Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 เมษายน 2545
4 ปีแก้ปัญหาเศรษฐกิจอืด ทริสชี้แนะหัวข้อเอาใจฝรั่ง             
 


   
search resources

ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส, บจก. - TRIS
วรภัทร โตธนะเกษม




"ทริส" เสนอ "4 แนวทาง"ชนชั้นปกครอง อ่านใจบริษัทเรตติ้งให้ทะลุปรุโปร่ง อันจะส่งผลให้มีการขยับ อันดับเครดิตให้ไทยสูงขึ้นมาอีกนิด จากรอบ 5 ปีนับจากวิกฤตปรับขึ้นแค่ 1 ขั้น

ขณะที่มาเลเซียเพื่อนบ้านเกินไป 1 ก้าวแล้ว เพราะ "ความเด็ดเดี่ยว-กล้าตัดสินใจ" ของบุคคลระดับผู้นำประเทศ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเงินที่เกิดเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ไทย"อืดเป็นเรือเกลือ" ไม่ว่าจะเป็นโครงการไหนๆก็ไม่คืบหน้า โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังทำท่าจะสูงขึ้นอีก นับจากวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา บริษัทจัดอันดับความ น่าเชื่อถือระดับโลก

ไม่ว่าจะเป็น "มูดี้ส์" และ"เอส แอนด์ พี" ต่างก็ปรับอันดับเครดิตให้กับมาเลเซียและเกาหลีใต้มากเกินกว่า 1 ครั้ง อย่างประสานสามัคคีกัน เห็นได้ชัดเจนกรณีของเกาหลีใต้ "เอส แอนด์ พี" ได้ยกเกรดขึ้นถึง 4

ครั้งในรอบ 4 ปี ส่วน "มูดี้ส์" ปรับให้อีก 3 ครั้ง ส่วนมาเลเซียในเวลา 1 ปี "เอส แอนด์ พี"ปรับให้สูงกว่าไทย 1 อันดับ ด้าน "มูดี้ส์" ล่าสุดเพิ่งปรับแนวโน้มการลงทุนของมาเลเซียจาก "สเตเบิล" เป็น "โพสิทีพ"

หมายความว่า แนวโน้ม อนาคตยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก คำถามจึงอยู่ที่ทำไม?...ในเวลา 4 ปีเท่ากัน แก้ปัญหาในช่วงเวลาวิกฤตพร้อมๆกัน แต่ไทยกลับไม่ได้รับความสนใจ เพราะเวลา 4 ปี

ไทยได้รับการปรับอันดับเครดิตเพียงแค่ 1 อันดับ สูง กว่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ที่เคยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่กลับถอยหลังลงคลองเมื่อเทียบกับมาเลเซีย และเกาหลีใต้... นายวรภัทร โตธนะเกษม

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) กล่าวเป็นเชิงชี้แนะแนวทางชนชั้นผู้นำประเทศว่า ควรจะเร่งจัดการใน 4 เรื่องสำคัญๆ ได้แก่ 1.

การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินให้ได้ผลเร็วยิ่งขึ้น 2. เร่งรัดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ 3.แก้ปัญหนี้สาธารณะ ซึ่งปัจจุบันไต่ขึ้นมาถึง 65% ของจีดีพีแล้ว

และสุดท้ายการสร้างธรรมาภิบาลในระบบบริหารภาค รัฐและเอกชนให้เกิดเป็นรูปธรรม "ข้อ 1. และ 2. นับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการลดเกรดญี่ปุ่นลง

เพราะเขามองว่าการแก้ปัญหาระบบธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่นไมสู้จะจริงจังหรือกล้าตัดสินใจเหมือนเกาหลีใต้ ที่สั่งปิดธนาคารถึง 553 แห่ง แลกกับการตกงานของ พนักงานร่วม 1

แสนชีวิตซึ่งการกล้าตัดสินใจรวดเร็ว ทำให้เห็นผลเร็วในกรณีของเกาหลีใต้ นายวรภัทรให้เหตุผลว่า ทั้ง 4 หัวข้อเป็น การอ่านใจบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ให้รู้สึกพอใจในการแก้ปัญหา

เพื่อคลี่คลายอุปสรรคต่างๆ ถึงแม้การปรับครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับการลงทุนในประเทศเหมือนเมื่อก่อน แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกลับพบว่า

เขาดูดีกว่าในสายตาของนักลงทุนทั่วไป สำหรับหัวข้อแรก การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน หมายถึง การควบคุมปัญหา NPLs ใหม่ไม่ให้เพิ่มขึ้น ป้องกัน NPLs ย้อนกลับที่จะเพิ่มขึ้น

