ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทาง การไทยประกาศตั้งกองทุนพิเศษ หรือกองทุนฟื้นฟูบัญชีที่
2 เพื่อค้ำประกันเงินฝากและเจ้าหนี้ สถาบันการเงินที่ยังคงดำเนินธุรกิจขณะนั้น
แม้การดำเนินการดังกล่าว อาจช่วยรักษาความเชื่อมั่นระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน
ขณะนั้นได้ แต่การแก้ไขสถานการณ์โดยใช้วิธีโอบอุ้มและช่วยเหลือดังกล่าว มีราคาที่ต้องจ่ายค่อนข้างสูง
ผลกระทบที่ตามมา สรุปดังต่อไปนี้ :- 1. การช่วยเหลือทั้งผู้ฝากและเจ้าหนี้อื่นๆ
ของสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ไม่สร้างวินัยการเงินผู้ฝากและเจ้าหนี้อื่นๆ
ของสถาบัน กล่าวคือ
ผู้ฝากหรือเจ้าหนี้ไม่สนใจตรวจสอบฐานะการเงินสถาบันการเงิน แต่จะเน้นฝากเงินกับสถาบันที่ให้ผลตอบแทน
(อัตราดอกเบี้ย) สูง โดยไม่กังวลฐานะการเงิน เพราะแน่ใจว่าจะได้เงินคืนจากทางการ
หากเกิดวิกฤติการณ์การเงินกับสถาบันการเงินนั้น 2. การโอบอุ้มสถาบันการเงินที่มีปัญหา
ก่อให้เกิดต้นทุนสูงมากแก่ทางการ เห็นได้จากฐานะหนี้สินกองทุนฟื้นฟูปัจจุบันราว
7 แสนล้านบาท
ขณะที่มีเงินกองทุน ติดลบถึงประมาณ 2.5 แสนล้านบาท การรับภาระดังกล่าว รวมทั้งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ
ของทางการช่วงวิกฤติเศรษฐ-กิจที่ผ่านมา
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศ เพิ่มขึ้นสู่ 60% ต่อ
GDP ปีนี้ คาดว่าอาจเพิ่มเป็น 63% ปีหน้า 3. สถาบันการเงินอาจมีแนวโน้มดำเนินธุรกิจการเงินเสี่ยงมากขึ้น
เมื่อแน่ใจว่า
ทางการไม่ให้สถาบันการเงินล้มละลายแน่นอน (ปัญหา Moral hazard) เห็นได้จากปัญหาที่เกิดกับสถาบันการเงินปี
2540 ข้อเสียต่างๆ ข้างต้น ทางแก้ไขปัญหาที่จะมีประสิทธิภาพกว่า
คือการดำเนินการสอดคล้อง กลไกตลาดมากขึ้น โดยอนาคต ทางการอาจต้องพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ
และอนุมัติสถาบันการเงินที่มีปัญหา ล้มละลายได้บางกรณี แต่ขณะเดียวกัน
ก็ให้ความคุ้มครองที่ชัดเจนและจำกัดประชาชนผู้ฝากเงิน โดยผ่านการดำเนินการสถาบันประกันเงินฝาก
ถึงเวลาแล้วสำหรับสถาบันประกันเงินฝาก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าทางการควรกำหนดกรอบเวลาชัดเจนตั้งสถาบันประกัน
เงินฝาก ตลอดจนโอนความรับผิดชอบการคุ้มครองเงินฝากจากกองทุนฟื้นฟูฯ สู่สถาบันประกันเงินฝาก
โดยให้ความคุ้มครอง 100% โดยกองทุนฟื้นฟูฯ น่าจะดำเนินการเพียงชั่วคราว
ยามที่ประเทศประสบวิกฤติปัญหารุนแรงเท่านั้น ขณะที่สถาบันประกันเงินฝาก จะเป็นกลไกเหมาะสมกว่า
โดยเฉพาะในแง่รักษาวินัยการเงิน และการคลังประเทศ การดำเนินการสถาบันประกันเงินฝาก
วัตถุประสงค์หลักๆ ได้แก่ การรักษาความเชื่อมั่นประชาชนต่อสถาบันการเงิน
ดูแลผู้ฝากเงินรายย่อย
และสนับสนุนการแข่งขันระหว่างสถาบันเงิน ดังนี้ :- ประการแรก สถาบันประกันเงินฝาก
จะรับประกันว่า จะจ่ายเงินต้นคืนผู้ฝากจำนวนหนึ่งๆ กรณีที่สถาบันการเงินนั้นๆ
ประสบปัญหาจนต้องเลิกกิจการ
ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากปี 2523 สถาบันประกันเงินฝากจะจ่ายเงินทดแทนผู้ฝากแต่ละราย
แต่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับเงินฝากที่ประกัน โดยผู้ฝากแต่ละรายที่จะได้รับเงินทดแทน
หมายความรวมถึง ผู้ฝากแต่ละบุคคล โดยไม่คำนึงถึงจำนวนบัญชีเงินฝากในสถาบันการเงินเดียวกันนั้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าวงเงินดังกล่าว จะปรับเปลี่ยน
