Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มีนาคม 2548
ตลท.ชง3ทางยุบรีแฮบ เบรกปุ๋ยฯเทรดสั่งปรับหนี้ใหม่ช่วยรายย่อย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange




"กิตติรัตน์" กดดันบริษัทในหมวดรีแฮบโกเร่งปรับตัวย้ายกลับหมวดเดิม 3-4 บริษัทเข้ารีแฮบโก "เซอร์คิทฯ-พันธุ์สุกรไทยฯ-นิวพลัสนิตติ้ง" ต้องส่งแผนฟื้นฟูฯแก้ไขคุณสมบัติ ส่วน "ดาต้าแมท" กำลังขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนสรุป มั่นใจปีนี้หุ้นรีแฮบโกสามารถเข้าเทรดกลุ่มปกติได้เกือบหมดทัน คอนเฟิร์มไทยพ้นวิกฤตศก. เปิด 3 แนวทางยุบรีแฮบโก ปรับนิยามกลุ่ม-เปลี่ยนชื่อ-แขวนเอสพีในหมวดเดิม ใส่กติกา เพิ่มไม่พิจารณารับบริษัทที่ปรับหนี้แบบเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยกลับเข้าเทรด สั่ง "ปุ๋ย" แก้ไขปรับโครงสร้างใหม่อีกรอบให้คำนึงสิทธิรายย่อย

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากบริษัทจดทะเบียนมีการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทในงวดปี 2547 พบว่ามีบริษัทที่มีการแจ้งส่วนทุนติดลบ (ใช้เกณฑ์พิจารณาบริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) ต่ำกว่าศูนย์) ซึ่งจะต้องย้ายเข้าไปอยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการหรือรีแฮบโก ประมาณ 3-4 บริษัท

โดยมี 3 บริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วพบว่าเข้าข่ายต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือแก้ไขคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนเนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าต่ำกว่าศูนย์ ดังนี้

1) บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ CIRKIT 2) บริษัท พันธุ์สุกรไทย-เดนมาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ D-MARK 3) บริษัท นิวพลัสนิตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ NPK ซึ่งบริษัทเหล่านี้ตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมายห้ามการซื้อขาย (เอสพี) เป็นการชั่วคราวไว้แล้ว

ขณะที่บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) หรือ DTM ที่มีการแจ้งงบทางการเงินของบริษัทต่อตลาดหลักทรัพย์ในครั้งแรกพบส่วนทุนติดลบ แต่ได้มีการแจ้งอีกครั้งพบส่วนของทุนเป็นบวก เรื่องดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์จึงได้มีการสอบถาม และแจ้งให้บริษัทส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจะได้มีการพิจารณาอย่างละเอียดอีกครั้ง

"ยังมีบางบริษัทที่ยังไม่ได้ส่งงบการเงินงวดปี 2547 ให้ตลาดหลักทรัพย์ ในจำนวนนี้คาดว่าจะมีประมาณ 3-4 บริษัท ที่เข้าข่ายว่า ต้องกลับไปฟื้นฟูกิจการใหม่ เช่น บริษัท ดาต้าแมท ที่เคยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่างบการเงินติดลบ หลังจากนั้นไม่นานก็แจ้งเข้ามาใหม่โดยขอแก้ไขงบเดิมจากที่ติดลบก็กลายเป็นบวก ตลาดหลักทรัพย์จึงสั่งให้ไปทบทวนงบการเงินมาใหม่ ซึ่งตอนนี้เรากำลังศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อยู่" นายกิตติรัตน์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทในกลุ่มรีแฮบโกที่ ถูกห้ามซื้อขาย หรือขึ้นเครื่องหมายเอสพี (SP) เพื่อรอส่งงบการเงิน ประกอบด้วย บริษัทนครหลวงเส้นใยสังเคราะห์ จำกัด (มหาชน) หรือ HTX, บริษัทกรุงเทพผลิตเหล็ก จำกัด (มหาชน) หรือ BSI, บริษัทเพาเวอร์-พี จำกัด (มหาชน) หรือ PP, บริษัท ศรีไทยฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) หรือ SRI , บริษัทไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ DAIDO และ บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) หรือ DTM

