Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
วีซ่าคิดการใหญ่หาญแปรเงินสดเป็นบัตรพลาสติก             
 


   
search resources

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)




ประชาชนเชื่อถือในเงินสด ขณะที่ทางการบีบบังคับด้วยมาตรการต่างๆ เพื่อเร่งสร้างเงินออม เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์

ก่อนถึงวันฉลองคริสต์มาส คำสั่งของแบงก์ชาติที่ให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดกับสินเชื่อบัตรเครดิต ได้ทำให้บรรยากาศของเทศกาลแห่งการจับจ่ายในเมืองไทยเงียบเหงาไปได้พอสมควร เพราะนับตั้งแต่เปิดศักราชใหม่นี้ผู้ถือบัตรที่นิยมผ่อนชำระเงินขั้นต่ำ 5% จะต้องแบกรับภาระหนักขึ้นตามคำสั่งแบงก์ชาติที่ให้เพิ่มการผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำเป็น 10% ของหนี้คงค้างทั้งหมดเพียงเพราะหวังให้ปัญหาหนี้เสียในระบบการเงินลดน้อยลง นอกจากนี้ยังปรับกฎเกณฑ์การให้วงเงินสินเชื่อเข้มงวดขึ้นไม่เกิน 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้แบงก์ชาติได้ปรับเพิ่มวงเงินรายได้ของผู้ขอถือบัตรเป็น 240,000 บาทต่อปี จากปีละ 120,000 บาท

ท่ามกลางมรสุมทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่ซัดกระหน่ำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์เองก็เข้มงวดกับการออกบัตรเครดิตใหม่มากอยู่แล้วในทางปฏิบัติ เพราะตระหนักดีถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นเมื่อแบงก์ชาติออกมาตรการดังกล่าวมา จึงยิ่งทำให้รายได้ที่ได้จากช่องทางของบัตรเครดิตนี้หดแคบลงทุกขณะ ขณะที่แหล่งเงินทุนของคนธรรมดาที่มีไม่มากนัก ก็ถูกปิดให้แคบลง

สำหรับวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ยักษ์ใหญ่เจ้าของยี่ห้อ 'Visa' และเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์วีซ่าคลาสสิก และวีซ่าโกลด์ ซึ่งเป็นประเภทบัตรเครดิตที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้อย่างแพร่หลายในเมืองไทย ก็อาจจะได้รับผลกระทบในทางอ้อมจากมาตรการของแบงก์ชาติในเรื่องนี้ รวมถึงนโยบายกินของไทยใช้ของไทยของรัฐบาล ที่ไม่สนับสนุนให้คนไทยออกไปใช้จ่ายเงินในต่างประเทศด้วย

เนื่องจากวีซ่า เป็นระบบการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 200 ประเทศ จัดตั้งขึ้นในรูปของ association ที่มีสถาบันการเงินทั่วโลกเป็นสมาชิกและเป็นเจ้าของ โดยกิจกรรมหลักของวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จะจัดหาเครือข่ายการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของวีซ่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสร้างเครือข่ายการสื่อสาร การจัดตั้งมาตรฐานระบบการปฏิบัติการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการการชำระเงินที่หลากหลาย

ไทย ถือเป็นตลาดที่วีซ่าให้ความสำคัญตลาดหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากในช่วง 10 ปีจนถึงปี 1995 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงถึง 10% และเป็นผลให้ชนชั้นกลางของประเทศไทยเพิ่มจำนวนสูงขึ้น ซึ่งก็คือเกิดผู้มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าความจำเป็น ขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น จนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้น ก็มีส่วนช่วยให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย แม้กระทั่งในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำวีซ่าก็ยังให้น้ำหนักกับตลาดไทย เพราะตัวเลขการเติบโตยังคงอยู่ในระดับ 2 หลักอันเป็นผลจากการขยายพอร์ตของสินค้า อันได้แก่บัตรเครดิต บัตรเดบิต และ stored valued card

"ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะตกต่ำลงแต่คนยังต้องจับจ่ายซื้อของ และทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเราสามารถเข้าไปสนับสนุนธุรกรรมเหล่านั้นได้ และการที่เราคาดการณ์ว่าเราจะเติบโตต่อไปได้นั้น เราได้พิจารณาถึงตัวแปรต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องทำในแง่ของนโยบายเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนจาก credit product มาเป็น debit product นั้น ยังจะช่วยให้เราเติบโตต่อไปได้" เอ็ดมันด์ พี เจนเซ่น ประธาน และ CEO ของวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ยืนยันถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อตลาดไทยแม้จะประสบปัญหาในขณะนี้ โดยมี เดนนิส เอ็ม ก้อกกิ้น ประธานวีซ่าประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และเจมส์ เมอร์เรย์ Executive Vice President ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่า