เพื่อให้สอดคล้องความเป็นจริงในการดำเนินการปัจจุบันมากขึ้น การให้ความคุ้มครองดังกล่าวจากทางการ
จึงรักษาความเชื่อมั่นประชาชนต่อการดำเนินการ กลไกสถาบันการเงินในประเทศ
ประการที่สอง การที่สถาบันประกันเงินฝากช่วยคุ้มครองเงินให้ผู้ฝากทุกราย
แต่วงเงินที่จำกัด ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ฝากเงินรายย่อย เพราะผู้ฝากเงินรายใหญ่
จะมีความสามารถกระจายความเสี่ยงถือสินทรัพย์การเงิน ตลอดจนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการเงินต่าง
ๆ รวมทั้งมีอำนาจต่อรองกับสถาบันการเงิน ดีกว่าผู้ฝากเงินรายย่อยอยู่แล้ว
การให้ความคุ้มครองกรอบวงเงินที่จำกัดของสถาบันประกันเงินฝาก จึงเท่ากับช่วยเหลือดูแลผู้ฝากเงินรายย่อย
ที่มีโอกาสเหล่านั้น น้อยกว่า ประการที่สาม
การที่สถาบันประกันเงินฝากให้ข้อผูกพันช่วยชดเชยผู้ฝากเงินวงเงินจำกัดกรณีที่สถาบันการเงินต้องล้มเลิกกิจการ
ทำให้ประชาชนผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากรายใหญ่
ทราบว่าตนมีความเสี่ยงต้องรับระดับหนึ่ง หากสถาบันการเงินนั้นประสบปัญหา
การที่ประชาชนตระหนักความเสี่ยงฝากเงินดังกล่าว จะเป็นแรงผลักดันให้สถาบัน
การเงินต่าง ๆ
ดำเนินการระมัดระวังมากขึ้น แข่งขันกันด้านคุณภาพและความมั่นคงการดำเนินการมากขึ้น
แทนที่จะเป็นการแข่งขัน โดยอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ข้อเสนอแนะการตั้งสถาบันประกันเงินฝาก
แม้สถาบันประกันเงินฝากจะคุ้มครองชัดเจนและจำกัดต่อผู้ฝากเงิน ซึ่งจะทำให้สถาบันประกันเงินฝาก
เป็นกลไกที่สำคัญต่อการเสริมสร้างวินัยการเงินและการคลังประเทศ แต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า
ยังคงมีประเด็นที่ทางการไทยจะพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการสถาบันประกันเงินฝากดังกล่าว
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม ได้แก่ :- 1. วงเงินให้ความคุ้มครอง
การกำหนดวงเงินให้ความคุ้มครองต่อผู้ฝากเงินสถาบันการเงินหนึ่งๆ เป็นประเด็นที่สำคัญมาก
เนื่องจากหากทางการต้องการให้ความคุ้มครองผู้ฝากรายย่อยเป็นหลัก วงเงินดังกล่าวไม่ควรสูงเกินไป
นอกจากนี้ หากวงเงินคุ้มครองขนาด ค่อนข้างสูง อาจทำให้ผู้ฝากไม่มีแรงจูงใจ
มากนัก ที่จะตัดสินใจฝากเงินของตนจากฐานะความมั่นคงสถาบันการเงินนั้นๆ ซึ่งจะขัดวัตถุประสงค์ทางการ
ที่ต้องการสร้างวินัยการเงินในระบบ อย่างไรก็ตาม หากวงเงินที่กำหนดต่ำ เกินไป
อาจนำมาสู่การเคลื่อนย้ายเงินฝากระหว่างสถาบันการเงินอย่างรุนแรงได้ เพราะ
จะมีผู้ฝากจำนวนมากขึ้น
ที่ต้องพิจารณาความเสี่ยงการฝากเงินของตนกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง 2. อัตราดอกเบี้ยต้องเคลื่อนไหวอย่างเสรี
ตามกลกลตลาด ต้องยอมรับว่า หลังจากที่ลดการคุ้มครองโดยกองทุนฟื้นฟูฯ แล้ว
ผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากรายใหญ่ อาจโยกย้ายเงินฝากส่วนหนึ่งของตนสู่สถาบันการเงินรัฐ
หรือสถาบันการเงินเอกชนขนาดใหญ่ โดยมองว่าเป็นสถาบันการเงินที่มีฐานะการเงินมั่นคง
และเสี่ยงต่ำกว่า ขณะเดียวกัน การเคลื่อนย้ายเงินฝาก ดังกล่าว อาจส่งผลต่อภาวะสภาพคล่องสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
โดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่
อาจต้องลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามความเหมาะสม ขณะที่สถาบันการเงินที่เงินฝากเคลื่อนย้ายออกไป