และเร่งรัดให้บสท.ดำเนินงานให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว และเร่งฟื้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง การเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งออกกฎหมายเศรษฐกิจ เช่น พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์

และพ.ร.บ.เช่าซื้อ ส่งเสริมให้กฎหมายเศรษฐกิจที่แก้ไขแล้วให้มีผลในทางปฏิบัติ เช่น พ.ร.บ.โทรคมนาคม รวมถึงการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนกับโครงสร้างธุรกิจสำคัญ เช่น โรงไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิ

และการเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามแผน "โครงการหลายแห่ง การแปรรูป การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการปฏิรูปการศึกษา ของเราอืดมาก ตรงนี้ฝรั่งไม่อยากเห็น

เพราะทุกอย่างดำเนินมาหลายสิบปี แต่ไม่คืบหน้า แถมยังมีวัฒนธรรมการเมือง ที่มีการหวาดระแวงเกี่ยวกับวาระซ่อนเร้นมาตลอดทำให้โครงการต่างๆไม่ต่อเนื่อง"

ขณะที่หัวข้อการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะนั้น ก็ควรจะลดการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่จำเป็น ควบ คุมค่าใช้จ่ายประจำ โดยปฏิรูประบบราชการให้ดีขึ้น การลดการค้ำประกันหนี้รัฐวิสาหกิจ การเพิ่ม

รายได้ภาครัฐ หาแหล่งรายได้ภาษีอากรเพิ่มเติม เช่น พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำภาษีมรดก มาใช้ รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในระบบบริหารภาครัฐและเอกชน นายวรภัทรกล่

าวว่า สิ่งที่น่ากังวลก็คือ หนี้สาธารณะที่ทะลุขึ้นมาระดับ 65% ของจีดีพี ไทยจะรักษาอย่างไรให้อยู่ในระดับที่สถาบันจัดอันดับ เหล่านี้จะรับได้ โดยภาครัฐต้องตั้งคำถามว่าจะพยายามลดให้เหลือประมาณ

50% ได้อย่างไร ขณะที่แนวโน้มทำท่าจะไต่ขึ้นอีก "มูดี้ส์จะจับตาไทยไปอีก 6-18 เดือน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าปลายปีไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง" อันดับเครดิตของประเทศไทยนั้น เมื่อปี 2530 เป็นต้นม

า เคยอยู่ที่ระดับ A รักษามาจนต้นปีถึงกลางปี 2540 ก็ยังคงอยู่ที่ A กระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจ ปลายปี 2540 มูดี้ส์ ปรับอันดับ เครดิตไทยร่วงมาอยู่ที่ระดับ BB- แปลว่าเสี่ยง ไม่น่าลงทุน

ช่วงนั้นบรรดากองทุนทั้งหลายเลือด ไหลไม่หยุด เพราะประจวบเหมาะกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว เงินจึงพร้อมใจกันไหลออก ช่วงนั้นจึงเรียกว่าเจ็บปวดมาก ๆ

ระหว่างนั้นประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีหรือมาเลเซียก็มีสถานะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปกลับพบว่า อันดับเครดิตเกาหลีใต้วิ่งแรงมาก

จนบทวิจัยต่างชาติถึงกับคาดการณ์ว่าจะวิ่งไล่กวดแซงหน้าญี่ปุ่นไปได้ "ปัจจุบันมูดี้ส์เพิ่งยกระดับไทยขึ้นมาที่ BBB- ถือว่ารอบ 4 ปีปรับแค่ 1 ขั้นขณะที่เอส แอนด์ พียังคงระดับที่ BBB-มาตลอด 4 ปี

แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังเตี้ยกว่าชาวบ้าน" นายวรภัทรกล่าวว่า นอกเหนือจากไทยแล้ว อภิมหายักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นเสียอีกที่ถูกปรับลดเครดิตจนร่วงรูดแทบไม่มีชิ้นดี จาก AAA มาเป็น AA-

และเชื่อกันมาอีกไม่นานอาจจะเหลือระดับ A- เหมือนเกาหลีใต้ นี่จึงพิสูจน์ให้เห็นว่ากรณีญี่ปุ่นเป็นปัญหาวิกฤตที่เรื้อรังมายาวนานเป็นสิบๆปี

ดังนั้นก็ได้แต่หวังว่าการแก้ปัญหาของไทยจะไม่มีสภาพเหมือนกับญี่ปุ่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us