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะมีการแจ้งให้ผู้บริหารในบริษัทที่อยู่ในหมวดรีแฮบโกเร่ง แก้ไขปัญหาของบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งเรื่องงบทางการเงินรวมถึงเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนจะมีการพิจารณาเปิดให้มีการซื้อขายตามปกติ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ในหมวดดังกล่าวประมาณ 40 บริษัท ซึ่งคาดว่าเกือบทั้งหมดน่าจะสามารถกลับมาเข้าซื้อขายได้ตามปกติ โดยตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาให้เข้าซื้อขายในหมวดธุรกิจ โดยไม่ให้ซื้อขายในหมวดรีแฮบโก

ในส่วนของบริษัทที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของบริษัทได้ ตลาดหลักทรัพย์อาจจะมีการพิจารณาเพิกถอนหรือขยายเวลาในการฟื้นฟู กิจการ แต่กรณีดังกล่าวไม่รวมบริษัทเข้าใหม่ที่จะต้องเข้ามาอยู่ในกลุ่มดังกล่าว เพราะตามกฎหมายจะให้เวลาในการฟื้นฟูกิจการประมาณ 2 ปี ดังนั้นบริษัทที่จะเข้าสู่หมวดนี้ใหม่จะต้องฟื้นฟูบริษัทให้ทันผลประกอบการงวดปี 2549 ซึ่งจะประกาศในปี 2550

สำหรับเรื่องที่ต้องติดตามการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในงวดปี 2548 ที่จะประกาศในช่วงต้นปี 2549 ซึ่งจะครบกำหนดของบริษัทที่อยู่ในหมวดรีแฮบโก

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า กลุ่มฟื้นฟูกิจการหรือรีแฮบโก เกิดขึ้นมาในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 2537 ซึ่งปัจจุบันก็เลยมากว่า 10 ปีแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จึงมีแผนที่จะยกเลิกกลุ่มรีแฮบโกในปี 2549 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศจบลงแล้ว แต่ทั้งนี้คงต้องดูนโยบายของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนต่อไปด้วย ซึ่งหากมีการยกเลิกจริงก็อาจจะมีการพิจารณาเพื่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทน

สำหรับในเบื้องต้นตลาดหลักทรัพย์ได้วางแนวทางแก้ไขไว้ 3 แนวทางแล้ว คือ หนึ่ง ปรับนิยามเงื่อนไขของบริษัทที่ต้องเข้ามาอยู่ในกลุ่มฟื้นฟูกิจการใหม่

ส่วนแนวทางที่สอง คือ แจ้งยกเลิกหมวดฟื้นฟูกิจการไปก่อน แล้วค่อยตั้งขึ้นมาใหม่พร้อม กับเปลี่ยนชื่อใหม่ และแนวทางที่สาม คือ ให้ ยกเลิกหมวดเหล่านี้ไปเลย ส่วนบริษัทไหนที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้ฟื้นฟูกิจการก็ให้ขึ้นเอสพีไว้และก็ทำการฟื้นฟูกิจการไปโดยหุ้นยังอยู่ในหมวดเดิม

อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาบริษัทที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีการลดทุนเพิ่มทุนทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้รับความเสียหายมากเกินไปนั้น ตลาดหลักทรัพย์จะไม่อนุญาตให้บริษัทเหล่านี้กลับมาซื้อขายหุ้นในหมวดปกติได้ตามเดิม แม้ว่าผลประกอบการรวม ถึงส่วนผู้ถือหุ้นทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ก็ตาม

ทั้งนี้ในกรณี บริษัท ปุ๋ยเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ NFC ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ได้ขอให้กลับไปแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่อีกรอบโดยให้คำนึงและรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิม

สำหรับบริษัทที่คาดว่าอาจย้ายกลับไปซื้อขายในหมวดปกติเป็นกลุ่มแรก 6 บริษัท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาย้ายกลับหมวดเดิมเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณา เช่น บริษัทเพาเวอร์- พี จำกัด (มหาชน)หรือ PP, บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EPCO, บริษัท อินเตอร์ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC, บริษัทปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PRECHA เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us