อาจต้องคงอัตราดอกเบี้ยระดับสูงกว่า เพื่อรักษาฐานลูกค้าและสภาพคล่องของตน
กล่าวคือ
ภายใต้ระบบคุ้มครองโดยสถาบันประกันเงินฝาก ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสถาบันการเงิน
จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ในที่สุด อัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
ควรสะท้อนฐานะความมั่นคง และความเสี่ยงสถาบันการเงินนั้นๆ ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงให้ความคุ้มครอง จากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นสถาบันประกันเงิน
ฝาก
อาจดำเนินการเป็นขั้นตอน เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก การเปลี่ยนจากการคุ้มครอง
100% โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการคุ้มครองโดยสถาบันประกันเงินฝาก ทางการอาจพิจารณาดำเนินการเป็นขั้นตอน
ตามกรอบเวลาที่ประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าชัดเจน อาจเริ่มดำเนินการจากเงินฝากที่สัดส่วนไม่มากนักในระบบ
หรือเงินฝากที่เคลื่อนไหวไถ่ถอนค่อนข้างน้อยก่อน เช่น
บัญชีเงินฝากประจำที่ระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 1 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผู้ฝากเงินเข้าใจระบบสถาบันประกันเงินฝาก
ไม่ตื่นตระหนก และพิจารณาตัดสินใจฝากเงินของตนอย่างถูกต้อง 4. การคิดค่าธรรมเนียม
ควรคิดจากฐานเงินฝากรวม หรือคิดจากเงินฝากภายใต้การคุ้มครองจริง? ประเด็นนี้เกิดจากการที่สถาบันประกันเงินฝากคุ้มครองผู้ฝากแต่ละรายวงเงินจำกัด
ซึ่งพิจารณาได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
สมมุติสถาบันประกันเงินฝากคุ้มครองเฉพาะวงเงินฝากรวมที่ไม่เกิน 5 แสนบาท
สำหรับ ผู้ฝากแต่ละราย หากสมมุติมีสถาบันการเงิน 2 แห่ง ที่ยอดเงินฝากรวมเท่ากัน
และคุณภาพสินทรัพย์และฐานะสภาพคล่องระดับเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินแรกเป็นสถาบันการเงินที่ลูกค้าเป็นรายย่อยส่วนใหญ่
มีสัดส่วนจำนวนผู้ฝากที่มีวงเงินฝากรวมตั้งแต่ 5
แสนบาทลงมา ร้อยละ 70 ของยอดเงินฝากรวม ขณะที่สัดส่วนดังกล่าวสถาบันการเงินที่
2 ร้อยละ 50 ด้วยเหตุนี้ สถาบันการเงินแรก
มีจำนวนลูกค้าเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันประกันเงินฝาก มากกว่าสถาบันการเงินที่
2 แม้ยอดรวมเงินฝากทั้ง 2 สถาบันอาจเท่ากันก็ตาม ดังนั้น
หากทางการคำนวณค่าธรรมเนียมหรือเงินสมทบ ที่สถาบันการเงินต้องส่งให้สถาบันประกันเงินฝากเป็นสัดส่วนจากยอดเงินฝากรวม
ผลที่จะตามมาคือ สถาบันการเงินทั้ง 2 ต้องจ่ายเงินสมทบเท่ากัน
แต่ลูกค้าสถาบันการเงินแรกจะได้รับการคุ้มครองมากกว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
จึงเห็นว่าการคำนวณเงินสมทบที่สถาบันการเงินต้องส่งให้สถาบันประกันเงินฝาก
ทางการน่าจะคิดจากยอดเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองจริง มากกว่าคิดจากยอดเงินฝากรวมแต่ละสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าธรรมเนียมจากยอดเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองจริง
อาจ
มีข้อยุ่งยากในทางปฏิบัติที่ว่า สถาบันการเงินสมาชิกต้องทำรายการเงินฝากผู้ฝากแต่ละราย
เพื่อที่คำนวณได้ว่า ผู้ฝากแต่ละรายของตน จะได้รับความคุ้มครองจากสถาบันประกันเงินฝากเพียงใด
ซึ่งจะใช้คำนวณค่าธรรมเนียม ที่ต้องส่งให้สถาบันประกันเงินฝากต่อไป นอกจากนี้
