eotoday.com new economy ของแกรมมี่ สำหรับแกรมมี่แล้ว
eotoday.com ไม่ใช่แค่การเปิดเว็บไซต์ธรรมดาๆ แต่คือ ก้าวใหม่ ที่จะทำให้บริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ในโลกใบเก่าแห่งนี้ขับเคลื่อนเข้าสู่โลกของเศรษฐกิจยุคใหม่
พลังขับเคลื่อนเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของเจ้าของธุรกิจเอ็นเตอร์เทน
เมนต์ แกรมมี่มาจากการเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์เพลงไทย และต่างประเทศ 10,000
เพลง และฐานลูกค้าของ แกรมมี่เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้อิน เทอร์เน็ตส่วนใหญ่ในเวลานี้
รวม ทั้งความพร้อมในเรื่องของ "สื่อ" ความท้าทายของแกรมมี่ไม่ใช่อยู่แค่การเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
อยู่ ที่ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเดิม หรือเป็นส่วนเสริมของธุรกิจเพลง
และสื่อ ที่แกรมมี่มีอยู่ได้อย่าง ไร ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นจุดแข็งของธุรกิจในโลกใบเก่า
ที่ธุรกิจดอทคอม เกิดใหม่ไม่มี
"แกรมมี่อยู่บนธุรกิจบันเทิง ที่เป็นโลกเศรษฐกิจยุคเก่ามา
16-17 ปี แต่วันนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญของแกรมมี่ ที่จะก้าวไปสู่ new economy
ที่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของช่องทางใหม่ ที่เราจะให้ความบันเทิง"
อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธาน กรรมการบริหาร บริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
กล่าวในงานเปิดตัวเว็บไซต์ eotoday.com
อภิรักษ์เชื่อว่าการผนึกรวมกันระหว่างอินฟอร์เมชั่น
เอ็นเตอร์ เทนเมนต์ คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ที่เรียกว่า
megamedia จะเป็นแรงผลักดันไปสู่โฉมหน้าใหม่ของโฮมเอ็นเตอร์ เทนเมนต์ โดยอินเทอร์เน็ต
จะเป็นช่องทางใหม่ให้กับธุรกิจเอ็นเตอร์ เทนเมนต์ รวมทั้งแกรมมี่ แกรมมี่วางตัวเองเป็น
con-tent provider ที่มีอินเทอร์เน็ต เป็น "ดิสทริบิวชั่น" เป็นร้านขายของ ที่จะนำเอา
content เพลง ภาพยนตร์ ไปถึงมือผู้บริโภคในอีกรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันเป็น
"สื่อ" รายได้จากโฆษณาจากแบนเนอร์ ที่มีประสิทธิภาพในยุคหน้า
"ถ้าเราจะทำให้ระยะยาวจริงๆ เราต้องทำในสิ่งที่เรามีของอยู่
แต่สนับสนุน ซึ่งกัน และกัน ฉะนั้น เราจะมองอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ เป็นร้านขายของ
เป็นช่องทางจัดจำหน่ายอันใหม่ของเรา" วราวิช กำภู ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กล่าว
ด้วยพื้นฐาน ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมบวกกับประสบการณ์ในด้านไอทีมาตลอด
วราวิชร่วมงานกับแกรมมี่ เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ด้วยเป้าหมายของการ นำแกรมมี่สู่การเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในโลกไซเบอร์สเปซ