"ผมคิดว่าส่วนใหญ่แล้ว แบงก์ชาติมีแนวโน้มที่จะเข้มงวดเรื่องการเติบโตของหนี้การบริโภคมากกว่า และมูลค่าการใช้จ่ายเงินของคนไทยโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากการใช้บัตรเครดิต แต่เป็นการใช้เงินสดมากกว่า และหนี้เพื่อการบริโภคส่วนใหญ่ของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ไม่ได้เกิดจากบัตรเครดิตแต่เกิดจากวิธีอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม เครดิต การ์ด ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีส่วนในการ contribute consumer debt แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด ดังนั้น เราจึงเป็นนักธุรกิจที่เป็นอิสระจากวงจรเศรษฐกิจ"

กฎระเบียบที่เราดูว่ากำลังจะเข้าสู่ตลาดไทยในตอนนี้ ในความจริงหลักๆ ก็คือว่าเราต้องใช้ประโยชน์จากการบริการให้มากที่สุดเหมือนอย่างที่เราทำในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะ มาเลเซีย สิงคโปร์ และการที่นำเดบิตการ์ดเพิ่มเข้ามา เพราะเราต้องการที่จะทำงานกับบริษัทโดยเฉพาะแบงก์ เราตั้งใจจะเข้ามาช่วยเขาในการหาสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้ payment card ยกตัวอย่างเช่นการที่เรานำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเพื่อช่วยบริหารต้นทุน และในเวลาเดียวกันก็ช่วยเราในการขยายธุรกิจด้วย นอกจากนี้เรายังมีการหาหนทางที่จะเข้าไปทำงานกับแบงก์และ commercial community เพื่อหาหนทางที่ทำให้ต้นทุนในการชำระเงินมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เงินสด"

วีซ่า อินเตอร์ลิงค์ (Visa Interlink) บัตรเดบิต สินค้าตัวใหม่ที่วีซ่าหันมาผลักดันอย่างจริงจังในตลาดไทย โดยได้โปรโมตบัตรใบนี้เป็นระบบการชำระเงินของชาติ หลังสินค้าประเภทเครดิตถูกจำกัดการขยายตัวโดยแบงก์ชาติ ซึ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1996 ธนาคารกสิกรไทยเป็นเจ้าแรกที่ออกสินค้าตัวนี้ ตามมาด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ ทหารไทย และกสิกรไทยเองก็ยังเป็นสมาชิกรายแรกในเอเชียแปซิฟิก ที่รับเป็นแบงก์ที่จ่ายเงินให้แก่บัตรอินเตอร์ลิงค์นี้ (acquire Visa interlink)

ในไตรมาสแรกปีนี้ธนาคารกรุงเทพก็มีแผนที่จะออกบัตรตัวนี้หลังจากชิมลางด้วยบัตรพรีเมียร์ การ์ด ซึ่งมีลักษณะเป็นบัตรเดบิตเพียงแต่ไม่สามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้เท่านั้น นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังมีแผนที่จะออกบัตรวีซ่า อินเตอร์ลิงค์ และ วีซ่าแคช อีกด้วย

"เราไม่กระตุ้นให้คนหันมาจับจ่ายใช้สอย แต่เราจะกระตุ้นให้คนหันมาใช้วิธีที่สะดวกสบายที่สุดในการจับจ่ายด้วยบัตรชำระเงิน บทบาทของเราเข้าไปมีส่วนน้อยมากในการเข้าไป encourage หรือ discourage เรื่องของการออม" เจนเซ่น ชี้แจง

ปัจจุบัน วีซ่ามีสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินของไทยทั้งสิ้น 18 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ธนาคารมหานคร ธนาคารแห่งอเมริกา ธนาคารเอเชีย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซิตี้แบงก์ ธนาคารศรีนคร ธนาคารเชส แมนฮัตตัน ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารนครหลวงไทย สหธนาคาร และธนาคารออมสิน

