Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มีนาคม 2548
"อากู๋" ฟุ้งปี48กำไร33%             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
Entertainment and Leisure




จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เผยปี 47 กวาดรายได้รวม 6.6 พันล้านบาท กำไรพุ่งขึ้น 33% จากปีก่อนสูงที่สุดในรอบ 22 ปี พร้อมประกาศความเป็นผู้นำธุรกิจบันเทิงต่อเนื่อง ปี 48 มุ่งเน้นเติบโตทุกทาง "อากู๋-ไพบูลย์" คาด48กำไรเพิ่มขึ้นสูงกว่าปี 47 เหตุปรับการบริหารงาน E-Business กำไรโต 2 เท่าตัว- จัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง เตรียมงบ 1,000 ล้านบาท รุกธุรกิจ e-business หาพันธมิตร-เทกโอเวอร์ วอนตลท.เหลียวดูแลหุ้นขนาดกลางบ้างกำไรดีแต่หุ้นไม่ไหวติง

นางบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เปิดเผยว่า ในปี 2547 กลุ่มบริษัทมีรายได้รวม 6,671 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 11.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และกำไรสุทธิ 700 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 33.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้มีสาเหตุหลักมาจากการเติบโตของ 2 ธุรกิจหลัก ซึ่งได้แก่ ธุรกิจเพลง และธุรกิจโทรทัศน์

นอกจากนี้ ธุรกิจภาพยนตร์และสื่อสิ่งพิมพ์ของบริษัท ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการปรับโครงสร้างภายในของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเพลงและธุรกิจภาพยนตร์ในปีที่ผ่านมา

ในปี 2547 ธุรกิจเพลงยังคงเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุดเป็น 58% ของรายได้รวมของกลุ่มบริษัท โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้ 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมีการออกอัลบั้มทั้งสิ้น 218 อัลบั้ม เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ซึ่งมีอัลบั้มทั้งหมด 187 อัลบั้ม โดยที่อัลบั้มที่โดนใจผู้ฟังได้แก่ เบิร์ด-เสก และต่ายอรทัย ขอใจกันหนาวในหมวดลูกทุ่ง ซึ่งทั้ง 2 อัลบั้มมียอดขายทะลุ 1 ล้านหน่วย นอกจากนี้ยังมี Silly Fools King Size พลพล และศิลปินหน้าใหม่เช่น ลานนา คัมมินส์ และ Endorphine เข้ามาเพิ่มสีสันให้แก่วงการธุรกิจเพลงอีกด้วย

ในส่วนของธุรกิจ E-Business ซึ่งเป็นธุรกิจต่อเนื่องกับธุรกิจเพลงที่เป็นต้นน้ำนั้น มีการมุ่งเน้นธุรกิจ mobile มากยิ่งขึ้น ในปี 2547 ธุรกิจ E-Business มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 8% นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทมีการดำเนินการกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เป็นผลให้ความสามารถในการทำกำไร ของกลุ่มธุรกิจนี้ ดีขึ้น

ส่วนรายได้จากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ในปี 2547 มีการเติบโตถึง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งในต้นปี 2548 กลุ่มบริษัทจะเริ่มจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเปิดเพลงจากสถานีวิทยุต่างๆ จึงคาดว่ารายได้ในส่วนนี้จะยังสามารถเติบโตต่อไป

ธุรกิจสื่อของกลุ่มบริษัทยังคงเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุดเป็นอันดับสองรองจากธุรกิจเพลง โดยมีสัดส่วน 32% ของรายได้รวมของกลุ่มบริษัท ซึ่งส่วนที่มีการเติบโตมากที่สุดได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ มีอัตราการเติบโตถึง 48%

นอกจากนี้ ธุรกิจโทรทัศน์ก็มีอัตราการเติบโตของรายได้ถึง 33% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการได้ช่วงเวลาในการออกอากาศจากสถานีต่างๆเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 ถึง 45% เป็น 42 ชั่วโมง 45 นาทีต่อสัปดาห์เมื่อปลายปี 2547

ในส่วนของธุรกิจสื่อวิทยุนั้น ในปี 2547 การแข่งขันยังคงมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2547 กลุ่มบริษัทมีรายได้ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย

ธุรกิจภาพยนตร์มีรายได้ในปี 2547 เพิ่มขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ "เดอะ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ" ซึ่งทำรายได้จากการฉายในโรงภาพยนตร์สูงสุดในปี 2547 กว่า 100 ล้านบาท

"กลุ่มธุรกิจเพลงจะยังคงมีการผลิตอัลบั้มประมาณกว่า 200 อัลบั้มในปี 2548 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของอัลบั้มให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เฉพาะกลุ่ม (กลุ่ม segment) เพื่อจะได้มีการวางแผนในเรื่องการวางจำหน่ายสินค้า ต้นทุนของการใช้สื่อ และการควบคุมสินค้ารับคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีการขยายช่องทางการจำหน่ายโดยผ่าน E-Business มากขึ้น"

