Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2526
มังกรหยกที่ไม่ใช่ก๊วยเจ๋ง เกิดมาเพื่อตายโดยเฉพาะ             
 


   
search resources

สุรามหาราษฎร
เถลิง เหล่าจินดา
Alcohol
สุราไทยทำ
เกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์




“มังกรหยก” ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ขอทำความเข้าใจเป็นการประเดิมเสียก่อนว่ามิได้เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์จีนกำลังภายในซึ่งมีตัวเอกชื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งย้งเรื่องนั้นแต่ประการใด

หากเป็นเรื่องของสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีของบริษัท สุราไทยทำ จำกัด อันเพิ่งจะได้ฤกษ์เบิกโรงออกสู่ตลาดกรุงเทพมหานครไปเมื่อประมาณต้นเดือนที่ผ่านมา และก็ว่ากันมาหลายว่า ...ว่า สุรายี่ห้อนี้เป็นผลพวงจากยุทธจักรน้ำเมาระหว่างค่ายแม่โขงกับค่ายหงส์ทองนั่นเชียว

ที่มองกันว่าเป็นผลพวงของศึกแม่โขง-หงส์ทองนั้นก็จับประเด็นตรงที่

แรกสุด “มังกรหยก” ถูกเปิดตัวโดยกลุ่มทีซีซีของเถลิง เหล่าจินดา แห่งค่ายหงส์ทอง และงานประชาสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นที่ลับหรือที่แจ้งล้วนพยายามโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจว่า สุรายี่ห้อนี้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เอี่ยมอ่องของเครือหงส์ (ทอง)

ต่อมา ข่าววงในยังกำชับว่า “มังกรหยก” เนื่องจากเป็นสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีมีสิทธิขายเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ จึงเท่ากับเป็นการประกบแม่โขงซึ่งก็เป็นสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีเหมือนกันโดยตรง ต่างกันก็แต่ว่าแม่โขงนั้นขายได้ทั่วประเทศแต่ “มังกรหยก” มีภาษีดีกว่าตรงที่ราคาขายปลีกเพียงขวดละ 36 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกของแม่โขงสูงกว่าระหว่าง 4-9 บาท

สุดท้าย เสียงกระซิบอย่างแผ่วเบาจากวงในสรุปว่าอัน “มังกรหยก” นั้นเป็นเพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหาถ้าคอเหล้าได้ชิมลิ้มลองแล้วจะต้องบอกว่าเป็นหงส์ทองทุกราย

เท่ากับว่า บัดนี้เครือหงส์ทองซึ่งเคยขายสุราปรุง (ผสม) พิเศษ 35 ดีกรีรสชาติใกล้เคียงกับแม่โขงได้ 12 จังหวัดที่เพิ่มตลาดกรุงเทพฯ ในรูปแบบใหม่เข้าไปอีก 1 เขตซึ่งหากจะสรุปอีกสักครั้งหนึ่งว่า “มังกรหยก” ก็คือหมากอีกตัวหนึ่งที่ค่ายหงส์ทองหยิบขึ้นมาเดินรุกหมากของค่ายแม่โขงเช่นนี้คงไม่ผิดข้อเท็จจริงนัก

อย่างไรก็ตาม เมื่อพลิกรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นบริษัทสุราไทยทำซึ่งเป็นเจ้าของจริงๆ ของเหล้า “มังกรหยก” แล้วก็ก่อให้เกิดข้อสงสัยยิ่งนัก

บริษัทนี้ผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์คือ ศุภสิทธิ์ มหาคุณ อีก 30 เปอร์เซ็นต์เป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกันกว่าสิบราย และ 20 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือถือโดยกลุ่มเตชะไพบูลย์เจ้าของบริษัทสุรามหาราษฎร์ ซึ่งถือสัมปทานเหล้าแม่โขงและกวางทองในปัจจุบัน ข้อที่น่าสงสัยก็คือ ในเมื่อสุราไทยทำมีเตชะไพบูลย์ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้วจะออก “มังกรหยก” มาประกบแม่โขงทำไม และยิ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ “มังกรหยก” กลับถูกโปรโมตโดยกลุ่มหงส์ทองคู่แข่ง

เมื่อโยนปัญหานี้ไปให้แหล่งข่าววงในผู้ทราบเรื่องดีช่วยไขข้อข้องใจ เขาก็ตอบว่า “ปมเงื่อนมันอยู่ตรงผู้ถือหุ้นของสุราไทยทำคนหนึ่งที่ชื่อเกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์...”