พลิกค่านิยมจากเงินสดให้เป็นบัตรด้วยนิยามของความสบาย

ด้วยเครือข่ายที่กว้างขวางและสินค้าที่หลากหลาย ได้ทำให้วีซ่าสามารถยืนอยู่เหนือวงจรของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากตัวเลขการเติบโตทางธุรกิจภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่หลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ของยอดขาย (sale volume) ที่เพิ่มขึ้นถึง 33% จากปีที่แล้วซึ่งสิ้นสุดรอบบัญชีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1996 เป็นเงิน 182.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ยอดขายทั่วโลกทะลุหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก

สำหรับในไทย อัตราการเติบโตของยอดขายสูงขึ้น 25% เป็นมูลค่า 2.51 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเฉลี่ยการใช้การ์ดวีซ่าของผู้ถือบัตรสูงขึ้นถึง 13% เป็น 24.4 ครั้งต่อปี มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรคลาสสิกเฉลี่ยใบละ 2,006 เหรียญสหรัฐต่อปี และผ่านบัตรทองอีกเฉลี่ยใบละ 4,495 เหรียญสหรัฐต่อปี ยอดการใช้จ่ายบัตรวีซ่าในต่างประเทศของผู้ถือบัตรไทยเพิ่มขึ้นเพียง 1% เป็นมูลค่า 464 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ยอดค่าใช้จ่ายของผู้ถือบัตรต่างประเทศที่ใช้ในประเทศไทยสูงขึ้น 10% เป็นเงิน 888 ล้านเหรียญสหรัฐ

"แม้ว่ามีซ่าจะมีการเติบโตที่เหนือกว่าคู่แข่งแล้ว แต่ความท้าทายยังคงมีอยู่ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าวีซ่ายังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่ดีที่สุด? และเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากวีซ่าอย่างต่อเนื่อง?

คำตอบก็คือการมองไปที่วิธีการใหม่ที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจบัตรพลาสติกของคุณ และเราจะเพิ่มมูลค่าเข้าไปได้อย่างไร? เราจะต้องหาวิถีทางสำหรับคุณเพื่อที่ตีคู่แข่งที่แท้จริงนั่นก็คือ เงินสด" ก้อกกิ้น บอกกล่าวกับสมาชิกในการประชุมเพื่อพบปะสมาชิกวีซ่ากว่า 1,000 คน ที่บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา

จากการวิจัยของวีซ่า พบว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของบุคคล (Personal Consumption Expenditure : PCE) ซึ่งเป็นมาตรฐานวัดมาตรฐาน เพื่อให้ทราบถึงการใช้จ่ายเพื่อการบริโภครายปีในสินค้าและบริการที่ใช้ประจำวัน ซึ่ง PCE ของโลกปัจจุบันเกือบ 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการใช้จ่ายส่วนใหญ่กระทำผ่านเงินสด

ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 1997 วีซ่า การ์ด สามารถเจาะ PCE ของโลกได้ 5.9% ส่วนในเอเชียทำได้เพียง 3.9% และในภาวการณ์ที่ฝูงห่านเอเชียที่เคยบินทะยานขึ้น กำลังร่อนถลาลง โอกาสในการเติบโตของธุรกิจยังคงมีอีกมหาศาล อันจะเห็นได้จากตัวเลข PCE

"ถ้าสมาชิกของวีซ่าในเอเชียสามารถเจาะเข้าไปใน PCE ได้เท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก มูลค่ายอดขายของภูมิภาคนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 270 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้น 90 พันล้านเหรียญ หรือ 50% ของมูลค่าในปัจจุบัน นั่นเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นก่อนที่เราจะมารวมกันที่นี่" ก้อกกิ้น วาดภาพถึงโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจบัตรพลาสติก เพราะปัจจุบันยอด PCE ของภูมิภาคนี้มีมูลค่าถึง 4.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่เงินสดกินส่วนแบ่งไปถึง 91% แต่บัตรพลาสติกของวีซ่าได้ส่วนแบ่งมาเพียง 6% เท่านั้น และที่เหลืออีก 3% เป็นเช็ค

อย่างไรก็ตาม ในปี 2000 วีซ่าเอเชีย แปซิฟิก ตั้งเป้าที่จะเข้าไปในเค้กชิ้นนี้ให้ได้ถึง 10% จากมูลค่ารวมทั้งสิ้น 21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งผู้บริหารของวีซ่ามั่นใจมากว่าจะสามารถไปถึงเป้าหมายได้ เพราะในบางประเทศกินส่วนแบ่งเกือบถึงเป้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ขณะที่ประเทศไทยการชำระเงินด้วยการ์ดต่อเงินสด หรือการเจาะ PCE มีอยู่เพียง 2.48%

