ความพยายามของธนาคารเอเชีย ที่จะเป็นผู้นำตลาดลดดอกเบี้ยรอบล่าสุดสะท้อนความบิดเบี้ยวของระบบสถาบันการเงิน
และตลาดเงินในประเทศไทยที่ปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กอย่างธนาคารเอเชียชี้นำแนวโน้มความเคลื่อน
ไหวทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยของประเทศ ธนาคารพาณิชย์ในไทยควรมีไม่เกิน
4 แห่ง! ความเคลื่อนไหวล่าสุดของธนาคารขนาดเล็กแห่งนี้คือประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากเมื่อวันจันทร์ที่
22 เมษายน
0.25% ส่งผลอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์แบงก์นี้ลดเหลือต่ำเพียง1.25% ขณะที่โดยข้อเท็จจริงเศรษฐ-
กิจประเทศไทยด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติกว่า5ล้านล้านบาทธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยควรมีไม่เกิน
4
แห่งเพราะหากมีธนาคารพาณิชย์มากเกินไปจะเกิดการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง
ซึ่งปัจจุบันด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังอ่อน
แอหากธนาคารพาณิชย์แข่งขันกันมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมเพราะธนาคารต่าง
ๆจะพยายามทุกวิถีทางที่จะแข่งขันเพื่อความอยู่รอดโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจเช่น
ระดมเงินฝากแข่งกันโดยอาจทำให้เศรษฐกิจย่อยภาคต่าง ๆของระบบเศรษฐกิจใหญ่กระทบกระเทือนไม่สามารถ
มีเงินทุนเพียงพอขยายงานกระทบภาคเศรษฐกิจรวมไม่ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องระยะยาว
นอกจากนี้ การจำกัดให้ธนาคารพาณิชย์ขนาด ใหญ่มีเพียงประมาณ4แห่งเพื่อให้การดำเนินงานภาค
ธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้นใช้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยควรให้มีการควบรวมระหว่างธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง
และขนาดเล็กที่ปัจจุบันมี 13 แห่ง
ทำไมธนาคารขนาดเล็กแสดงบทบาทนำในการลดดอกเบี้ย ? ธนาคารเอเชียและธนาคารดีบีเอสไทยทนุเป็นธนาคารขนาดเล็ก
2 แห่งที่มีบทบาทนำในการประกาศ ลดดอกเบี้ย คงจำได้ดีในช่วงปี 2541
ที่ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุประกาศลดดอกเบี้ยเพราะทนแบกรับต้นทุนไม่ไหว ตอนนั้นเป็นช่วงที่ธนาคาร
ดีบีเอส จากสิงคโปร์เพิ่งเข้ามาซื้อกิจการไทยทนุได้ไม่นาน
ส่วนธนาคารเอเชียนั้นก็พยายามเป็นผู้นำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
โดยในการลดดอกเบี้ยหลายรอบที่ผ่านมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็เป็นผู้นำจนกดให้ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเอเชีย
เป็นอัตราต่ำสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารเอเชียที่ปรับลดลงมีผลตั้งแต่วานนี้
(23เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.25% ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในประวัติศาสตร์ไทย ด้วย!
เมื่อพิจารณาอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก 76.7% (Loan/Deposit Ratio) สะท้อนว่าสภาพคล่องส่วนเกินยังล้นระบบอยู่มาก
ธนาคารลูกครึ่งเหล่านี้ปกติไม่เคยสนใจฐานลูกค้าผู้ฝากเงินชาวไทยสักเท่าใด
เพราะสามารถนำเงินจากธนาคารแม่ในต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้ได้ผิดกับธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งที่ต้องสนใจลูกค้าไทย
เพราะต้องระดมเงินฝากจากคนไทยและใช้เงินฝากเหล่านี้ปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง
ว่าไปแล้วการเป็นผู้นำลดดอกเบี้ยนั้น ควรได้รับสัญญาณจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ธปท.ส่งสัญญาณ และมีการตอบสนองจากตลาดอย่างสอดคล้องในทางเดียวกัน
โดยธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศลดดอกเบี้ยช่วงธันวาคม 2544
นโยบายลดดอกเบี้ยตามแบบญี่ปุ่น พลาด! นโยบายกดดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่รัฐบาลดำเนินมาในระยะปีกว่า ปรากฏชัดเจนเวลานี้แล้วว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
เพราะไม่สามารถกระตุ้น
เศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย โดยการปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ทำได้ลำบากเพราะมีการแข่ง
ขันที่รุนแรงมาก นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ผลตอบ แทนจากการปล่อยสินเชื่อ
(Yield
on Lending)ลดลงและกดดันต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM = Net Interest
