Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 เมษายน 2545
พิษดอกเบี้ยบิดเบือน คนออมเจอ "สองเด้ง"             
 

   
related stories

เปิดความจริงดบ.ต่ำ รัฐ-ธปท.เดินผิดทาง
ผ่าระบบ "แบงก์ไทย" แนะยุบเหลือ4แห่ง

   
search resources

Interest Rate




การลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่ธนาคารเอเชียเป็นผู้นำ ลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จาก 1.5% เหลือเพียง 1.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real

Interest Rate) ของผู้ ฝากเงินออมทรัพย์กลายเป็นติดลบ 0.25% เมื่อคำนวณโดยหักอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Inflation Targeting) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหมายว่าอยู่ในระดับ 1.50% ปีนี้ออก

แต่ถ้าพิจารณาโดยนำอัตราเงินเฟ้อ 0.6% ไตรมาส 1 ปี 2545 มาคำนวณ พบว่าผลตอบแทนจากเงินฝากยังเป็นบวกเล็กน้อย ที่ 0.65%

ส่วนอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีการปรับลดนั้น ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 1.15%-1.4% อย่างไรก็ดี การประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น คณะกรรม

การนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ ให้ตัวเลขเงินเฟ้อนี้ไว้ตั้งแต่มกราคม ปีนี้ ซึ่งเวลานั้นยังประเมินว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเบี่ยงเบนเป้าหมาย

โดยแบงก์ชาติกำหนดเป้าหมายแนวโน้ม เงินเฟ้อพื้นฐานระหว่าง 1%-1.5% ทั้งปีนี้ และยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดไว้ด้วย สาเหตุเพราะเลื่อนการปรับ ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปบวกปัจจัย

ราคาน้ำมันขณะนั้นที่ลดลง ปลายเดือนนี้ คณะกรรมการ นโยบายการเงินจะปรับตัวเลขเงิน เฟ้อครั้งใหม่ โดยพิจารณาปัจจัยการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันด้วย แต่คณะกรรมการฯ บอกล่วงหน้าแล้วว่า

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 22 เมษายน คณะกรรมการฯ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐ-กิจหลายตัวแสดงการปรับตัวทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งฐานะการเงินด้าน ต่างประเทศยังคงมั่นคง เมื่อพิจารณาจากภาระหนี้ต่างประเทศ และฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ

โดยนัยนี้ หมายความว่าแบงก์ชาติมีสิทธิ์คงเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ไว้ที่ 1%-1.5% แนวโน้มเศรษฐกิจระยะข้างหน้า คณะ กรรมการฯคาดว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบัน

จะกระทบภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก หากเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง การสู้รบระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล คลี่คลายลง

อีกทั้งการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นระยะต่อไป ย่อมคาดหมายได้ว่าการประกาศแนวโน้ม เงินเฟ้อพื้นฐานใหม่สิ้นเดือนนี้

คงไม่มีการปรับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ในอนาคตเมื่อปัจจัยราคาน้ำ มันแพงยังเป็นไปต่อเนื่อง แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้ จริงติดลบเพิ่มขึ้น!

ประชาชนที่พอมีเงินฝากอยู่บ้าง ได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยแท้จริงติดลบเพิ่มขึ้น! ทั้งที่ความเชื่อดั้งเดิม การฝากเงินกับแบงก์ ปลอดภัยที่สุดแล้ว แนวโน้มดอกเบี้ยยังจะลงต่อเนื่องอีก

หลังจากที่ธนาคารเอเชียปรับลดอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ลงเป็นเจ้าแรก ธนาคาร อื่นๆ ก็จะมีแนวโน้มทยอยปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยลงเช่นกัน แต่อาจจะทิ้งห่างอีกช่วง หนึ่ง

เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสต่อต้านจากสังคม เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่มีความต้อง การเงินฝากเพิ่ม เนื่องจากยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ ช่องทางลงทุนอื่นของผู้มีเงินออม ยังมีความเสี่ยงสูง