เกียรติเคยร่วมงานกับสุรามหาราษฎร์มาก่อน แต่จะเป็นเพราะผิดใจกับสุเมธ เตชะไพบูลย์ เรื่องใดไม่ยืนยัน ต่อมาเกียรติออกจากเครือเตชะไพบูลย์มาเข้ากลุ่มทีซีซีและวางแผน “มังกรหยก” เงียบๆ กับเถลิง เหล่าจินดา เป้าหมายก็เพื่อดัดหลังสุรามหาราษฎร์ล้างหนี้แค้น

ทีซีซีโดยผ่านทางเกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์ สามารถรวบรวมกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย 30 เปอร์เซ็นต์ ที่กระจัดกระจายไว้ได้และเข้าใจว่าคงได้รับการเปิดไฟเขียวในบางเงื่อนไขจากผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง มหาคุณ โครงการ “มังกรหยก” จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในที่สุด

ครั้นแล้วเมื่อราวกลางปีนี้ ทางทีซีซีก็เริ่มปูทางประชาสัมพันธ์เหล้าตัวใหม่ จากเงียบๆ ก็ค่อยๆ ครึกโครมขึ้น และทิศทางของแนวการประชาสัมพันธ์ก็ดูจะมุ่งไปในทางที่ถูกตั้งข้อสังเกตข้างต้น

ขณะที่หมากตัวใหม่กำลังจะกลายเป็นหมากที่ค่ายแม่โขงจะต้องหนักใจเพิ่มขึ้น จู่ๆ สถานการณ์ก็ทำท่าจะพลิกกลับ

กลุ่มทีซีซีเริ่มออกข่าวว่า “มังกรหยก” ไม่ใช่เหล้าใหม่ของเครือหงส์ทอง หากแต่เป็นของบริษัทสุราไทยทำ ซึ่งไม่ได้สังกัดทีซีซีแต่ประการใด

เสียงจากวงในก็กล่าวในเชิงวิเคราะห์ว่า เหล้าตัวนี้เป็นสื่อสัมพันธ์ของการประนีประนอมระหว่างแม่โขงกับหงส์ทองหลังจากกรำศึกมานาน ดูสับสนและแปรเปลี่ยนจากจุดเริ่มต้นอย่างมาก

แน่นอน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมมีที่มา

แหล่งข่าวเชื่อถือได้บอกว่า “แรกทีเดียวทางทีซีซีก็มีเป้าหมายเพื่อใช้เหล้าตัวนี้เป็นหมากเดินเกมส์กับกลุ่มแม่โขงจริง แต่ต่อมามันมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง 2 อย่าง ทำให้เหตุการณ์ต้องผันแปรไป”

ปัจจัยตัวแรก แหล่งข่าวเล่าว่า เป็นปัจจัยทางด้านมหาคุณ “คุณศุภสิทธิ์เขาไม่พอใจที่ไปออกข่าวว่าเหล้าตัวนี้เป็นของทีซีซี ทั้งที่เจ้าของจริงๆ คือสุราไทยทำ ซึ่งมีมหาคุณคือหุ้นใหญ่ การอ้างว่าเป็นของทีซีซีทำให้มหาคุณมองหน้าไม่ติดกับเตชะไพบูลย์”

“สอง ว่าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นคุณเถลิง คุณเจริญหรือคุณจุลที่ประกอบกันเป็นทีซีซีก็ล้วนลูกน้องเก่าของมหาคุณทั้งนั้น คุณศุภสิทธิ์รู้สึกเสียเกียรติที่ตนเองทั้งที่เป็นเจ้านายกลับไร้น้ำยา กลายเป็นส่วนประกอบ เขาก็ขอให้มีการแก้ข่าวที่ออกๆ กันไปแล้วใหม่”

ส่วนปัจจัยที่สอง แหล่งข่าวคนเดียวกันนี้บอกว่า เป็นแรงกดดันที่มาจากเบื้องสูงซึ่งให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มหงส์ทองมาโดยตลอด “เบื้องสูง” มองว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาการปะทะกันระหว่างค่ายแม่โขงกับค่ายหงส์ทองนั้นได้ให้ความช่วยเหลือจนหงส์ทองสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่จะเป็นจุดอับเรื่อยมา จนทุกอย่างค่อนข้างจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นแล้ว ดังนั้นหากค่ายหงส์ทองยังพยายามจะต่อความยาวสาวความยืดออก “มังกรหยก” มาประกบแม่โขงเช่นนี้ ก็รังแต่จะทำให้สงครามไม่มีทางยุติ และจะสร้างความลำบากใจให้กับ “เบื้องสูง” ในการแก้เกมส์ต่อๆ ไป

ที่จริงในปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัยนี้ หนักหนาสาหัสที่สุดนั้นก็คือปัจจัยหลัง แต่เพื่อให้ทุกอย่างมีทางออกอย่างลงตัว ทีซีซีจึงยอบให้สาเหตุในปัจจัยแรกถูกเผยแพร่ออกมาและถือเป็นเหตุผลที่จะใช้อ้างในการยุติการโปรโมต “มังกรหยก”

“ไม่ออกคงไม่ได้เพราะเตรียมการไว้หมดแล้ว แต่ก็จะไม่โปรโมต ถ้ามันไปได้ก็ไปถ้าไปไม่ได้ก็จบ” ผู้ทราบเรื่องดีชี้ถึงอนาคตของเหล้าตัวใหม่ที่ชื่อ “มังกรหยก”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us