Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
Rewarding Excellence             
 





หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเน้นประเด็นที่ว่าคนในระบบเศรษฐกิจใหม่ควรจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร แต่ยังเสนอต่อไปถึงประเด็นที่ว่า พวกเขาควรจะได้ค่าตอบแทนจากอะไรบ้าง

ขั้นแรก ต้องลืมเรื่องระบบค่าตอบแทนที่จ่ายตามเนื้องานและอาวุโสที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเสียก่อน เพราะในยุคเศรษฐกิจแห่งความรู้ในโลกปัจจุบันนี้ "คุณค่า" ของพนักงานคนหนึ่งๆ จะอยู่ที่ทักษะต่างๆ ความรู้และทุนมนุษย์ที่อยู่ในตัวของเขาซึ่งรวมไปถึงว่าพนักงานแต่ละคนมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง กำลังเรียนรู้อะไรอยู่และเขาปฏิบัติงานดีหรือไม่อย่างไร โดยไม่ได้พิจารณาจากตำแหน่งงานตามลำดับชั้นสายงานหรืออายุงาน ผู้เขียนบอกการจ่ายผลตอบแทนตามระบบอาวุโสนั้นเปรียบเหมือนกับการตัดเสื้อผ้าขนาดเดียวให้ทุกคนในองค์กรใส่ จึงไม่ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานที่มีคุณค่านานถึง 20 ปี กับพนักงานที่มีอายุงานเพียงปีเดียวแต่มีประสบการณ์สูงกว่าถึง 20 เท่า

ผู้เขียนเสนอว่าองค์กรธุรกิจจะต้องสร้างระบบการจ่ายค่าตอบแทนแบบที่อิงกับทักษะการทำงาน ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะได้รับผลตอบแทนตามทักษะและความรู้ที่องค์กรต้องการให้เขามีและพอใจที่จะใช้ทักษะความรู้เหล่านั้น ทั้งนี้ องค์กรจำเป็นจะต้องดำเนินการดังนี้

1. ระบุถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ระบุรายละเอียดของทักษะสูงที่สุดที่พนักงานทุกคนจะต้องมี

3. กำหนดค่าตอบแทนให้กับทักษะและชุดทักษะต่างๆ

4. พัฒนาระเบียบกฎเกณฑ์ในการเข้าถึงทักษะต่างๆ

5. พัฒนาวิธีการที่จะระบุว่าพนักงานแต่ละคนมีทักษะแต่ละทักษะหรือไม่

ผู้เขียนบอกด้วยว่าการระบุทักษะต่างๆ จะต้องระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการแยกแยะระหว่างความสามารถกับทักษะ เช่น การจะบอกว่าพนักงานบางตำแหน่งต้องมี "ทักษะในการสื่อสาร" จัดว่าเป็นการระบุที่กว้างเกินไป องค์กรควรจะจัดทำ "รายละเอียดของพนักงาน" ที่ "ระบุอย่างชัดเจนว่าลักษณะการสื่อสารแบบใดที่พนักงานจะต้องทำได้ เช่นเดียวกับที่ต้องระบุว่าผลการปฏิบัติในระดับใดของแต่ละลักษณะการสื่อสารที่จัดว่าอยู่ในขั้นที่สอบผ่าน"

นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้สำรวจระบบการให้รางวัลตามผลการปฏิบัติงานให้กับผู้ที่เป็นเลิศทั้งระดับบุคคล ระดับทีมงานและระดับองค์กร และในตอนท้ายเล่ม ยังพิจารณาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างผลตอบแทนเชิงยุทธศาสตร์ที่ให้ผลตอบแทนกับพนักงานเป็นรายบุคคลกับโครงสร้างผลตอบแทนแบบเดิมที่ให้ผลตอบแทนตามงานด้วย

นับเป็นหนังสือที่พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับมาตรการและระบบให้ผลตอบแทนตามระบบจ่ายผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารบุคคลที่จะให้ผลตอบแทนแก่พนักงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในโลกธุรกิจปัจจุบัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us