Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 เมษายน 2545
ทหารไทยตั้งเป้าล้าง4หมื่นล้าน             
 


   
search resources

ธนาคารทหารไทย




เอ็มดีแบงก์ทหารไทย ชี้ทางออกล้างขาดทุนสะสม 4.2 หมื่นล้านบาทภายใน 4 ปี ผ่านแนวทางเพิ่มทุนดึงส่วนล้ำมูลค่าหุ้น เร่งระบายสินทรัพย์รอการขาย (NPA) 60,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจไทยต้องขยายตัว 3-5% ยันไม่ลดดอกเบี้ยตามแบงก์เอเชีย เหตุสามารถบริหารสภาพคล่องได้ดี

ถึงแม้ผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปี 45 จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นจนสามารถทำกำไรได้เกือบ10,000 ล้านบาทแม้จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถของธนาคารพาณิชย์ แต่ยังมีประเด็นที่ทุกธนาคารกำลังเร่งแก้ไขเพื่อส่งผลดีต่อธนาคารในระยะยาวแม้จะไม่ใช่ประเด็นที่เร่งด่วนในภาวะขณะนี้ คือ ปัญหาการขาดทุนสะสมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีอยู่ประมาณ 5 แสนล้านบาท(แต่หากหักสำรองแล้วจะมียอดขาดทุนสะสมประมาณ 3.3 แสนล้านบาท)

ขณะเดียวกันปัญหาเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)แม้จะลดลงอย่างต่อเนื่องและเข้าสู่ภาวะทรงตัว ณ สิ้นมี.ค.45 รวมสถาบันการเงินมีประมาณ 471,580 ล้านบาท คิดเป็น 10.36% รวมถึงปัญหาการแก้ไขสินทรัพย์รอการขาย(NPA)ที่ทั้งระบบคงค้างไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท

“ตัวเลขขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 4.2 หมื่นล้านบาทของธนาคารทหารไทย จะพยายามล้างให้ได้ภายใน 4 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าเศรษฐกิจไทยโตไม่ต่ำกว่า 3-5%”นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB กล่าว

โดยแนวทางที่ธนาคารอาจดำเนินการจะมีหลายช่องทาง ไม่ว่าการนำกำไรที่เกิดจากการดำเนินงานมาล้างขาดทุนสะสม รวมทั้งธนาคารก็จะมีรายได้อีกส่วนจาการขายสินทรัพย์รอการขาย

“หากภาวะตลาดหุ้นดีในอนาคต ธนาคารสามารถออกหุ้นใหม่และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ธนาคารก็สามารถนำเงินส่วนเกินดังกล่าวมาล้างขาดทุนสะสมได้ ถึงแม้ปีนี้ธนาคารจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้แต่ก็จะพยายามจ่ายเงินปันผลให้ได้เร็วที่สุด”นายสมชายกล่าว

นายบดี จุณณานนท์ ประธานกรรมการตรวจสอบธนาคารทหารไทย กล่าวถึงแนวทางการล้างผลขาดทุนสะสมโดยการใช้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นว่า ในระยะเวลา 4 ปีธนาคารมีโอกาสที่จะเพิ่มทุนหากภาวะเศรษฐกิจดีและหุ้นของธนาคารสามารถขายได้มากกว่าราคาพาร์ ธนาคารก็จะนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นดังกล่าวมาล้างขาดทุนสะสมได้

ปัจจัยหลักในการเพิ่มทุนมีเป้าหมายเพื่อขยายสินเชื่อ ซึ่งหากธนาคารเพิ่มทุนใหม่ก็จะขายให้กับประชาชนเป็นหลัก เพราะกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณ 49.9%คงไม่มีนโยบายเข้ามาถือหุ้นเพิ่มอีกเพราะจะส่งผลให้เป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจไป

นอกจากนี้การล้างขาดทุนสะสมยังทำได้จากการที่ธนาคารมีผลกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่องและนำผลกำไรดังกล่าวมาล้างขาดทุนสะสม ซึ่งไตรมาส1ที่ผ่านมาธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 352 ล้านบาทกำไรดังกล่าวก็จะถูกนำมาล้างขาดทุนสะสม

“คาดว่าในปีนี้ธนาคารจะมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทและหากภาวะเศรษฐกิจโตต่อเนื่องกำไรของธนาคารก็จะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2-3 พันล้านบาท ธนาคารก็สามารถนำผลกำไรที่คาดว่าจะได้ดังกล่าวมาล้างขาดทุนสะสมได้”