นายยงศักดิ์ เอกปรัชญาสกุล กรรมการการขายและการตลาด จีเอ็มเอ็ม เทรดดิ้ง ได้กล่าวว่า "ในปีนี้ Imagine จะมีช่องทางการขายมากขึ้น นอกจากนี้ได้มีการเพิ่ม product line โดยมีการรับจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของ GTH ซึ่งได้เริ่มจำหน่ายภาพยนตร์เรื่องแรก คือ "สายล่อฟ้า" ไปแล้วเมื่อต้นปี 2548 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อีกทั้งบริษัทยังได้รับความไว้วางใจจากค่ายเพลง Indy หลายค่ายที่ให้บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายให้"

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY เปิดเผยว่า บริษัทต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์ฯและบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ให้ความสำคัญหุ้นที่มีขนาดกลาง เช่นหุ้นของบริษัทที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 33% มีปริมาณหุ้นหมุนเวียน (ฟรีโฟลต) 30-40% มีการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในปี 2547 คิดเป็นผลตอบแทนถึง 7% แต่ราคาหุ้นของบริษัทก็ไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีมาร์เกตแคปใหญ่เพียง 10 บริษัทเท่านั้น

บริษัทคาดว่ากำไรปี 2548 จะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าปี 2547 ที่เพิ่มขึ้น 33% คิดเป็นกำไรสุทธิ 700 ล้านบาท ถึงแม้ในช่วง 2 เดือนแรก บริษัทจะมีรายได้ไม่ค่อยดีนัก เพราะได้รับผลกระทบจากการเกิดคลื่นยักษ์ แต่เชื่อว่าทั้งปีจะมีกำไรตามที่คาดไว้

ในปีนี้รายได้จากธุรกิจ E-Business จะมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งจะมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว จากปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 156 ล้านบาท เพราะบริษัทได้มีการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการ download เพลง ภาพยนตร์ หรือ digital content อื่นๆผ่านโทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ IVR หรือระบบ 1900 ฯลฯ และการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงเพิ่มขึ้น ทั้งในร้านอาหาร ร้านขายเครื่องไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯคาดว่าปีนี้สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงเพิ่มขึ้นมากว่า 25% หรือคิดเป็น 200 ล้านบาท จากปี 2547 ที่เก็บได้ 160 ล้านบาท และ การเพิ่มช่องทางการขาย CD เพลงมากขึ้นโดยการเพิ่มพื้นที่ขาย และการขายตรง รวมถึงบริษัทจะมีการ ควบคุมให้มีการคืนสินค้าหลังจากส่งสินค้าไปจำหน่าย ให้เหลือเพียง 10% จากปี 2547 ที่มีสินค้าคืนที่ 20% โดยจะช่วยเพิ่มรายได้

"บริษัทเชื่อว่ารายได้จากคลื่นวิทยุจะใกล้เคียงกันปี 2547 ถึงแม้บริษัทจะมีคลื่นลดลง ก็จะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัทลดลงเช่นกันทำให้ สามารถรักษาการเติบโตได้โดยธุรกิจวิทยุนี้มีกำไรขั้นต้นสูงถึง 60% เพราะมีต้นทุนในการดำเนินที่ไม่สูง" ธุรกิจ e-business โตก้าวกระโดด

นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)หรือ GRAMMY เปิดเผยว่า บริษัทตั้งงบลงทุนในปีนี้จำนวน 1,000 ล้านบาท โดยจะลงทุนในการธุรกิจ E-Business ในการซื้ออุปกรณ์ 100-200 ล้านบาท ลงทุนในการหาพันธมิตรในการลงทุนผลิตรายการโทรทัศน์และสื่อต่างๆ และบริษัทจะมีการเข้าไปซื้อรายการโทรทัศน์ โดยคาดว่ากลางจะใช้เงินประมาณ 400-500 ล้านบาท

นายถกลเกียรติ วีรวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็กแซกท์ ทีนทอล์ค และซีเนริโอ ได้กล่าวถึงธุรกิจโทรทัศน์ว่า "ตั้งแต่ต้นปี 2548 กลุ่มบริษัทได้เวลาละครหลังข่าวทางช่อง 5 เพิ่มขึ้นจาก 2 วันเป็น 5 วัน ซึ่งเป็นที่น่าจับตาของวงการเป็นอย่างมาก โดย ทั้งเรื่อง "ฝันเฟื่อง" และ "เมื่อวันฟ้าเปลี่ยนสี" ทำให้เรตติ้งในช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง 5 เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นรายการ เฮง เฮง เฮง หรือบางรักซอย 9 ก็ยังคงเป็นรายการที่แข็งแรง และได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us