Margin)ให้ต่ำลงในที่สุดซึ่งทำให้ธนาคารไม่มีแรงจูงใจอยากปล่อยสินเชื่อใหม่หากพิจารณาจากการทำกำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในตลาด
หลักทรัพย์กำไรส่วนมากมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
ซึ่งสะท้อน ชัดเจนว่าขัดกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการลดดอกเบี้ยโดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจและอุตสาห-กรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ไตรมาส 1 ปี 2545 ธนาคารพาณิชย์มีรายได้ค่าธรรมเนียมและมีกำไรจากการขายเงินลงทุนเป็นหลัก
ขณะที่ธนาคารที่เน้นฐานลูกค้ารายย่อย(Retail
Banking)เติบโตอย่างมีนัยสำคัญของรายได้ค่าธรรมเนียม ได้แก่ ธนาคารเอเชีย
และธนาคารทหาร ไทย ส่วนธนาคารที่กำไรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากการขายหลักทรัพย์คือธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
และธนาคารกสิกรไทยมีกำไรเพราะสำรองการด้อยค่าของ สินทรัพย์รอการขายลดลงและรับรู้ขาดทุนจากบริษัทย่อยน้อยลง
เห็นได้ว่าปัจจัยการทำกำไรของนาคารไตรมาส
แรกปีนี้แทบไม่เกี่ยวกับนโยบายการลดดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่อย่างใดรวมทั้งไม่มีการปล่อยสินเชื่อใหม่
ที่แทบไม่มีตัวเลขเคลื่อนไหวอีกด้วย!
หันมาดูการคาดหมายเรื่องการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ
NPL ปรากฏว่า ณ สิ้น มีนาคม 2545 คุณภาพสินทรัพย์ NPLs ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงเล็กน้อย
กล่าวโดยรวมว่าทรงตัว แต่ของธนาคารเอกชนจะ เพิ่ม ขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เป็นการสะท้อนว่านโยบายลดดอกเบี้ยไม่ทรงประสิทธิภาพพอในการแก้ปัญหา
NPLs
หรือจะกล่าวว่าการเดินตามนโยบายดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้มาเป็นเวลานาน
และสะท้อนออกมาว่าไม่สามารถช่วยฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยเวลาน
ี้ที่สำคัญหากสภาพคล่องส่วนเกินยังคงล้นระบบต่อเนื่องไม่มีใครรับประกันได้ว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่ประกาศลดดอกเบี้ย
อีกในอนาคตเพราะกลไกระบบธนาคารพาณิชย์บิดเบือน นอกจากนี้ ความพยายามของคนบางกลุ่มที่เปรียบเทียบเศรษฐกิจไทยกับญี่ปุ่นช่างไร้เดียงสา
จริงๆ
เพราะโดยข้อเท็จจริงขนาดเศรษฐกิจไทยเล็กกว่าญี่ปุ่นมาก ขณะที่ฝ่ายหลังเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ
2 ของโลกรองจากพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกา การวิพากษ์วิจารณ์ว่า หากประเทศไทยเดินตาม
รอยทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแล้ว กรุงเทพจะซ้ำรอยโตเกียวที่เศรษฐกิจไร้วี่แววฟื้นมากว่าทศวรรษ
เป็นคำวิจารณ์ที่ไร้วิจารณญาณโดยสิ้นเชิง
เพราะสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่น ต่างกันอย่างลิบลับ เศรษฐกิจไทยควรเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์
หรืออินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน
รัฐบาลยกเลิกการค้ำประกันเงินฝากถูกต้อง! รัฐบาลต้องแบกรับภาระประกันเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์มายาวนานทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆเคยชินกับการถูกอุ้มจากทางการดำเนินงาน
อย่างไร้ประสิทธิภาพสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ที่ควรใช้กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อ
เนื่อง นอกจากนี้การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงการคลังและสำนัก
งานเศรษฐกิจการคลังร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก
เพื่อลดภาระรัฐบาล ในการต้องค้ำประกันเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์
ถือว่าเป็นแนวทางที่น่ายกย่องเพราะรัฐบาลไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอุ้มธนาคารพาณิชย์
ไม่ให้ต้องล้มหายตายจากโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์
ขนาดเล็กที่ไม่รู้จักโตต้องคอยให้รัฐบาลอุ้มต่อเนื่อง ถึงคราวรัฐบาลเน้นแก้ปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ
พัฒนา
ระบบสถาบันการเงินกว่า 1.4 ล้านล้านบาทสะท้อนประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนฟื้นฟูฯที่ไร้ประสิทธิภาพส่วนหนึ่งที่สำคัญ
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินของไทย
และอีกเช่นกันที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