นายบดีกล่าวว่า ธนาคารจะนำสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่ธนาคารได้ตัดหนี้เสียไปแล้วมาทะยอยออกขายและนำเงินกำไรที่ได้ไปล้างขาดทุนสะสม ปัจจุบันธนาคารมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกว่า 6 หมื่นล้านบาท ส่วนการขายสินทรัพย์ดังกล่าวจะทยอยขาย เพราะราคาสินทรัพย์อยู่ในระดับต่ำสุดแล้วและในอนาคตราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้น

“แนวทางการล้างขาดทุนสะสมของแบงก์ แบงก์จะใช้หลักการทั้งหมดมาดำเนินการร่วมกันจะได้จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป้าหมายคาดว่าจะดำเนินการนได้ภายใน 4 ปี”

นายสมชาย กล่าวว่าคณะกรรมการธนาคารยังไม่มีมติอนุมัติให้ธนาคารเพิ่มทุนในปีนี้ เนื่องจากเงินกองทุนที่มีอยู่เพียงพอต่อการขยายสินเชื่อต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี

ปัจจุบันธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS)จำนวน 12.53% และมีหนี้เสียที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ เดือนมีนาคม ธนาคารมีหนี้เสียจำนวน 34,562.72 ล้านบาทหรือ 12.08%

ยันไม่ลดดอกเบี้ย

บริหารสภาพคล่องได้

นายสมชายกล่าวถึงนโยบายทางด้านอัตราดอกเบี้ยภายหลังที่ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) BOA ได้ลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อีก 0.25% ว่าขณะนี้ธนาคารยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งกู้และฝากลงตาม เนื่องจากสภาพคล่องของธนาคารทหารไทยยังอยู่ในระดับเหมาะสมและยังสามารถจัดการได้

นอกจากนี้สัดส่วนการปล่อยสินเชื่อต่อเงินฝากปัจจุบันอยู่ที่ 90.6 %นั้นถือว่าเหมาะสมและเป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร เพราะหากอัตราสูงเกินไปก็จะกระทบต่อความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อ แต่หากน้อยเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคาร

“ธนาคารยังไม่ลดดอกเบี้ย รวมทั้งก็ไม่มีใครหรือองค์กรใดๆมาแทรกแซงหรือบอกว่าไม่ต้องลดดอกเบี้ย แต่แบงก์ไม่ลดเพราะยังสามารถบริหารสภาพคล่องได้”

อนึ่ง การลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะมีผลดีต่อภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงแต่ขณะเดียวกันรายได้จากดอกเบี้ยจะปรับลงตามไปด้วย ซึ่งแต่ละธนาคารพยายามส่งเสริมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย(ค่าธรรมเนียม)เพื่อชดเชยรายได้จากดอกเบี้ย

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นว่า สมาคมธนาคารไทยขาดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาไม่เหมือนสมาคมหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ยว่า เรื่องดังกล่าวคิดว่านายสมคิดคงคุยในที่สาธารณะ ซึ่งสมาคมก็มีการพูดคุยและหารือกันเป็นระยะในทุกเรื่องอยู่แล้ว แต่เรื่องการปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยคงจะหารือกันไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับการบริหารต้นทุนของแต่ละธนาคาร

“หากมีการหารือในเรื่องดอกเบี้ยก็จะมองว่าเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างธนาคารซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อลูกค้า”

ยกเลิกค้ำเงินฝากต้องทำให้ได้ก่อน

นายธวัชชัย กล่าวถึงการยกเลิกการค้ำประกันเงินฝากว่าเรื่องดังกล่าวหากสามารถดำเนินการได้จะส่งผลดีต่อผู้บริโภค ที่จะสามารถควบคุมธนาคาร แต่ต้องการ

ให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพมากกว่า เพื่อไม่ให้เกิดความโกลาหลเหมือนอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก และไปถอนเงินมาเก็บไว้ที่บ้าน

การยกเลิกค้ำประกันเงินฝากถือว่าเป็นเรื่องดี และส่งผลต่อลูกค้าที่จะสามารถควบคุมธนาคารได้เพราะแต่เดิมผู้ฝากเงินจะขาดดุลพินิจในการนำเงินไปฝากธนาคาร เพราะเชื่อมั่นว่ามีรัฐบาลช่วยค้ำประกันเงินฝากของตนเองอยู่ แต่หากยกเลิกแล้วผู้ฝาก็จะเป็นผู้เลือกว่าควรจะใช้บริการของธนาคารใด และในแง่ของผลดีด้านดอกเบี้ยธนาคารจะได้ไม่ต้องเป็นตัวชี้นำในการลดดอกเบี้ย เพราะปัจจุบันเมื่อธนาคารไม่ต้องการเงินฝากหรือมีสภาพคล่องล้นก็จะใช้วิธีลดดอกเบี้ย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us