"ผมเข้าใจว่าคนไทยโดยทั่วไปมีการใช้จ่ายน้อยซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจของเรา และอาจจะมีผลกระทบต่อสมาชิกของเรา เพราะจำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรพลาสติก หรือบัตรชำระเงินน้อยกว่า 10% ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของเราที่จะเพิ่มส่วนแบ่งของ payment cards จากการใช้จ่ายทั้งหมดของคนไทย แต่ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทย ซึ่งจะมีระดับเพิ่มสูงขึ้นเพราะได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน

เนื่องจากตลาดยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ เรามีหลายวิธีที่จะให้สมาชิกของเราเพิ่มการใช้วีซ่าในฐานะที่เป็น payment cards โดยไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนไทยจะออมเงินหรือใช้จ่ายเงิน ซึ่งเราก็ได้พยายามที่จะทำงานกับบริษัทที่มีการจ่ายเงินสดเพื่อซื้อ stationary ในตอนนี้ มาใช้วีซ่า การ์ด ในการซื้อแทน ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเพิ่มการบริโภคแต่เป็นการจ่ายแทนเงินสดเท่านั้นเอง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะดวกสบายซึ่งวันนี้อาจจะเป็นเงินสดแต่พรุ่งนี้อาจจะเป็นการ์ดที่จะจ่ายแทน แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตช้าลงแต่ก็สามารถใช้แทนเงินสดได้ แทนที่คุณจะต้องถือเงิน 1,000 บาทและจ่ายไป 800 บาท แต่บางทีคุณอาจถือเงินไปแค่ 100 บาทก็สามารถจ่ายได้ด้วย payment cards ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเครดิต และเดบิต และกลยุทธ์ที่เราคาดหวังจากสมาชิกไทยของเราก็คือให้เน้นที่ payment cards หรือเดบิตการ์ด และลูกค้าที่เรามีอยู่ที่ใช้เครดิตการ์ดก็หันมาใช้เดบิตการ์ดแทนเงินสด" ก้อกกิ้น อธิบายถึงแนวทางการทำตลาดในไทยนับตั้งแต่นี้ไป

ไม่เพียงเฉพาะสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินเท่านั้นที่วีซ่าต้องร่วมทำงานด้วย บรรดาบริษัทห้างร้านก็เป็นอีกกลุ่มลูกค้าหนึ่งที่วีซ่าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเพื่อสร้างรายได้ โดยวีซ่าได้มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Co-Branded card ซึ่งอาจจะเป็นบัตรเดบิต หรือเครดิตที่บริษัทหรือห้างร้านออกร่วมกับสถาบันการเงิน ซึ่งในเมืองไทยก็กำลังเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะบรรดาห้างสรรพสินค้า

ที่ผ่านมา ตลาดนี้ของวีซ่าจะอยู่ในเซกเมนต์ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐของภูมิภาครวม เพิ่มขึ้น 55% นอกจากนี้เซกเมนต์ที่วีซ่าเห็นว่าน่าจะมีศักยภาพในอนาคตก็คือ Healthcare ซึ่งที่ผ่านมามีการชำระเงินของบัตรวีซ่ามากกว่า 940 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 40% เช่นเดียวกับปั๊มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 30% เป็นมูลค่า 855 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ธุรกิจเทเลคอมมีการใช้จ่ายด้วยบัตรวีซ่าสูงกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 43% ซึ่งในธุรกิจเทเลคอมนี้มีการใช้จ่ายชำระเงินด้วยบัตร Co-branded มากขึ้นถึง 2 เท่าทีเดียว

"โอกาสยังมีอยู่อย่างมหาศาล เพราะการที่มีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ และการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นจะช่วยกระพือให้ตลาดเทเลคอมมีศักยภาพมากขึ้นไปกว่านี้อีก ซึ่งเราประมาณการว่า ในปี 2000 ตลาดเทเลคอมจะโตถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ" ราจีฟ คาร์ปูร์ Executive Vice President ดูแลทางด้านการตลาดกล่าวถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะต้องเข้าไปสานสัมพันธ์ในวันนี้

นอกจากนี้ การเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี 1998 ที่นากาโน่ ญี่ปุ่น และกีฬาโอลิมปิก ปี 2000 ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ยังเป็นช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้ให้แก่วีซ่าอีกด้วย

