Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มีนาคม 2548
ธปท.ชงเกณฑ์คุมสินเชื่อบุคคลให้คลัง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




แบงก์ชาติเตรียมชงเรื่องกำหนดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลให้ขุนคลังพิจารณาเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่ขอเปิดรายละเอียด แย้มอิงหลักเกณฑ์เดียวกันเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต แต่อาจมีการทบทวนใหม่หากพบช่องโหว่ พร้อมยืนยันฐานะแบงก์พาณิชย์แข็งแกร่ง ทั้งความสามารถการทำกำไรและการขยายตัวของสินเชื่อ ขณะที่หนี้เน่าลดลงตามเป้าหมายปี 2549 เหลือ 2%

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการประกาศใช้มาตรการควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคล ว่า ธปท. ได้ข้อสรุปในเกณฑ์การดูแลการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลแล้ว โดยขณะนี้ ธปท.เตรียมส่งเกณฑ์ดังกล่าวให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเกณ์ที่กำหนดจะใช้เป็นมาตรฐานธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์)

ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดนั้นจะมีหลายเรื่องในเรื่องเดียวเช่นเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียมว่าจะเก็บได้มากน้อยเพียงใด และสามารถเก็บได้ในกรณีใดบ้าง และกรณีใดไม่สามารถเก็บได้ รวมทั้งยังมีการกำหนดเพดานการปล่อยสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งรายได้ของผู้ขอสินเชื่อบุคคลด้วย ซึ่งเกณฑ์ในการควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคลที่ ธปท.กำหนดบางข้อจะใช้เกณฑ์ใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ควบคุมบัตรเครดิต แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด เนื่องจากมีฐานที่แตกต่างกัน

"ก่อนหน้าที่จะได้ข้อสรุป ธปท.ได้หารือกับผู้ประกอบการทั้งธนาคารพาณิชย์ และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์แล้ว รวมทั้งมีการศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว แต่เกณฑ์ที่กำหนดออกใช้ในระยะต่อไปนั้นอาจเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแก้ไขอีกก็ได้ หากนำออกบังคับใช้แล้วมีช่องโหว่หรือปัญหาอื่นๆ"

สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่า หากมีเกณฑ์เข้มงวดออกมาอาจเป็นการผลักดันให้ประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าเกณฑ์หันกลับไปพึ่งการก่อหนี้นอกระบบได้นั้น รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ตัวเลขที่ออกมานั้น ธปท.ได้พิจารณาแล้วว่า เป็นจุดที่สมดุลและไม่ผลักดันให้เกิดการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้นเพราะเป็นตัวเลขที่อยู่กึ่งกลางในการมองทั้ง 3 ด้านคือการปกป้องผู้บริโภค การก่อหนี้ล้นพ้นตัว และการผลักดันให้เกิดการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้นโดยได้มีการสำรองข้อมูลจากผุ้บริโภค และบริษัทผู้ประกอบการแล้ว

" ธปท. ไม่ได้วางเกณฑ์ชนิดที่เรียกว่าไล่บี้ผู้ประกอบการมากนัก และก็ไม่ใช่เป็นการผลักไสไล่ส่งจนผู้ที่มีรายได้น้อยหันไปพึ่งพิงเงินกู้นอกระบบ การวางเกณฑ์จะต้องหาจุดเหมาะสม " นางธาริษา กล่าว

สำหรับการยกเลิกหรือขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต นางธาริษากล่าว ทางธปท. ยังไม่ได้มีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่ปัจจุบันอยู่ที่อัตรา 18% และขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการายใดยื่นเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงมาให้ธปท. พิจารณา แต่ในหลักการหากผู้ประกอบการมีเหตุผลที่เพียงพอ ธปท.ก็พร้อมที่จะพิจารณา

นางธาริษา กล่าวในงานการพบปะกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ "สถานการณ์ปัจจุบันของสถาบันการเงินไทย" ว่าฐานะทางการเงินและการดำเนินการของสถาบันการเงินไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งดี และมีผลกำไรดี ขณะที่สินเชื่อก็ขยายตัวได้ดี และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2547 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 100% แม้ว่าสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะลดลงจาก 4% เหลือ 12.7% แต่ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงเพราะยังสูงกว่าเกณฑ์ของธปท.ที่ 8.5% มาก และเกิดขึ้นเนื่องจากสินเชื่อในปี 2547 ขยายตัวมากถึง 6.6% เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่อยู่ในระดับ 3.6%

สำหรับในปี 2548 นี้ ระบบธนาคารพาณิชย์จะทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในระดับ 5.25-6.25% แน่นอน โดยจะแข่งขันกันในด้านสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อที่จะให้กับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล (เมกกะโปรเจกต์)

ด้านภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบธนาคารพาณิชย์มีเอ็นพีแอลเหลืออยู่เพียง 570,000 ล้านบาท ซึ่ง 43% ของหนี้หรือประมาณ 250,000 ล้านบาท เป็นหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วแต่อยู่ในกระบวนการของศาลและการบังคับหลักทรัพย์ ส่วนอีก 15% หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท ปรับหนี้แล้วรอการกลับเข้าสู่การเป็นหนี้ดีภายใน 3 เดือน หากชำระดอกเบี้ยได้ตามโครงสร้างใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 250,000ล้านบาทอยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และกฎหมายการซื้อเอ็นพีแอล และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ)

ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.ได้ระบุว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของระบบธนาคารพาณิชย์จะลดลงเหลือ 2% ภายในปี 2549

นางธาริษา กล่าวต่อว่า ในระยะต่อไปจะเห็นการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยที่แข่งขันกันเอง และจากการแข่งขันจากสถาบันการเงินต่างชาติที่จะเข้ามาจากการเปิดเสรีในภาคการเงินตามสัญญาการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) อย่างไรก็ตาม ทาง ธปท.พยายามให้การเปิดเข้ามาเสรีในภาคการเงินอย่างช้าๆ เนื่องจากต้องการเตรียมสถาบันการเงินของไทยให้เข้มแข็งพอที่จะสามารถแข่งขันได้

"ขณะนี้มีแบงก์พาณิชย์บางแห่งที่กำลังอยู่ในกระบวนการเจรจาเพื่อควบรวมกิจการกัน โดยไม่ใช่การควบรวมกิจการในมาสเตอร์แพลน แต่เป็นการควบรวมเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็ง และคาดว่าในอนาคตจะมีการควบรวมกิจการมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเหลือกี่แบงก์"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us