งานของวราวิชในวันนี้ ก็คือ การ ผสมผสานความรู้ด้านไอที เข้ากับความเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของแกรมมี่
"ไม่ใช่เรื่องของการนำเทคโนโลยี ล้วนๆ ขึ้นบนเว็บ
แต่เป็นการนำเทคโน โลยีอะไร ที่ไปทำแล้วเกิดความสนุก เกิด เป็นความเอ็นเตอร์เทน
จริงๆ แล้ว อี-การ์ดไม่ต่างจากการดาวน์โหลดอย่างหนึ่ง แต่สนุกกว่าดาวน์โหลดเยอะเลย
เพราะนั่นคือ ความสามารถเฉพาะตัวเฉพาะทีมงาน ที่จะผสมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน"
สโลแกนของพวกเขาเหล่านี้คือ where entertainment goes online คือ การบรรจบรวมกันระหว่างเทคโนโลยี
และเอ็นเทอร์เทนเมนต์ กลายเป็นส่วนผสมใหม่ในโลกของอินเทอร์เน็ต ทีมงาน 40
คน ภายใต้การดูแลของวราวิช มีทั้งบุคลากรด้านโปรแกรมเมอร์ ที่จะเลือกเอาเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
และทีมงานด้าน content ที่มีพื้นฐาน มา จากนักเขียน จะต้องสร้างความลงตัว
ระหว่างเทคโนโลยี และเอ็นเตอร์เทนเมนต์ eotoday.com ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเว็บไซต์บันเทิง
ที่จะดึงเอาศักยภาพของแกรมมี่มาใช้ประโยชน์ มาสร้างความแหลมให้กับเว็บไซต์
ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีเนื้อหาจากเอ็นเตอร์เทนเมนต์
จากค่ายอื่นๆ มา เพื่อให้มีทั้งความครบถ้วนในด้านเนื้อหา และความแหลมคม ที่จะดึงดูดให้คนมาใช้
การเลือกใช้ชื่อเว็บไซต์ eotoday.com ไม่เลือกใช้ grammy. co.th เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าแกรมมี่ไม่ต้องการจำกัดแค่เว็บของแกรมมี่เท่านั้น
แต่ต้องการให้เป็น entertainment portal ที่ไม่ได้มีแค่เนื้อหาของแกรมมี่เท่านั้น
ซึ่งวราวิชบอกว่า มีอยู่พียงแค่ 20-30% เท่านั้น
แต่ความเป็นแกรมมี่ ก็เป็นอุปสรรคไม่น้อยในการเชื่อมโยง
content ของพันธมิตร เพื่อสร้างความหลากหลาย และพลังให้กับเว็บไซต์แห่งนี้
นั่นไม่ใช่อุปสรรค ที่แท้จริง ในสายตาของวราวิช เพราะเขาไม่ต้องการให้เจ้าของ
content เหล่านี้ต้องผูกติดอยู่กับ eotoday.com เพียงรายเดียว เพราะความต้องการ
content จากค่ายอื่น ก็ เพื่อสร้างความ "ครบถ้วน" ในด้านเนื้อหาให้กับตัวเว็บไซต์ ที่วางตัวเองเป็นเว็บ
ด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์
แต่สิ่งที่ แกรมมี่ต้องมีมากกว่านั้น ก็คือ ความ
"แหลมคม" ของเนื้อหา ที่จะมาจากแกรมมี่เอง "จะเห็นว่าผมมีทั้งความครบ และความแหลม
เพราะความแหลมนี้จะเป็นตัวดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามา ผมมี chat 3 มิติ กับนักร้องแกรมมี่
ผมมี e-gard ที่ดึงดูดคนเข้ามา แต่พอเข้ามาแล้ว เขาก็จะได้เนื้อหาอื่นๆ ให้กับเขาด้วย"
วราวิชเล่า
การกำหนดขอบเขตของการเป็นเว็บเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำให้แกรมมี่เลือกยุทธศาสตร์ของอินเทอร์เน็ตแค่
3 C จากทั้งหมด 6 C คือ content, community, commerce, communication, connection
แต่แกรมมี่ คือ content คือ การสร้างเนื้อหา community สร้างชุมชน และ commerce
เว็บไซต์ eotoday.com