"เมื่อเรามองไปยังอนาคตของธุรกิจ payment card ในแง่ของบุคคล เรามองว่าคนในวัยเรียนสักวันหนึ่งจะต้องมี payment card ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเครดิตการ์ด แต่อาจจะเป็น payment card อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะว่าธุรกิจของเราจะเข้ามาทดแทนเงินสด ซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของเรา เมื่อเรามองไปยังการเติบโตของโลก เรามองเห็นการเติบโตของธุรกิจของเรา payment card จะโตเป็น 2 เท่าในทุกๆ 3 ปี แม้แต่ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเป็นอย่างเมืองไทยตอนนี้ ซึ่งเรามองว่าเป็นช่วงเปลี่ยนในระยะสั้นๆ เท่านั้น และเราก็คิดว่ายังคงเติบโตต่อไปได้ เหตุผลที่เรามั่นใจว่าจะยังคงโตเพราะว่า คนกำลังเริ่มใช้ payment card มากกว่าเดิมเพื่อทดแทนเงินสดและเช็ค ในปีหน้าในเมืองไทยเราคาดการณ์การเติบโตว่าจะยังคงโตต่อไปในตัวเลข 2 หลักแต่อยู่ในอัตราที่ลดลง

การเติบโตนั้นเรามองว่า จะอยู่ในรูปของเดบิตการ์ด ไม่ใช่เครดิตการ์ด เดบิตการ์ด จะโตเร็วกว่าเครดิตการ์ด ในเมืองไทย เรามองเห็นศักยภาพและแนวโน้มการเติบโตดี ในฐานะที่เราเป็น provider payment card ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรายังมี obligation ซึ่งมุ่งไปที่ธนาคารที่เป็นสมาชิกของเราเป็นประการแรก รองลงมาก็คือลูกค้าของเรา และ obligation ของเราก็จะรวมถึง positioning ของสมาชิกเราในอนาคตด้วย และหนึ่งใน obligation ของเราก็คือการเป็นผู้นำของโลก และจัดหาบริการในรูปแบบต่างๆ มีบางคนบอกว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องเข้ามาเป็นสมาชิกของวีซ่า แต่สิ่งที่เรามองเห็นในอนาคตเรามองเห็นความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับลูกค้า อย่างที่ผมพูดในช่วงต้นก็คือว่าธุรกิจของเราต้องแข่งกับเงินสด และเช็ค และสิ่งที่เราทำก็คือมอบสินค้าที่ให้ความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าของเราในการชำระเงิน เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน รวมถึงการ์ด ที่จะต้องเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

เราอยู่ในเมืองไทยได้ 18 ปีแล้ว ขณะที่บริษัทเราอยู่มาได้ถึง 23 ปี เรามี long term perspective เรามีพันธะสัญญากับสมาชิกของเราและประเทศที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจเป็นระยะยาว นั่นก็หมายความว่าเราได้จัดหาบริการแก่สมาชิกที่เป็นธนาคารของเราและลูกค้าของแบงก์ โดยไม่คำนึงถึงว่าสถานการณ์ในระยะสั้นนั้นจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะในประเทศใด เรามองเห็นแนวโน้มการเติบโตของเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญ" เจนเซ่น แสดงเจตจำนงของวีซ่าที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในเมืองไทย แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะไม่เป็นใจเท่าที่ควร

เมื่อไม่นานมานี้ วีซ่าได้นำบริการที่เรียกว่า National Applicant Review Service (NARS) ซึ่งเป็นคล้ายๆ ศูนย์ข้อมูลสินเชื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงในการออกบัตรของสมาชิก นอกจากนี้ยังได้ร่วมทำงานกับหน่วยงานราชการของไทย ในการร่วมสนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย

"วีซ่า หมายถึง ความสะดวกและความไว้วางใจ (convenience&trust) การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ พ่อค้าต้องมีความไว้ใจวีซ่าว่าจะได้รับการจ่ายเงิน และคนทั่วไปก็จะต้องไว้วางใจว่าเขาจะได้รับความปลอดภัยและความสะดวกเมื่อเขาไปซื้อของ นั่นก็หมายความว่ามันจะต้องง่าย พ่อค้าจะต้องถือเงินสดให้น้อยลง เพราะการถือเงินสดมีต้นทุนที่แพง"

นั่นก็เป็นการสรุปคำจำกัดความของคำว่าวีซ่าจากประธานของวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล เขาจะสามารถไปถึงดวงดาวอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ สิ่งแรกที่เขาต้องทำเป็นอย่างแรกก็คือการเปลี่ยนค่านิยม และทัศนคติของคนเอเชียที่มักยึดติดอยู่กับเงินสดและทองคำเหนือสิ่งอื่นใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us