|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เอไอเอสพัฒนาแอปพลิเคชัน IP มัลติมีเดีย รองรับอนาคต มองการเชื่อมต่อฟิกส์ไลน์เข้ากับโมบายไม่ว่าอยู่ที่ไหนไม่ขาดการติดต่อ เผยเป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่ 3G ที่จะมีการลงทุนร่วม 12,000 ล้านบาท ในกลางปี 2549 เพื่อให้รองรับการใช้งานได้ 1 ล้านเลขหมาย
นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสมีแผนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบ 3G ในกลางปี 2549 การลงทุนในปัจจุบันจึงเป็นการปูทางไปสู่เทคโนโลยี 3G
จากเงินลงทุนด้านอินฟราสตักเจอร์ของไอเอเอสที่วางไว้ในปี 2548 ประมาณ 16,000 ล้านบาท จะเป็นการลงในเรื่อง 3G ประมาณ 10-20% โดยในอนาคตระบบ GSM เดิมก็ยังจะมีการลงทุนอยู่อีกอย่างต่อเนื่อง เน้นการให้บริการวอยซ์ (เสียง) ส่วน 3G จะมุ่งให้บริการทั้งวอยซ์และมัลติมีเดีย
"เอไอเอสไม่ได้มองว่า 3G จะมาแทน GSM แต่มองว่า 3G จะเป็นการใช้เฉพาะกลุ่มอย่าง กทม. อำเภอใหญ่ตามจังหวัด เช่น ปทุมธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต แต่ GSM จะเป็นการปูพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศ"
เตรียมการ สู่ 3G
วิเชียรกล่าวถึงมุมมองการพัฒนาเพื่อรองรับ 3G ว่า เป็นการพัฒนาที่อยู่บนแนวคิดที่ว่าทุกอย่างที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตจะสามารถนำมาใส่ในมือถือได้ทั้งสิ้น การที่คนหันมาให้ความสำคัญกับอินเทอร์เน็ตกันอย่างมาก จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว โดยให้มุมมองว่าเราจะเห็นมิติใหม่ใน 3 เรื่องคือ 1. ในอนาคตจะเห็นการเชื่อมต่อระหว่างฟิกส์ไลน์กับโมบายด้วยเบอร์เดียวทำให้มนุษย์เราไม่ขาดการติดต่อ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือนอกบ้าน หรือแม้แต่เป็นเบอร์เดียวกับที่ใช้บอกความเป็นตัวตนของคนคนนั้นก็ได้ด้วยฐานข้อมูลเฉพาะส่วนตัว
2. จะเห็นการสื่อสารของมัลติมีเดียที่ไม่จำเป็นต้องมาทางสายได้อย่างเดียว แต่สามารถแปลงมาสู่อุปกรณ์ปลายทางหรือดีไวซ์ได้ทุกรูปแบบด้วยแอปพลิเคชัน
และ 3. มนุษย์เราจะไม่ขาดการติดต่อสื่อสาร โดยมีโลเกชันเบสเป็นตัวสื่อสารกับอุปกรณ์ปลายทางทุกประเภทที่พัฒนาขึ้น โทรศัพท์มือถือจะสามารถรับส่งอินเทอร์เน็ตได้แต่จะเร็วเท่าใช้งานจากโทรศัพท์พื้นฐานก็ต้องเป็น 3G
"ในอนาคตเราสามารถดูภาพลูกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ที่โรงเรียนด้วยการติดกล้องไว้ที่ห้องเรียน หรือแม้กระทั่งตรวจสอบได้หลังเลิกเรียนลูกยืนคอยให้ไปรับอยู่ที่ไหน"
กลางปี 49 เริ่ม 3G
วิเชียรกล่าวว่า เอไอเอสจะใช้เงินลงทุนเฟสแรกของ 3G ประมาณ 200-300 ล้านเหรียญ (งบปี 2549) หรือประมาณ 8,000-12,000 ล้านบาท และเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 2549 คาดว่าจะรองรับการใช้งานได้ประมาณ 1 ล้านเลขหมาย ส่วนจะคิดค่าบริการอัตราเท่าใดต้องรอดูเรื่องต้นทุนก่อน บวกกับความแน่นอนของการขอไลเซนส์ใหม่ด้วย
เอไอเอสเลือกใช้เทคโนโลยี W-CDMA หรือวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ โดยที่บริษัท หัวเหว่ย จะเป็นผู้เสนออุปกรณ์ในการทดสอบ ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะเป็นซัปพลายเออร์ระบบ GSM อยู่แล้ว
ในระหว่างที่รอการทดสอบของหัวเหว่ย เอไอเอสก็ได้มีการลงทุนด้าน แพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อรองรับการให้บริการมัลติมีเดียเนื่องจากการใช้งานด้านข้อมูลและมัลติมีเดียในโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตจะมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมา โอเปอเรเตอร์ไม่มีแพลตฟอร์มของอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (IP) ทำให้เอไอเอสจะให้ความสำคัญกับ IP Multimedia System (IMS) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มในการส่งข้อมูลและมัลติมีเดียระหว่างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต โดยในด้านเทคนิคเอไอเอสได้สร้าง Content Delivery Gateway (CDG) และ Content Management และ Portal Management โดยแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เราสร้าง จะช่วยทำให้คอนเทนต์มีการเชื่อมต่อระหว่างไอพีกับโครงข่ายมือถือ
"โซลูชันและแอปพลิเคชันจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ระบบ 3G ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับหรือไม่ เพราะบริการอย่างวิดีโอ โฟนที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นแค่เพียงลูกเล่นไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบเต็มที่ แต่บริการที่น่าจะเหมาะสมกับ 3G ควรจะเป็นการสตรีมมิ่ง หรือดาวน์โหลดข้อมูลไฟล์ขนาดใหญ่ การให้บริการในลักษณะตามความต้องการหรือออนดีมานด์ โดยการทดสอบระบบ 3G ของหัวเหว่ย เอไอเอสจะเน้นเรื่องนี้"
อย่างไรก็ตามการลงทุนระบบ 3G ของเอไอเอสยังขึ้นอยู่กับการตีความด้านกฎหมาย และประเด็นความเข้าใจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า 3G ถือเป็นไลเซนส์ใหม่ที่ต้องขออนุญาตหรือไม่ นอกจากนี้เอไอเอสยังต้องดูว่ากทช.จะให้ไลเซนส์เอไอเอสอย่างไรสำหรับการให้บริการในปัจจุบัน ในกรณีที่เอไอเอสให้บริการ 3G ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่มีอยู่แล้ว จะถือเหมือนการที่เอไอเอสให้บริการ GPRS สื่อสารด้านข้อมูลที่เป็นเหมือนบริการเสริมหรือไม่ ขณะที่เอไอเอสเองมองว่า 3G เหมือนเป็นบริการเสริม ด้านข้อมูลความเร็วสูงเป็นบริการต่อเนื่องจากปัจจุบัน ซึ่งไม่น่าจะต้องขอไลเซนส์ใหม่
|
|
 |
|
|