เวลานี้เริ่มต้นด้วย C 2 ตัวแรก คือ content และ community ที่เน้นสีสัน
และลูกเล่นความเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของแกรมมี่ ด้วย chat 3 มิติ ที่แบ่งตามอารมณ์
e-gard ที่มีเสียงเพลงประกอบ สร้างแรงดึงดูดให้เกิดเป็นชุมชนขึ้นบนเว็บไซต์
สร้างเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในโลกไซเบอร์ ที่คาดเอาไว้ว่าจะมีผู้เข้าชมไม่ต่ำกว่า
50,000 คนต่อวัน ส่วน C ตัว ที่ 3 หรือ e-com-merce จะเริ่มขึ้นเป็นเฟสต่อไป
หลังจาก ที่ C ทั้ง 2 ตัวแรกทำหน้าที่ได้สัมฤทธิผลไปแล้ว ซึ่งเวลานี้แกรมมี่ได้ตกลงใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทรีดันแดนซ์
บริษัทลูกของเอดีเวนเจอร์ ในเครือชินคอร์ปอเรชั่นในการวางระบบเรื่องอี-คอมเมิร์ซ
เพื่อสร้างช่องทางจำหน่ายใหม่ในโลกไซเบอร์สเปซ การเลือกดีดันแดนซ์ ยังมีความหมายมากกว่านั้น
หมายถึงการที่แกรมมี่ จะสามารถเกาะเกี่ยวไปกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะในเรื่องของ
mobile com-merce และในเรื่องของ wap เทคโน โลยี ที่แกรมมี่หวังว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นได้ก่อนใคร
เป้าหมายของการทำเว็บไซต์ของแกรมมี่ ไม่ใช่แค่มิติในแง่ของการเป็นเครื่องมือทางการตลาด
หรือประชาสัมพันธ์ แต่ต้องทำเงินด้วย หรืออย่างน้อยต้องลี้ยงตัวเองได้ไม่ขาดทุน
รายได้ของเว็บไซต์นี้จะมาจาก 4 ส่วน คือ การขายโฆษณาบนแบนเนอร์ สปอนเซอร์ชิป
ซึ่งเป็นการขายหน้าเว็บ ทั้งหน้า อี-คอมเมิร์ซ และแค็ตตาล็อกเพจ ซึ่งการมีสื่อวิทยุในมือ
และความเป็นแกรมมี่ ก็ช่วยได้มากในเรื่องเหล่า นี้ จากการที่มีรายได้จากโฆษณา
และ สปอนเซอร์ชิป ที่เข้ามา 10 ล้านบาทในช่วงแรก อย่างไรก็ดี eotoday.com
เป็น
แค่ก้าวแรกของแกรมมี่ในการก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่เท่านั้น
และไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แกรมมี่ก็เหมือนกับดอทคอมอื่น ที่แสวงหาโอกาสกับการระดมทุนในตลาดหุ้นแนสแดค
แต่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย ก็ยังเป็นข้อจำกัด แต่การมุ่งเฉพาะตลาดในประเทศ
ที่มีลูกค้าเพียง 7-8 แสน สิ่งที่แกรมมี่ต้องทำคือ ตลาดระดับภูมิภาค เอเชียนเมโลดี้.คอม
คือ คำตอบ ของก้าว ที่สอง
ไพบูลย์รู้ดีว่า การเข้าตลาดหุ้นจะจำกัดตัวเองอยู่ในตลาดในประเทศไม่ได้
แต่ต้องไปถึง ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก ที่มี วอลุ่มขนาดใหญ่ เอเชียนเมโลดี้.คอม
จะถูกวาง concept ของการเป็นเว็บไซต์ดนตรีระดับภูมิภาค ด้วย content ภาษาอังกฤษ
และภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศในเอเชีย รวมถึงการเป็นช่องทางจัดจำหน่าย นั่นก็คือ
การขายแผ่นซีดี หรือเทปบนเว็บ และยังรวมถึงการให้ดาวน์โหลด เพลงบนเว็บ
การร่วมมือกับบริษัท mercuric ที่มีสิงค์เทลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในการทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยในการดาวน์โหลดเพลง และเก็บเงินบนอินเทอร์เน็ต