ขณะที่ผลตอบแทนจากการฝากเงินของผู้ออมทั้งหลายกลายเป็นติดลบไปแล้วนั้น ผู้ออมมีช่องทางเลือกอื่นหรือไม่ในการหาผลตอบแทนจากเงินออมของตน? ช่องทางลงทุนของผู้ออมเวลานี้พอมีอยู่บ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาด หลักทรัพย์ ที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนประมาณ 5% ตลาดตราสารหนี้ ซึ่ง ณ สิ้นกุมภา-พันธ์ พันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนประมาณ 3%-5%

หน่วยลงทุนของกองทุนรวม และล่าสุดการลงทุนในต่างประเทศโดยผ่านกองทุนที่ได้รับอนุญาตให้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ (Foreign Investment Funds) ช่องทางลงทุนอื่นที่กล่าวมาข้างต้น

ล้วนมี ความเสี่ยงอย่างมากทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการฝากเงินในธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นตลาด หลักทรัพย์ที่ผันผวน แม้กระทั่งผู้จัดการกอง ทุนอย่าง บลจ.กสิกรไทย ซึ่งถือเป็น บลจ.ที่มีส่วน

แบ่งตลาดกองทุนมากที่สุดในประเทศไทย ยังยอมรับกับผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดรวงข้าว 3 ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ผลดำเนินงานรอบระยะบัญชีปีที่แล้ว

ต่ำกว่าดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เพราะต้องระมัดระวังความ เสี่ยงการลงทุน เนื่องจากเกรงสถานการณ์จะพลิก ผันหลังเกิดเหตุการณ์สหรัฐอเมริกาถูกบอมบ์ 11 กันยายน 2544

ส่วนการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ปกติแล้วเป็นช่องทางสำหรับสถาบันการเงินและผู้จัดการกองทุน ซึ่งก็ประสบภาวะความผันผวนรอบหนึ่ง จากนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนพันธบัตร

(Repurchase Market Rate) ระยะ 14 วัน 1% ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อคราวดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประ เทศไทยใหม่ ๆ ต้นปีที่แล้ว ซึ่งว่ากันกว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนั้น

ทำให้นักลงทุนในพันธบัตรเจ๊งกันเป็นแถบๆ ทีเดียว การขึ้นดอกเบี้ยที่ว่านี้ เป็นผลดีในการดัดหลังแบงก์ต่างชาติ ที่ฟันกำไรจากส่วนต่างดอก เบี้ยร์อาร์พีของไทย กับดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคาร

(Interbank rate) ที่ถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาดของอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่มีอดีตขุนคลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กุมบังเหียรคุมนโยบาย การคลัง-

การเงินอีกต่อหนึ่ง ล่าสุดการลงทุนในกองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Funds) ซึ่งบริหารโดย บลจ.ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. 5 ราย

จะเริ่มเปิดขายหน่วยลงทุนเดือนหน้านั้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอีก เพราะการลง ทุนเหล่านี้ ทำในตลาดต่างประเทศ ที่มีความผัน ผวนสูงกว่าตลาดไทยมาก และบลจ.ผู้บริหารกองทุนฯ

ก็ต้องว่าจ้างผู้บริหารกองทุนต่าง ชาติให้เป็นผู้ดูแลการบริหารอีกทอดหนึ่งด้วย สะท้อนถึงความอ่อนหัดในเวทีตลาดทุนโลกของผู้จัดการกองทุนไทยอีกด้วย ที่ต้องจ้าง ฝรั่งมังค่ามาช่วยบริหารกองทุน

ที่ใช้เงินคนไทยลงทุน นอกจากนี้ สิงคโปร์กับฮ่องกง ก็เล็ง ๆ ดึงเงินฝากจากประเทศไทย ล่าสุด ถึงขนาดเปิดรับฝากเป็นเงินบาทในหลาย ๆ ธนาคารใน 2 ประเทศนี้

ทำให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่หลายรายจากไทย ผ่องถ่ายจากบัญชีธนาคารในประเทศไทยที่ให้ดอกเบี้ยต่ำแสนต่ำ ไปยังธนาคารต่าง ๆ ของทั้ง 2 เกาะหลักแห่งนี้เรียบร้อยแล้ว ดูๆ ไปแล้ว

ประตูที่ผู้ออมจะมีช่องทางลง ทุนที่ปลอดภัยเหมือนเดิมในประเทศนั้น (แทบ) ปิดตายไปแล้ว!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us