี 2545 ปตท. ปรับยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อแข่งขันธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ด้วยการเลิกทำแฟรนไชส์กับเอเอ็ม-พีเอ็มที่มีทั้งหมด 51 สาขาใน ปตท. ร่วมมือกับเซเว่นอีเลฟเว่นแทน นอกจากนี้

คอนวีเนียนสโตร์ในสถานี บริการที่ดำเนินการโดยดีลเลอร์ ปตท. อีกกว่า 50 แห่ง เซเว่นอีเลฟเว่น กับ ดีลเลอร์กำลังอยู่ระหว่างเจรจากัน บริษัท

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่นตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 300 แห่งภายในปี 2545 เพิ่มเป็น 700 แห่งปี 2546 จากจุดแข็ง ปตท.ที่มีสถานีบริการน้ำมันกระจายทุกจังหวัด

และอำเภอหลักๆ มากที่สุดในไทยถึง 1,428 แห่ง ประกอบกับคุณภาพน้ำมันเป็นที่ยอมรับในตลาด ขณะที่จุดแข็งเซเว่นอีเลฟเว่น คือ ระบบและเทคโนโลยีทันสมัย

อีกทั้งเป็นที่รู้จักและยอมรับกลุ่มผู้บริโภคนานแล้ว คอนวีเนียนสโตร์ในสถานบริการน้ำมันที่เป็นการร่วมมือกันของกลุ่มนี้ น่าจะเติบโต ได้ไม่แพ้รายอื่นๆ และน่าจับตามองอย่างใกล้ชิด - บริษัท เอสโซ่

(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับเทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เอสโซ่เป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งที่เห็นแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกภายในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดลูกค้า

และเสริมภาพลักษณ์บริษัทนานแล้ว โดยประมาณปลายปี 2533 เอสโซ่เปิดจี-สโตร์ภายใต้ชื่อเอสโซ่ฟู้ดส์สโตร์ แล้วเปลี่ยนเป็นไทเกอร์มาร์ท ซึ่งปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 250 แห่ง ล่าสุดเป็นพันธมิตรกับเทสโก้

โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ด้วย โดยร่วมกันเปิดจีสโตร์ภายใต้ชื่อเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรูปแบบดิสเคานต์สโตร์รายแรก

ที่ลดขนาดพื้นที่ขายสู่สถานีบริการน้ำมัน คาดว่าจะมีทั้งสิ้น 10 สาขาปี 2545 เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ผสมผสาน ระหว่างคอนวีเนียนสโตร์และซูเปอร์-มาร์เก็ตขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป

เน้นจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแห้ง เบเกอรี่ หรือเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และสินค้าเฮาส์แบรนด์

นำกลยุทธ์ราคาเป็นแกนนำแข่งขัน โดยจำหน่ายสินค้าราคาเดียวกับที่จำหน่ายในเทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ทุกสาขา - บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ดำเนินการจี-

สโตร์ภายใต้ชื่อจิฟฟี่คิทเช่น บายท็อปส์ ภายในสถานีบริการน้ำมันเจ็ท โดยท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตป้อนวัตถุดิบด้านอาหารสด ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 5 สาขา การที่ท็อปส์

ซูเปอร์มาร์เก็ตร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดดำเนินการ จี-สโตร์ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรุกสู่ตลาดขนาดใกล้เคียงกับท็อปส์ ซูเปอร์-มาร์เก็ต ของผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งเทสโก้ โลตัส

ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ส่งผลให้เจ้าตลาดเดิมกลุ่มซูเปอร์-มาร์เก็ตอย่างท็อปส์ ต้องเร่งปรับตัวด้วยการเปิดร้านค้าขนาดใหม่ เพื่อรักษาฐานตลาดเดิม และสร้างโอกาสขยายตัว

ทั้งในนามท็อปส์ซิตี้มาร์เก็ตรูปแบบ Ready to Go เน้นทำเลอาคารพาณิชย์ย่านธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายหลักคือกลุ่มพนักงานออฟฟิศ และรูปแบบจี-สโตร์ ที่มาพร้อมพื้นที่อาหารเร่งด่วน และเบเกอรี่

เดิมสถานีบริการน้ำมันเจ็ทมีร้านจี-สโตร์อยู่แล้ว ชื่อจิฟฟี่ ที่บริษัทผู้ค้าน้ำมันลงทุนเอง มีจำนวนร้านจิฟฟี่ทุกสถานีบริการน้ำมันเจ็ท กว่า 120 แห่ง ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการ ยี่ห้อหลักคือโดนัท

และร้านเอสแอนด์พี รวมถึงเอแอนด์ดับลิว เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็น สินค้าที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีกาแฟสด ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เกี่ยวเนื่องเป็นตัวเสริมด้วย พร้อมจัดสถานที่ภายในร้านกว้างขวาง

จัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าเลือกซื้อ สินค้า ซึ่งเมื่อรวมจำนวนสาขาจิฟฟี่คิทเช่น บายท็อปส์ และจิฟฟี่แล้ว สถานีบริการน้ำมันเจ็ทมีจีสโตร์ทั้งสิ้น 132 แห่ง

จากการสังเกต ผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่หลายรายต่างพยายามเพิ่มช่องทางขายมากขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรกับบริษัทผู้ค้าน้ำมัน เพื่อเปิดดำเนินการจี-สโตร์ แต่บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็น-เตอร์

ซึ่งเป็นซูเปอร์เซ็นเตอร์รายที่ 2 ที่ใช้ กลยุทธ์ ย่อขนาดร้านค้าปลีกในนามลีด-เดอร์ไพรซ์ เน้นทำเลที่ประชากรหนาแน่น ใจกลางเมือง และปริมณฑล ขนาดพื้นที่ 800-1,000 ตารางเมตรต่อสาขา ลักษณะ

สแตนอโลน มีสินค้าให้บริการประมาณ 1,000 รายการ สินค้า ภายใต้แนวคิดราคา ถูกใกล้คุณ เน้นสร้างเฮาส์แบรนด์เป็นกลยุทธ์สำคัญ เพื่อสร้างความแตกต่างจากบรรดาคู่แข่งรายอื่นนั้น

ยังไม่ขยายตัวไปในสถานีบริการน้ำมันเหมือนคู่แข่ง แต่อนาคตต้องติดตามต่อไปว่าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์จะกระโดดแข่งขันในสมรภูมิจี-สโตร์หรือไม่

เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสการขยายตัวซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่นับวันจะหาทำเลที่เหมาะสมยากขึ้นทุกขณะ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us