|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้บริหาร "บัตรกรุงไทย" ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับการประกาศใช้มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของ ธปท.ที่จะนำมาประกาศใช้ พร้อมปรับลดเป้าสินเชื่อบุคคลปีนี้โตแค่ 1 พันล้านบาท และขยายกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงเกิน 1 หมื่นบาทต่อเดือน ด้าน ธปท. ยืนยันไม่ผ่อนปรนเกณฑ์คุมธุรกิจบัตรเครดิต
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า ธปท.กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อหาหลักเกณฑ์ออกมาควบคุมสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคล โดยกรอบเบื้องต้นอาจจะมีการกำหนดเพดานการคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และเงินเดือนขั้นต่ำของผู้กู้ ซึ่งหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่จะนำมาใช้อาจจะคล้ายกับหลักเกณฑ์การควบคุมธุรกิจบัตรเครดิตนั้น
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTC กล่าวว่า จากมาตรการของธปท. ทำให้บริษัทต้องมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อรองรับมาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งนี้ ในปี 2548 นี้ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มยอดสินเชื่อบุคคลไว้เพียง 1,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดมีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการที่ ธปท.จะเข้ามาควบคุม ขณะเดียวกันบริษัทได้ปรับเพิ่มกลุ่มเป้าหมายโดยกำหนดให้มีรายได้ตั้งแต่ 1 หมื่นบาทต่อเดือนขึ้นไป รวมทั้งการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาล เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
"หากธปท.เข้าคุมสินเชื่อบุคคล บริษัทจะมีผลกระทบไม่ถึง 10 ล้านบาท จากจำนวนสินเชื่อที่ปล่อยและถ้ามีการหักค่าใช้จ่ายผลกระทบก็จะมีไม่ถึง 2 ล้านบาท"
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท.ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ ที่ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2547 นั้น หากลูกค้ารายเก่าที่มีวงเงินเกินกว่า 5 เท่าของรายได้ ทางธนาคารพาณิชย์เจ้าของบัตรต้องปรับลดวงเงินลงมา หรือต้องยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไป ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าผิดกฎหมาย
ส่วนลูกค้าเก่าที่มีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน หากหมดอายุสัญญาแล้ว และรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกอบการจะต้องยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเช่นกัน
นายสามารถกล่าวถึงกรณีที่ชมรมผู้ประกอบการบัตรเครดิตขอปรับขึ้นเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิต ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือคำร้องการขอปรับอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินใดๆ ทั้งสิ้น แต่หากเสนอมา ธปท. จะพิจารณาในเหตุผลของผู้ประกอบการและผลกระทบด้านต่างๆ
"ธปท. ได้ออกกฎคุมสินเชื่อบัตรเครดิตไปแล้ว การดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินก็ยังมีการขยายตัวดีมีกำไรอยู่ ขณะที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น สถาบันการเงินเองน่าจะมีวิธีในการบริหารต้นทุนของตัวเองให้สามารถแข่งขันได้" นายสามารถกล่าว
แหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า หาก ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบัตรเครดิต คงต้องพิจารณาจากผลประกอบการและผลกำไรของสถาบันการเงิน รวมทั้งรายละเอียดของสถาบันการเงินที่ส่งมาด้วย ต้องดูว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการเพียงใด
"ธปท.จะพิจารณาจากเหตุผลเป็นหลัก รวมทั้งคำนึงถึงความเหมาะสมต่อผู้ประกอบการผู้บริโภคและด้านสังคมด้วย เนื่องจากตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนในขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร"
|
|
|
|
|