ซึ่งใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์ทรัสต์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เจ้า
ของเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยในการดาวน์โหลดเพลง ก็ เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ได้กับ
eotoday.com และ melody-asian. com "การทดสอบของเราก็ เพื่อ
ให้มั่นใจว่า เมื่อดาวน์โหลดแล้ว จะสามารถเก็บเงินได้อย่างจริงจัง และเมื่อทำแล้วจะทำได้แค่ไหน
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะทำต่อไป เราจะต้องการใช้เป็นช่องทางขายในรูปของการสั่งซื้อซีดี
และให้ดาวน์โหลดได้ด้วย" โมเดลของธุรกิจ ที่ไพบูลย์วางไว้สำหรับธุรกิจนี้
ก็คือ การตั้ง GMM Internet holding โฮลดิ้งคอมปานี ทุนจด ทะเบียน 200 ล้าน
บาท ที่ลงทุนธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่จะมี eotoday.com และ melodyasian.com
เป็น 2 เว็บ ที่อยู่ภายในบริษัทโฮลดิ้งแห่งนี้ และรวมถึงเว็บไซต์อื่นๆ ที่จะเกิดจากการไปร่วมกับ
พันธมิตรด้านเทคโนโลยีอื่นๆ ไพบูลย์รู้ดีว่า จุดขายของแกรมมี่ ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตนั้น
อยู่ ที่การเป็น entertainment content provider
สิ่งที่แกรมมี่ต้องทำมากกว่านั้น ก็คือ การหาพันธมิตรเข้าร่วม
เพราะในโลกของอินเทอร์เน็ตแล้ว มูลค่าของธุรกิจนั้น ขึ้น อยู่กับพันธมิตรเป็นสำคัญ
"อินเทอร์เน็ตเป็นธุรกิจ ที่เติบโต รวดเร็วพอสมควร
เพราะฉะนั้น เราคงไม่โตแบบช้าๆ" คำกล่าวของไพบูลย์ ที่บอกถึงการหาพันธมิตรของแกรมมี่
จะเป็นอัตราเร่งในอีกรูปแบบหนึ่งในโลกของอินเทอร์เน็ต จากการที่เอาจุดแข็งแต่ละฝ่ายมาร่วมกัน
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจในเวลาอันรวดเร็ว 5 บริษัทค่ายเพลงยักษ์ของโลก
ยูนิเวอร์แซล โซนี่ อีเอ็มไอ บีเอ็มจี วอร์เนอร์มิวสิค เป็นพันธมิตรกลุ่มแรก ที่ไพบูลย์
และผู้บริหารทั้งสองจะบินไปเจรจากับค่ายเพลงทั้ง 5 ให้เข้ามาร่วมใน melodyasian.com
ซึ่งจะมาร่วมทั้งในรูปแบบของการเป็นลูกค้า หรือพันธมิตร ที่จะร่วมถือหุ้น
และหากแกรมมี่ทำโจทย์ข้อนี้ ผ่าน ได้ค่ายเพลงยักษ์เข้าร่วมวงไพบูลย์
ด้วยโอกาส ที่แกรมมี่จะขึ้นไปสู่ก้าว ที่ สองของการทำตลาดในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นเป้าหมายของแกรมมี่
เพราะมันหมายถึงโอกาสใหม่ของธุรกิจ และการระดมทุนในตลาดระดับโลก หรืออย่างน้อย
แกรมมี่ก็จะใช้ "ช่องทาง" ที่ใช้เป็นแหล่งระดมมันสมอง ติดต่อกับบุคลากร คนเขียนเพลง
บทภาพยนตร์ เขียนบทละคร "บริษัทแกรมมี่จะเป็นบริษัทมหาชนมากขึ้นในความหมาย ที่ทุกคน
มีส่วนร่วมเข้ามาสร้างสรรค์ มาออกความคิด ต่อไปอย่างเราจะออกเทปชุดหนึ่ง
ก็อาจจะมีคนเข้ามาร่วมแต่งเพลง ออกแบบเสื้อผ้า หรืออื่นๆ ที่สามารถทำร่วมกันได้
มันเป็นช่องทาง ที่จะทำให้ใกล้ชิดขึ้น" ไพบูลย์บอก และนี่ก็คือ อีกก้าวหนึ่งของแกรมมี่
และย่างก้าวของธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่มีต่อธุรกิจอินเทอร์เน็ต