ข้อมูลดังกล่าวต้องปรับปรุงเป็นระยะๆ เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดผลประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินแต่ละรายควรได้รับ
กระนั้นก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงเห็นว่า โดยเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบัน
สถาบัน การเงินแต่ละแห่งจะสามารถทำระบบข้อมูล ดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่งเอง
ที่จะชำระค่าธรรมเนียมอย่าง เป็นธรรม ตามความคุ้มครองจริงที่ลูกค้าตน ได้รับจากทางการ
ร่าง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองผู้ฝากเงินแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์กว้าง
ๆ ว่า สถาบันฯ
อาจกำหนดอัตราเบี้ยประกันให้แตกต่างกันตามประเภทสถาบันการเงิน โดยอัตราเบี้ยประกันที่สถาบันฯ
เรียกเก็บ คิดจากยอดเงินฝากทั้งสิ้น หรือยอดเงินฝากที่ประกัน
หรือยอดเงินฝากที่ประกันในอัตราหนึ่ง และยอดเงินฝากทั้งสิ้น หักยอดเงินฝากที่ประกันอีกอัตราหนึ่งรวมกันก็ได้
ไม่ว่ากรณีใด จำนวนเบี้ยประกันที่เรียกเก็บต้องไม่เกินร้อยละ 0.5
ต่อปีของยอดเงินฝากทั้งสิ้นของสถาบันสมาชิกแต่ละราย ณ วันสิ้นปีที่ล่วงมา
5. การกำหนดค่าธรรมเนียมการคุ้มครองเงินฝาก ที่สถาบันการเงินต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก
ทางการควรต้องพิจารณาว่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินสมทบที่สถาบันการเงินต้องจ่ายในการได้รับการคุ้มครองจากสถาบันฯ
ควรกำหนดอย่างไร
เพราะภายใต้การเก็บเงินสมทบตามขนาดเงินฝากแบบเดิมของกองทุนฟื้นฟูฯ สถาบันการเงินที่มีความเสี่ยงการ
ดำเนินการสูง
ไม่ได้จ่ายเงินสมทบต่อยอดเงินฝากอัตรามากกว่าสถาบันการเงินที่ความเสี่ยงต่ำจ่าย
ส่งผลให้สถาบันการเงินที่ความเสี่ยงต่ำ มีส่วนทางอ้อมช่วยอุดหนุน (subsidize)
สถาบันการเงินที่ความเสี่ยงสูงกว่า
ดังนั้น การพิจารณาค่าธรรมเนียมหรือเงินสมทบ ที่สถาบันการเงินต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก
ทางการควรพิจารณาระดับความเสี่ยงการดำเนินการ หรือคุณภาพสินทรัพย์สถาบันการเงินด้วย
โดยค่าธรรมเนียม หรือเงินสมทบต่อ เงินฝาก ควรมีสัดส่วนสูงขึ้นสำหรับสถาบัน
การเงินที่คุณภาพสินทรัพย์ด้อยกว่า คุณภาพสินทรัพย์อาจวัดจากสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(non-performing
loans) และยอดการทำสำรอง (provisions) ต่างๆ ของสถาบันการเงินนั้นๆ นอกจากคุณภาพสินทรัพย์
ค่าธรรมเนียมหรือเงินสมทบที่สถาบันการเงินต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก
ควรขึ้นกับฐานะสภาพคล่อง และผลดำเนินการ (การทำกำไร) ของสถาบันการเงินนั้น
ๆ ด้วย เนื่องด้วยสถาบันการเงินที่ฐานะสภาพคล่องด้อยกว่า
มักมีโอกาสมากกว่าที่จะประสบปัญหาการเงินจนต้องการความช่วยเหลือจากสถาบันประกันเงินฝาก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ทางการควร ทำระบบจัดอันดับความเสี่ยงสถาบันการเงิน
ในระบบ
เพื่อที่สถาบันประกันเงินฝากจะสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมอย่างเหมาะสม และยุติธรรมต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่งในระบบ
การจัดอันดับดังกล่าว อาจต้องคำนึงถึง
การดำเนินการด้านต่อไปนี้ของสถาบันการเงินสมาชิก ได้แก่ คุณภาพสินทรัพย์
ฐานะทำสำรองเผื่อสินเชื่อที่มีปัญหา ฐานะ สภาพคล่อง การทำกำไร ฐานะเงินกองทุน
ประวัติการดำเนินการ
หรือปัญหาอดีต ตลอดจนความสามารถ และภาพลักษณ์ผู้บริหาร