Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
The Capitalist Philosophers             
 





นักคิดทางการบริหารธุรกิจคนสำคัญของโลกอย่างเฟรดเดอริค เทเลอร์,ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ และดับบลิว เอ็ดเวิร์ด เดมมิง มีความคิดอ่านอย่างไร คิดค้นทฤษฎีทางการบริหารอันโดดเด่นขึ้นมาภายในบริบทสังคมเช่นไร นี่คือสิ่งที่แอนเดรีย เกเบอร์ ผู้สื่อข่าวสายธุรกิจผู้เขียน The Capitalist Philosophersนำเสนอไว้ในหนังสืออย่างละเอียด และยังกล่าวถึงนักคิดทางธุรกิจคนสำคัญอีก10 คนในศตวรรษที่ 20 ด้วย

ความเป็นวิทยาศาสตร์และความเป็นมนุษย์

ทฤษฎีการบริหารและภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 20 ยังอยู่ในช่วงการถกเถียงกันระหว่างสำนักความคิดแบบที่เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งริเริ่มโดยเฟรดเดอริค เทเลอร์ กับสำนักมนุษยนิยมที่มีผู้บุกเบิกอย่างแมรี ปาร์คเกอร์ ฟอลเล็ต ผู้เขียนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจุดแข็งแกร่งและข้ออ่อนของทั้งสองสำนักคิด เช่น อะไรที่ทำได้ผล อะไรที่ทำไม่ได้ และทำไมจึงทำไม่ได้? เป็นต้น

เกเบอร์เริ่มต้นจากแนวคิดของเทเลอร์ ฟอลเล็ต แล้วตามด้วยเชสเตอร์ เบอร์นาร์ด ซึ่งนับเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ทางการบริหารกว้างไกลและเป็นคนแรกที่กล่าวว่า องค์กรเป็นระบบสังคมที่สลับซับซ้อนไม่ใช่เครื่องจักรที่ประกอบด้วย "ส่วนต่างๆ" นอกจากนั้น ยังเสนอแนวคิดของฟริทซ์ โรธลิสเบอร์เจอร์ และเอลตัน เมโยแห่งฮาร์วาร์ด บิสซิเนส สกูล ซึ่งร่วมกันวางรากฐานทางด้านมนุษยสัมพันธ์

ในบทต่อๆ ไป เป็นเรื่องของอับราฮัม มาสโลว์ ผู้คิดสร้างแนวคิดเรื่องลำดับชั้นของความต้องการของมนุษย์ หรือ "hierarchy of needs" ตามด้วยแนวคิดของดักลาส แมคเกรเกอร์ ผู้ปฏิเสธการบริหารแบบควบคุมและสั่งการ (ซึ่งเขาใช้คำเรียกว่า Theory X) และเสนอแนวคิดการบริหารที่อิงกับการที่ให้พนักงานควบคุมดูแลตัวเองในการปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่า Theory Y

ส่วนแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวมนุษยสัมพันธ์ เกเบอร์บอกเล่าถึงโรเบิร์ต เอส. แมคนามารา และ "Whiz Kids" ซึ่งเป็นกลุ่มที่สืบทอดความคิดมาจากเทเลอร์ แนวคิดของแมคนามาราที่เน้นการวัดเชิงปริมาณไม่เพียงแต่จุดประกายแนวคิดยุคใหม่ของของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่แนวทางการบริหารแบบ "นับจำนวน" ในนโยบายการต่างประเทศด้วย

หนังสือเล่มนี้ยังกล่าวถึงแนวคิดของนักคิดคนสำคัญๆ อาทิ

- ดับบลิว เอ็ดเวิร์ดส์ เดมมิง เจ้าพ่อทางด้านคุณภาพ

- เฮอร์เบิร์ต ไซมอน นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลซึ่งคิดสร้างทฤษฎีการตัดสินใจขององค์กรโดยอาศัยรากฐานความคิดของเชสเตอร์ เบอร์นาร์ด

- อัลเฟรด ดู ปองต์ แชนด์เลอร์ นักประวัติศาสตร์องค์กร และอัลเฟรดสโลน อดีตหัวเรือใหญ่ของเจเนอรัล มอเตอร์ และเป็นผู้สร้างองค์กรในลักษณะ corporation แห่งแรก

- ปีเตอร์ เอฟ ดรัคเกอร์ ผู้สร้างความเป็นวิชาการให้กับทฤษฎีการบริหาร และยังนำเสนอความคิดและวิสัยทัศน์ที่เชื่อมโยงไปถึงศตวรรษที่ 21

งานเขียนของเกเบอร์เล่มนี้ นับเป็นการรวบรวมและฉายภาพกว้างให้เห็นแนวความคิดของบรรดานักคิดทางด้านการบริหารคนสำคัญแห่งศตวรรษ ผู้บริหารที่ต้องรับมือกับประเด็น "ผู้คน" ในองค์กรไม่ควรพลาด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us